ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)
อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ
๑๙. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ
[๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑- ย่อม เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส ด้วยใจแล้ว๒- แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ ผู้นั้น (๑) [๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อสังเวชใหญ่๓- เพื่อประโยชน์ใหญ่๔- เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่๕- เพื่อ สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ๖- เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๗- ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘) @เชิงอรรถ : @ วิชชา มี ๘ ประการ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มโนมยิทธิ (๓) อิทธิวิธา (๔) ทิพพโสตะ (๕) เจโตปริยญาณ @(๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ (๗) ทิพพจักขุ (๘) อาสวักขยญาณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ หมายถึงการเจริญอาโปกสิณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ สังเวชใหญ่ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาหรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงมรรคแห่งวิปัสสนา @ ประโยชน์ใหญ่ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ อีกนัยหนึ่งหมายถึงสามัญญผล ๔ @ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ หมายถึงสามัญญผล ๔ อีกนัยหนี่งหมายถึงนิพพาน @ ญาณทัสสนะ หมายถึงทิพพจักขุญาณ @ ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๑] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญ เต็มที่ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคล ได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่ เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๙) [๕๗๒] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๑๐) [๕๗๓] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่ เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ธรรมอันเป็น เอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มาก แล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑๑) [๕๗๔] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะได้ อนุสัย๑- ย่อมถึงความถอนขึ้น ย่อมละสังโยชน์ได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แล ที่บุคคลได้ เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะ๒- ได้ อนุสัยถึง ความถอนขึ้นย่อมละสังโยชน์ได้ (๑๒) @เชิงอรรถ : @ อนุสัยหรือสังโยชน์ มี ๗ คือ กามราคะ(ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ(ความขัดใจ) ทิฏฐิ(ความเห็นผิด) @วิจิกิจฉา(ความลังเลใจ) มานะ(ความถือตัว) ภวราคะ(ความกำหนัดในภพ) อวิชชา(ความไม่รู้จริง) @(ที.ปา ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, อง.สตฺตก. ๒๓/๑๑/๘) @ อัสมิมานะ หมายถึงความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลว @กว่าเขา (๔) เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้ @เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (๗) เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้เลวกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๕-๕๗๖] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (๑๓-๑๔) [๕๗๗-๕๗๙] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมี ความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด๑- มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความ แตกฉานในธาตุหลายชนิด ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอัน เป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด (๑๕-๑๗) [๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑) [๕๘๔-๕๙๙] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญา๒- เพื่อความเจริญแห่งปัญญา๓- เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญามาก๔- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา๕- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญา @เชิงอรรถ : @ ธาตุหลายชนิด หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓, อภิ.วิ. ๓๕/๑๘๕/๑๐๕) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญาญาณ ๖ ญาณ ๗๓ @และญาณ ๗๗ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงปัญญาของพระอริยเสขบุคคล ๗ จำพวก กัลยาณปุถุชน และปัญญาของพระ @อรหันต์ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ มีปัญญามาก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน ได้แก่ ธาตุ ๑๘ @อายตนะ ๑๒ ปฏิจจสมุปปาทธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ @วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ฐานาฏฐานขันธ์ ฐานะ อัฏฐานะ วิหารสมาบัติ ๘ อริยสัจ ๔ สติปัฏฐาน ๔ @สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สามัญญผล ๔ @อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ มีปัญญาแน่นหนา ในที่นี้หมายถึงมีญาณ(ความรู้)ในธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ @อริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

ไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก๑- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง๒- เพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง๓- เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม๔- และเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่ง ปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความ เป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)
กายคตาสติวรรคที่ ๑๙ จบ
๒๐. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตธรรม
[๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑) @เชิงอรรถ : @ มีปัญญาไพบูลย์และมีปัญญาลุ่มลึก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญาสามารถยิ่ง ในที่นี้หมายถึงได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา @ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญากว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่หนักหน่วงดุจแผ่นดินสามารถข่มกิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้น @ได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๖) @ มีปัญญาเฉียบแหลม ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ละ บรรเทา ดับกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก @และบาปอกุศลธรรม ทำให้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพ และหมายถึงปัญญาที่รู้ @แจ้งอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๐๑] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้บรรลุอมต- ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้บรรลุอมตธรรม (๒) [๖๐๒] ชนเหล่าใดมีกายคตาสติเสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมเสื่อม ชนเหล่าใดมีกายคตาสติไม่เสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมไม่เสื่อม (๓) [๖๐๓] ชนเหล่าใดเบื่อกายคตาสติ๑- ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออมตธรรม ชนเหล่าใดชอบใจกายคตาสติ๒- ชนเหล่านั้นชื่อว่าชอบใจอมตธรรม (๔) [๖๐๔] ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตธรรม ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตธรรม (๕) [๖๐๕] ชนเหล่าใดหลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าหลงลืมอมตธรรม ชนเหล่าใดไม่หลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่หลงลืมอมตธรรม (๖) [๖๐๖] ชนเหล่าใดไม่ได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เสพอมตธรรม ชนเหล่าใดได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เสพอมตธรรม (๗) [๖๐๗] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เจริญอมต- ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เจริญอมตธรรม (๘) [๖๐๘] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ อมตธรรมให้มาก ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ อมตธรรมให้มาก (๙) [๖๐๙] ชนเหล่าใดไม่ได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้รู้ยิ่งอมตธรรม ชนเหล่าใดได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้ยิ่งอมตธรรม (๑๐) @เชิงอรรถ : @ เบื่อกายคตาสติ หมายถึงไม่ให้กายคตาสติสำเร็จ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) @ ชอบใจกายคตาสติ หมายถึงบำเพ็ญกายคตาสติให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๑๐] ชนเหล่าใดไม่ได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้กำหนดรู้ อมตธรรม ชนเหล่าใดได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้กำหนดรู้ อมตธรรม (๑๑) [๖๑๑] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ อมตธรรมให้แจ้ง ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ อมตธรรมให้แจ้ง (๑๒) (เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค)
อมตวรรคที่ ๒๐ จบ
เอกกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๑-๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=1372&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1059&Z=1266&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=207              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=207&items=40              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=207&items=40              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]