ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

[๑๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๑- นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๓- ไม่มีกิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๔- ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ [๒๐] ภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตพึงเป็นผู้ทำกรรมดีไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคต เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ @เชิงอรรถ : @ อาสวะ หมายถึงกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซาบไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ @มี ๔ ประการ คือ (๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ (๓) ทิฏฐาสวะ @อาสวะคือทิฏฐิ (๔) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗) แต่ใน @พระสูตรท่านจัดอาสวะเป็น ๓ โดยสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.มู.อ. ๑/๑๔/๖๘) @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นบริบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะ @ต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, @ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘) @ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดแห่งทุกข์ @การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, @ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความหมดสิ้น @แห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่า การบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด @(ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘), ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๖-๓๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นสูงเนรมิตมาแน่ จึงเป็นเหตุให้ ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น ผู้มีเคราะห์กรรมดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มี อาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น ผู้มีอภิชาติดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ เห็นปานนี้ในบัดนี้ ๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตพึงเป็นผู้มีความพยายามดีในปัจจุบันแน่ จึงเป็นเหตุให้ ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง เคราะห์ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง อภิชาติ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๒. ปัญจัตตยสูตร

๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะ เหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ๑- ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เทวทหสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปัญจัตตยสูตร
ว่าด้วยความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด
วาทะเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอนาคต
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์(สรรพสิ่ง)ส่วนอนาคต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ แสดงทิฏฐิต่างๆ คือ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืนหลังจาก ตายแล้ว‘๒- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๑๒-๑๔ ในเล่มนี้ @ ทิฏฐินี้เรียกว่า สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา) มี ๑๖ ลัทธิ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๗๕-๗๖/๓๐-๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๖-๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=749&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1&Z=511&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=1&items=27              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=1&items=27              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]