ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. นันทิยสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ
[๑๐๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๕๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ โดยประการทั้งปวง พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าอยู่ด้วยความประมาทหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทิยะ บุคคลใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ โดยประการทั้งปวง เราเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เหินห่าง ตั้งอยู่ในฝ่าย ปุถุชน อนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยวิธีใด ท่านจงฟัง จงใส่ใจวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว” เจ้านันทิยศากยะทูล รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ อริยสาวกพอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความ ประมาทโดยแท้ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ อริยสาวกพอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจนั้น ไม่พยายาม ให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๕๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร

ไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มี ปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้ นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างนี้แล อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ อริยสาวกไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของ ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ ประมาทโดยแท้ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ อริยสาวกไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ พยายาม ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๔. ปุญญาภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้ นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างนี้แล”
นันทิยสักกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร ๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร ๔. ปฐมเทวปทสูตร ๕. ทุติยเทวปทสูตร ๖. เทวสภาคสูตร ๗. มหานามสูตร ๘. วัสสสูตร ๙. กาฬิโคธสูตร ๑๐. นันทิยสักกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๕๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๕๖-๕๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=15340&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=358              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=9465&Z=9516&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1599              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1599&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1599&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]