ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒. ติสสสูตร
ว่าด้วยพระติสสะ
[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระติสสะโอรสพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุ จำนวนมากอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ร่างกายของกระผมอ่อนเปลี้ยประดุจ คนเมา กระผมรู้สึกมืดทุกด้าน แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ ถีนมิทธะครอบงำ จิตของกระผม กระผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และยังมีความสงสัยในธรรมทั้ง หลายอยู่” ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระติสสะโอรสพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ร่างกายของกระผมอ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา กระผมรู้สึกมืด ทุกด้าน แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ ถีนมิทธะครอบงำจิตของกระผม กระผมไม่ ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และยังมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอ จงไปเรียกติสสภิกษุมาตามคำของเรา” ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระติสสะถึงที่อยู่แล้วได้บอกว่า “ท่านติสสะ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า” ท่านพระติสสะรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ติสสะ ทราบว่า เธอได้บอกแก่ภิกษุจำนวน มากว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ร่างกายของกระผมอ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ฯลฯ และยังมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายอยู่’ จริงหรือ” ท่านพระติสสะทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” “ติสสะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปร ผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้น ใช่ไหม” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ... ในรูป ... ในสัญญา ... ในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผัน และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นใช่ไหม” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ... ในสังขาร ... เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผัน และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นใช่ไหม” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ... ในวิญญาณ ฯลฯ ติสสะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อ บุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศ จากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้น ใช่ไหม” “ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ... ในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... เมื่อบุคคลผู้ปราศจาก ความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณ นั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ใช่ไหม” “ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ... ในวิญญาณ ... ติสสะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

ติสสะ เปรียบเหมือนบุรุษ ๒ คน คนหนึ่งไม่ฉลาดในหนทาง คนหนึ่ง ฉลาดในหนทาง บุรุษผู้ไม่ฉลาดในหนทางพึงถามทางกับบุรุษผู้ฉลาดในหนทาง บุรุษผู้ฉลาดในหนทางพึงตอบว่า ‘ผู้เจริญ ท่านไปตามทางนี้อีกสักครู่ก็จักพบทาง ๒ แพร่ง ในทาง ๒ แพร่งนั้น ท่านจงละทางซ้าย ไปทางขวาเถิด ไปตามทาง นั้นอีกสักครู่ก็จักพบราวป่าหนาทึบ ไปตามทางนั้นอีกสักครู่ก็จักพบที่ลุ่มใหญ่มีเปือกตม ไปตามทางนั้นอีกสักครู่ก็จักพบบึงที่ลึก ไปตามทางนั้นอีกสักครู่ก็จักพบพื้นที่ราบ น่ารื่นรมย์’ ติสสะ อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด ในอุปมานั้นมีอธิบาย ดังนี้ คำว่า บุรุษผู้ไม่ฉลาดในหนทาง นี้เป็นคำเรียกปุถุชน คำว่า บุรุษผู้ฉลาดในหนทาง นี้เป็นคำเรียกตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า ทาง ๒ แพร่ง นี้เป็นคำเรียกวิจิกิจฉา คำว่า ทางซ้าย นี้เป็นคำเรียกมิจฉามรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ (๘) มิจฉาสมาธิ คำว่า ทางขวา นี้เป็นคำเรียกอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ (๘) สัมมาสมาธิ คำว่า ราวป่าหนาทึบ นี้เป็นคำเรียกอวิชชา คำว่า ที่ลุ่มใหญ่มีเปือกตม นี้เป็นคำเรียกกามทั้งหลาย คำว่า บึงที่ลึก นี้เป็นคำเรียกความโกรธและความคับแค้นใจ คำว่า พื้นที่ราบน่ารื่นรมย์ นี้เป็นคำเรียกนิพพาน ติสสะ เธอจงยินดี ติสสะ เธอจงยินดีตามโอวาทที่เรากล่าวสอน ตามความ อนุเคราะห์ที่เราอนุเคราะห์ ตามคำพร่ำสอนที่เราพร่ำสอนเถิด” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระติสสะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค
ติสสสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๔๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=17&A=4002&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=84              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2384&Z=2446&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=194              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=194&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=194&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]