ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๑. อนุปทสูตร

๒. อนุปทวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
๑. อนุปทสูตร
ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต๑- มีปัญญามาก๒- มีปัญญากว้างขวาง๓- มี ปัญญาร่าเริง๔- มีปัญญารวดเร็ว๕- มีปัญญาเฉียบแหลม๖- มีปัญญาเพิกถอนกิเลส๗- @เชิงอรรถ : @ เป็นบัณฑิต ในที่นี้หมายถึงเป็นบัณฑิตเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ฉลาดในธาตุ (๒) เป็น @ผู้ฉลาดในอายตนะ (๓) เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (๔) เป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ @(ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๖, และดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘/๘๕) @ มีปัญญามาก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาคุณคือศีล คุณคือสมาธิ คุณคือปัญญา @คุณคือวิมุตติ และคุณคือวิมุตติญาณทัสสนะ (ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๖) @ มีปัญญากว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงมีปัญญากว้างขวาง เพราะญาณที่เป็นไปในธาตุ อายตนะ ปฏิจจ- @สมุปบาท สุญญตา เป็นไปในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ และเป็นไปในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ @และวิมุตติญาณทัสสนะ (ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๗) @ มีปัญญาร่าเริง ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้ทำสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ @อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๗) @ มีปัญญารวดเร็ว ในที่นี้หมายถึงมีปัญญารวดเร็ว เพราะแล่นไปเร็วในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน @และแล่นไปเร็วในพระนิพพานอันเป็นที่ดับชาติ ชรา มรณะ โดยพิจารณาทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เด่นชัดว่า @รูป ฯลฯ ชรา มรณะ ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมไป มีความสิ้นไป @มีความคลายกำหนัด และมีความดับไปเป็นธรรมดา (ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๗-๕๘) @ มีปัญญาเฉียบแหลม ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่ให้กามวิตก พยาบาทวิตก @วิหิงสาวิตก และอุปกิเลส ๑๖ ที่เกิดขึ้นแล้วอาศัยอยู่ และเพราะบรรลุอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ @ปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ (ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๘) @ มีปัญญาเพิกถอนกิเลส ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาเพิกถอนกิเลส เพราะเจาะ คือทำลายกองโลภะ กองโทสะ @กองโมหะ กองอุปกิเลส ๑๖ และกรรมที่จะนำไปสู่ภพทั้งหมด ที่ยังไม่เคยเจาะทำลายมาก่อน @(ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๑. อนุปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพียงกึ่งเดือน สารีบุตรก็เห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้ ในการเห็น แจ้งธรรมตามลำดับบท๑- ของสารีบุตรนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้
รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ปีติ(ความอิ่มใจ) สุข(ความสุข) จิตเตกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ผัสสะ(ความถูกต้อง) เวทนา (ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความหมายรู้) เจตนา(ความจงใจ) วิญญาณ(ความ รู้แจ้ง) ฉันทะ(ความพอใจ) อธิโมกข์(ความน้อมใจเชื่อ) วิริยะ(ความเพียร) สติ(ความระลึกได้) อุเบกขา(ความวางเฉย) มนสิการ(ความใส่ใจ)เหล่านั้น สารีบุตร กำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’ เธอมี ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๑) อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป สารีบุตรบรรลุทุติยฌาน มี ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ ความผ่องใสในภายใน ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่ สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรม @เชิงอรรถ : @ เห็นแจ้งธรรมตามลำดับบท หมายความว่า เห็นแจ้งด้วยอำนาจสมาบัติ และอำนาจองค์ฌาน @(ม.อุ.อ. ๓/๙๒/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๑. อนุปทสูตร

เหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะ การกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๒) อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป สารีบุตรมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็ธรรมในตติยฌาน คือ สุข สติ สัมปชัญญะ(ความรู้ตัว) จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่ สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้ว ในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้ เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๓) อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน สารีบุตรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ก็ธรรม ในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา เพราะใจบริสุทธิ์แล้วจึงไม่มีความ คิดคำนึง สติบริสุทธิ์ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตาม ลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อม ดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๔) อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง สารีบุตรบรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๑. อนุปทสูตร

‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนะ คือ อากาสานัญจายตน- สัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัด อย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พราก ได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตร นั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์ มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๕) อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง สารีบุตรบรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนะ คือ วิญญาณัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน กิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัด ทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำ ธรรมนั้นให้มากขึ้น (๖) อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง สารีบุตร บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนะ คือ อากิญจัญญายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๑. อนุปทสูตร

ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้ มากขึ้น (๗) [๙๕] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง สารีบุตรบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้ มากขึ้น (๘) [๙๖] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการ ทั้งปวง สารีบุตรบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะ๑- ทั้งหลายของเธอจึงสิ้นไป สารีบุตรนั้นมีสติออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาเห็นธรรม ที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๙) [๙๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นผู้ ถึงวสี(ความชำนาญ) ถึงบารมี(ความสำเร็จ)ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีใน อริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’ @เชิงอรรถ : @ อาสวะ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๒. ฉวิโสธนสูตร

ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมี ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’ บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้ มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นอามิสทายาท’ ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าว ชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของ พระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็น อามิสทายาท’ ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต ประกาศไว้แล้วโดยลำดับ โดยชอบทีเดียว” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อนุปทสูตรที่ ๑ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๑๐-๑๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=3242&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=153&items=13              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=153&items=13              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]