ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค

[๙๒] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ภวทิฏฐิ๑- ๒. วิภวทิฏฐิ๒- ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕) [๙๓] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖) [๙๔] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗) [๙๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ว่ายาก ๒. ความมีปาปมิตร ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘) [๙๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๒. ความมีกัลยาณมิตร ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙) @เชิงอรรถ : @ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๒/๖๓) @ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๒/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๙๗] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ๑- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐) [๙๘] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ๒- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ๓- ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
ธัมมวรรคที่ ๔ จบ
๕. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๑) @เชิงอรรถ : @ ธาตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เองตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล มี ๑๘ คือ @จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ @ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ @มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (อภิ.วิ. ๓๕/๑๘๔/๑๐๒, วิสุทฺธิ. ๓/๖๕) @ อาบัติ ในที่นี้หมายถึงกองอาบัติ ๕ ที่มาในมาติกา คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ @และกองอาบัติ ๗ ที่มาในวิภังค์ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓, วิ.อ. ๓/๒๗๑/๔๓๕) @ ฉลาดในการออกจากอาบัติ หมายถึงการรู้วิธีออกจากอาบัติ ๒ วิธี คือ (๑) เทสนาวิธี ได้แก่ วิธีแสดง @อาบัติหรือปลงอาบัติ (ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต) (๒) กัมมวาจาวิธี @หรือ วุฏฐานวิธี ได้แก่ วิธีปฏิบัติสำหรับผู้จะเปลื้องตนออกจากอาบัติสังฆาทิเสส มี ๔ อย่าง คือ ปริวาส @มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๐๘-๑๐๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=2946&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2164&Z=2190&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=332              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=332&items=11              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=332&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]