ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ปุระโดยลำดับแล้ว ท่านพระสมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑-’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก @เชิงอรรถ : @ พระพุทธคุณทั้ง ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึก คือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่ง @สังสาระคือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง @๓. ชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้ วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติ(ตาย)และอุบัติ(เกิด) @ของสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา @(๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ @รู้จักกำหนดจิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ @หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา @ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จัก @ประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา @(๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มี @ปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่า ผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว และ @ยังมีอรรถว่าตรัสไว้ดี เพราะทรงกล่าวคำที่ควรในฐานะที่ควร @๕. ชื่อว่า ผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก @(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก @๖. ชื่อว่า สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกฝนคนที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ @อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วย @ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดใน @สวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด @๘. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จ @ประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรง @คายตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วน @แห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) @อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ยอดเยี่ยม @(๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ต่อมา พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้สนทนาปราศรัยพอ เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์วัจฉโคตรชาวเวนาคปุระผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระ ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ อินทรีย์ของท่านพระโคดม ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผลพุทราสุกที่มีในสารทกาล๑- ย่อม บริสุทธิ์ผุดผ่องแม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ผลตาลสุกที่หล่นจากขั้วย่อม บริสุทธิ์ผุดผ่อง แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ทองแท่งชมพูนุท๒- ที่บุตรนายช่างทองผู้ชำนาญ หลอมดีแล้ว ที่นายช่างทองผู้ฉลาดบุดีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพล๓- ส่องแสงประกาย สุกสว่างอยู่ แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ บัลลังก์๔- ผ้าโกเชาว์๕- เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาด @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ @ ทองแห่งชมพูนุท หมายถึงทองคำเนื้อบริสุทธ์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๔/๑๙๑) ที่เรียกว่า ชมพูนุท เพราะ @เป็นทองที่เกิดชึ้นในแควของแม่น้ำมหาชมพู (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๙) @ ผ้ากัมพล หมายถึงผ้าทอด้วยขนสัตว์สีแดง (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๑) @ บังลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะ หรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะที่วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะ มีขนตั้งข้างเดียว เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้งสองข้าง เครื่องลาดไหมขลิบรัตนะ เครื่อง ลาดไหม เครื่องลาดขนแกะที่นางรำ ๑๖ นางยืนรำได้ เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด หลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาวซึ่งมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาด อย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดข้างบนมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสีแดงวางไว้ ทั้ง ๒ ข้าง๑- (เหล่านี้) ท่านพระโคดมได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่อย่างนี้ตามความ ปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากแน่นอน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ คือเตียงมี เท้าเกินประมาณ ฯลฯ เครื่องลาดมีหมอนข้าง ของเหล่านั้นบรรพชิตหาได้ยาก และ ได้มาแล้วก็ไม่สมควร ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง ในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์ ๒. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหม ๓. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพระอริยะ ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่างในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก พราหมณ์วัจฉโคตรทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ที่เป็นของทิพย์ ที่ท่านพระโคดมได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้ อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๕ ติกนิบาต หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น สงัด จากกาม และอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่ จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจาง คลายไป เรามีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่พระ อริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ถ้าเรานั้นผู้เป็นอย่างนี้ จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรม ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ในสมัยที่ยืนของเรานั้น ชื่อว่า เป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้นั่งอยู่ ในสมัยนั้นที่นั่งของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเรา ผู้เป็นอย่างนี้นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์ ที่เราได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่เป็นของทิพย์ ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่ท่านพระโคดม ได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้ อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น มี เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑- ทิศเบื้องล่าง๒- @เชิงอรรถ : @ เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ เบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรกและนาค (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตา- จิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่า เป็นของพรหม ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่ นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของพรหม นี้แล คือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่เราได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ พรหมตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่ท่านพระโคดม ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้ อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเข้าเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้มั่น รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละราคะ โทสะ โมหะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่าเป็นของ อริยะ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและ ที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของอริยะ นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่เราได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ อริยะตามปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของ ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย ประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง ทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึง ท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรง จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต
เวนาคปุรสูตรที่ ๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=6934&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=108              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4739&Z=4854&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=503              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=503&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=503&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]