ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร

๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก) ๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น) ๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ) นี้เรียกว่า สฬายตนะ นามรูป เป็นอย่างไร คือ เวทนา(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) เจตนา(ความจงใจ) ผัสสะ(ความกระทบ หรือสัมผัส) มนสิการ(ความกระทำไว้ในใจ) นี้เรียกว่า นาม มหาภูต๑- ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต ๔ นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป วิญญาณ มีเท่าไร วิญญาณมี ๖ ประการนี้ คือ ๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) ๒. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู) ๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) ๕. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) ๖. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) นี้เรียกว่า วิญญาณ @เชิงอรรถ : @ มหาภูตหรือมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ (๑) ปฐวีธาตุ คือธาตุดินมีลักษณะแข้นแข็ง (๒) อาโปธาตุ @คือธาตุน้ำมีลักษณะเหลว (๓) เตโชธาตุ คือธาตุไฟมีลักษณะร้อน (๔) วาโยธาตุ คือธาตุลมมีลักษณะ @พัดไปมา (ที.สี. (แปล) ๔๘๗-๔๙๖/๒๑๖-๒๒๐, สํ.นิ.อ. ๒/๖๑/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๑. พุทธวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร

สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย) ๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา) ๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ) นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย อวิชชา เป็นอย่างไร คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธ(ความดับแห่งทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึง ความดับแห่งทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
วิภังคสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๗-๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=16&A=153&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=33&Z=87&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=4&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=4&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]