ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๑. ภูตคามสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอตัดบ้าง ใช้ให้ ตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้ จริงหรือ” พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงตัด บ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย เพราะพวกชาวบ้านมีความสำคัญ ว่าต้นไม้มีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๙๐] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคาม๑-
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๑] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่ พืชพันธุ์ ๕ ชนิด คือ (๑) พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า (๒) พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น (๓) พืชพันธุ์เกิดจากตา (๔) พืชพันธุ์เกิดจากยอด (๕) พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด @เชิงอรรถ : @ ภูตคาม กลุ่มแห่งพืชพันธุ์ที่จะงอกได้ ที่เจริญเติบโตแล้ว เป็นชื่อเรียกต้นไม้ยืนต้นและหญ้าเขียวสด @(วิ.อ. ๒/๙๐-๙๑/๒๘๓-๒๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๑. ภูตคามสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่เหง้า งอกที่เหง้า นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิด จากเหง้า ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น ได้แก่ ต้นโพ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้นมะเดื่อ ต้นเต่าร้าง ต้นมะขวิด หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่ลำต้น งอกที่ลำต้น นี้ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากตา ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือพืชพันธุ์อย่างอื่น ซึ่งเกิดที่ตา งอกที่ตา นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากตา ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง หรือ พืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากยอด ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่ง เกิดที่เมล็ด งอกที่เมล็ด นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด
บทภาชนีย์
[๙๒] พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นพืชพันธุ์ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือ ใช้ให้ทำลาย ต้ม หรือใช้ให้ต้ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พืชพันธุ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือใช้ให้ทำลาย ต้ม หรือ ใช้ให้ต้ม ต้องอาบัติทุกกฏ พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่พืชพันธุ์ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือใช้ให้ ทำลาย ต้ม หรือใช้ให้ต้ม ไม่ต้องอาบัติ ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นพืชพันธุ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่พืชพันธุ์ ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๑. ภูตคามสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๓] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้ ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”๑- ๒. ภิกษุไม่จงใจ ๓. ภิกษุไม่มีสติ ๔. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ภูตคามสิกขาบทที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชพันธุ์เกิดจากเหง้านี้ ท่านจงให้เหง้า หรือใบไม้นี้ ท่านจงนำต้น @ไม้หรือเถาวัลย์นี้มา ต้องการดอกไม้ ผลไม้ หรือใบไม้นี้ ท่านจงทำต้นไม้ เถาวัลย์ หรือผลไม้นี้ให้เป็นกัปปิยะ @คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๙๓/๒๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=7127&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=8542&Z=8605&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=354              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=354&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=354&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]