ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๘. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่ง ชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง ชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... รู้ชัดอุปาทาน ... รู้ชัดตัณหา ... รู้ชัดเวทนา ... รู้ชัดผัสสะ ... รู้ชัดสฬายตนะ ... รู้ชัดนามรูป ... รู้ชัดวิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ แห่งสังขาร @เชิงอรรถ : @ ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงถึงพร้อมด้วยมรรค (สํ.นิ.อ. ๒/๒๗/๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๘. ภิกขุสูตร

ชราและมรณะ เป็นอย่างไร คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่า สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กายสังขาร ๒. วจีสังขาร ๓. จิตตสังขาร นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๙. สมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งชรา และมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ ดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดชาติอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขาร ทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ บ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้ มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”
ภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๕๔-๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=16&A=1487&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1075&Z=1117&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=91              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=91&items=3              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=91&items=3              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]