ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร

หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน แต่ของเราไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ ที่จะไต่ตอมเราไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข พราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย ที่จะตามทวงหนี้เราว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณโคดม ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ” พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม- จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
พหุธิติสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหันตวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ธนัญชานีสูตร ๒. อักโกสสูตร ๓. อสุรินทกสูตร ๔. พิลังคิกสูตร ๕. อหิงสกสูตร ๖. ชฏาสูตร ๗. สุทธิกสูตร ๘. อัคคิกสูตร ๙. สุนทริกสูตร ๑๐. พหุธิติสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๘๑-๒๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=7583&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=196              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5493&Z=5560&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=667              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=667&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=667&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]