ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๑. อาคันตุกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอาคันตุกะ
[๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทาง๑- อยู่หลังหนึ่ง คนทั้งหลายมาจากทิศ ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง เข้าพักในเรือนนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง แพศย์มาพักบ้าง ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร คือ ควรกล่าวได้ว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้นั้น ได้แก่ อุปาทาน- ขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ประการ @เชิงอรรถ : @ เรือนพักคนเดินทาง ในที่นี้หมายถึงเรือนพักสำหรับอาคันตุกะ ที่เหล่าชนผู้ต้องการบุญพากันสร้างไว้ @กลางเมือง ซึ่งพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาก็สามารถเข้าไปพักได้ (สํ.ม.อ. ๓/๑๕๘-๑๖๐/๒๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ เป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา๑- นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้ แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ อย่างนี้แล”
อาคันตุกสูตรที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงเอกัคคตาจิต (จิตที่มีอารมณ์เดียว) และสังขารปริคคหวิปัสสนาญาณ (ปัญญาเห็นแจ้งการกำหนด @สังขารว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๕๔/๔๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๘๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๘๗-๘๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=2327&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=1775&Z=1800&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=290              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=290&items=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=290&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]