ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๒. รโหคตวรรค ๑. รโหคตสูตร

๒. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
๑. รโหคตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
[๒๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ พระดำรัสที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ ประการนี้ คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ ประการนี้ สมจริงดังคำที่เรากล่าวว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลไม่เที่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๒. รโหคตวรรค ๑. รโหคตสูตร

คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความแตกไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความดับไปเป็น ธรรมดา ฯลฯ คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความแปรผันเป็นธรรมดา ต่อมา เรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ ๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็ดับไป ๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็ดับไป ๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดับไป ๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน๑- รูปสัญญาก็ดับไป ๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน๒- อากาสานัญจายตนสัญญาก็ดับไป ๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน๓- วิญญาณัญจายตนสัญญาก็ดับไป ๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็ดับไป ๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป ๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ ย่อมดับไป @เชิงอรรถ : @ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็น @ขั้นที่ ๑ แห่งอรูปฌาน (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘) @ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ แห่ง @อรูปฌาน (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘) @ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร(ความว่าง)เป็นอารมณ์ เรียกอีก @อย่างหนึ่งว่า %สัญญัคคะ% (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายแห่งการมีสัญญา กล่าวคือ ผู้บรรลุ @อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไป จะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต- @นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๒. รโหคตวรรค ๒. ปฐมอากาสสูตร

ต่อมา เรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ ๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ ๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ระงับไป ๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ ย่อมระงับไป ภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ ๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ ๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็สงบ ๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็สงบ ๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็สงบ ๕. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ ๖. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”
รโหคตสูตรที่ ๑ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๘๔-๒๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=7974&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=205              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5792&Z=5826&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=391              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=391&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=391&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]