ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค
หมวดว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร๑-
ว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร
[๑๐๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพ ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็น ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิด ญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.ม. (แปล) ๑๓-๑๗/๒๐-๒๕, ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๓๐/๔๘๔-๔๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความ แก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่ง อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ ด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วย วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๙๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทย- อริยสัจ นี้ควรละ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทย- อริยสัจ นี้เราละได้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ควรทำให้แจ้ง’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้เราได้ทำให้แจ้งแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิด ขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เรา ก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ญาณทัสสนะ เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพ ใหม่ไม่มีอีก’ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณะ๑- อยู่ ธรรมจักษุ๒- อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพชั้น ภุมมะกระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไป แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้๓-” ทวยเทพชั้นจาตุมหาราชสดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าว ต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้กระจายข่าว ต่อไป ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เวยยากรณะ ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคำถาม คำตอบ @(สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐) เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์ (วิ.อ. ๑/๒๖) @ ธรรมจักษุ หมายถึง ดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ (วิ.อ. ๓/๕๖/๒๗) @ ใครๆ ในโลกหมุนกลับไม่ได้ หมายถึง ใครๆ ในโลกปฏิเสธไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของ @ธรรมตรัสรู้มาโดยชอบ และเพราะธรรมจักร เป็นธรรมยอดเยี่ยม (เนตฺติ.อ. ๙/๖๓, เนตฺติ.วิ. ๙/๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๙๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๒. ตถาคตสูตร

ทวยเทพชั้นยามา ฯลฯ ทวยเทพชั้นดุสิต ฯลฯ ทวยเทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วย ประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้จึงได้เป็นชื่อของพระโกณฑัญญะนั่นแล
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ ๑ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๙๒-๕๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=16286&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=391              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10037&Z=10104&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1664              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1664&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1664&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]