ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๙. สิริวัฑฒสูตร
ว่าด้วยสิริวัฑฒคหบดี
[๓๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น คหบดีชื่อสิริวัฑฒะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระ อานนท์ถึงที่อยู่ แล้วกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า เรียนตามคำของเราว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร

‘ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้งสองของ ท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเธอจงเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไป เยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” บุรุษนั้นรับคำของสิริวัฑฒคหบดีแล้วเข้าไป หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระอานนท์ ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้ง สองของท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์ เข้าไปเยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป ยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามว่า “คหบดี ท่านยัง สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลงไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ” สิริวัฑฒคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่ กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ” “คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ จักพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ จัก พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ คหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” “ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วมี อยู่ในผม และผมก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะผมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แล้ว ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้” “คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้ แจ้งแล้ว”
สิริวัฑฒสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๕๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๕๒-๒๕๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=6952&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=159              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4654&Z=4688&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=787              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=787&items=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=787&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]