ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๓. อันธกวินทสูตร
ว่าด้วยเรื่องอันธกวินทคาม
[๑๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อันธกวินทคาม แคว้นมคธ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง ในราตรีอันมืดมิดและฝนกำลังตก ประปรายอยู่ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี ให้สว่างทั่วอันธกวินทคาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงอาศัยที่นอนและที่นั่งอันสงัด พึงประพฤติเพื่อความหลุดพ้นจากสังโยชน์ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๓๕/๑๘๐, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๘๔/๒๘๕, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. อันธกวินทสูตร

ถ้าภิกษุไม่ประสบความยินดีในที่นั้น พึงมีสติ มีปัญญาเครื่องบริหาร อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุเมื่อเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตระกูล พึงมีปัญญาเครื่องบริหาร คุ้มครองอินทรีย์ พึงอาศัยที่นอนที่นั่งอันสงัด พ้นจากภัย๑- น้อมไปในอภัย๒- ภิกษุถึงนั่งอยู่ในที่ที่มีสัตว์เลื้อยคลานอันน่ากลัว สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฉวัดเฉวียน ฝนตกในราตรีอันมืดมิด ก็ปราศจากความขนพองสยองเกล้า ข้าพระองค์กลัวมุสาวาท จึงไม่อาจคำนวณด้วยใจ ของข้าพระองค์ได้ว่า ‘เรื่องนี้ข้าพระองค์ได้เห็นแล้วแน่’ ข้าพระองค์ไม่กล่าวว่า ‘ในเรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ในเรื่องนี้เป็นอย่างนี้’ ในพรหมจรรย์หนึ่ง๓- มีพระขีณาสพผู้ละความตายได้ ๑,๐๐๐ รูป พระเสขะมากกว่า ๕๐๐ รูปไป ๑๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง และผู้ถึงกระแสนิพพานทั้งหมดไม่ไปสู่ดิรัจฉานภูมิ ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ล้วนเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญ
อันธกวินทสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ภัย ในที่นี้หมายถึงภัยในวัฏฏะ (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๔/๒๐๙) @ อภัย ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๔/๒๐๙) @ พรหมจรรย์หนึ่ง ในที่นี้หมายถึงธรรมเทศนาหนึ่ง (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๔/๒๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๕๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=6852&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=184              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4976&Z=5000&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=611              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=611&items=2              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=611&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]