ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๖. อาเนญชสัปปายสูตร

ในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรแห่งมาร ในกามนี้มีบาปอกุศล ทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ(ความแข่งดี)บ้าง กาม เหล่านั้นนั่นเอง ย่อมก่ออันตรายให้แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรแห่ง มาร ในกามนี้มีบาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ บ้าง กามเหล่านั้นนั่นเอง ย่อมก่ออันตรายให้แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรม วินัยนี้ ทางที่ดี เราพึงอยู่ด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ๑- อธิษฐานใจครอบงำโลก เพราะเมื่อเราอยู่ด้วยมหัคคตจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ อธิษฐานใจครอบงำโลกอยู่ บาปอกุศลที่เกิดทางใจ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เหล่านั้น จักไม่มี เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้แล้ว จิตของเราก็จักเป็นจิตไม่เล็กน้อย๒- หา ประมาณมิได้๓- และเป็นจิตที่อบรมดีแล้ว’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม ผ่องใสในอายตนะ๔- เมื่อมีความผ่องใส๕- อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น ไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ ประการที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม @กิเลสได้ และหมายถึง ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. ๑/๑๒/๙๒) @ เป็นจิตไม่เล็กน้อย ในที่นี้หมายถึงจิตฝ่ายกามาวจร (ม.อุ.อ. ๓/๖๖/๓๙) @ หาประมาณมิได้ ในที่นี้หมายถึงจิตฝ่ายรูปาวจรและฝ่ายอรูปาวจร (ม.อุ.อ. ๓/๖๖/๓๙) @ อายตนะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ คือ อรหัตตผล การเห็นแจ้งอรหัตตผล จตุตถฌาน หรืออุปจารแห่ง @จตุตถฌาน (ม.อุ.อ. ๓/๖๖/๓๙) @ ความผ่องใส ในที่นี้หมายถึงความผ่องใส ๒ ประการ คือ (๑) ความผ่องใสด้วยการน้อมใจเชื่อ คือ @การน้อมใจเชื่อว่าจะยึดเอาพระอรหันต์ให้ได้ในวันนี้ (๒) ความผ่องใสด้วยการได้ คือการได้อรหัตตผล @หรือจตุตถฌาน (ม.อุ.อ. ๓/๖๖/๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๖. อาเนญชสัปปายสูตร

[๖๗] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป บางชนิด และรูปทั้งหมด คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ก็มีอยู่ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือ น้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไป ในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ ประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่ มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ ประการ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยินดี ไม่ควรพูดชม ไม่ควร ติดใจ’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม ผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น ไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ ประการที่ ๓ [๖๘] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีใน ภพหน้า และอาเนญชสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือในฌานใด ฌาน นั้นคืออากิญจัญญายตนฌาน เป็นฌานอันสงบ ประณีต’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความ ผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาใน ปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายไปแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๖. อาเนญชสัปปายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน สมาบัติ ประการที่ ๑ [๖๙] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’ เมื่อ อริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสใน อายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น ไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน สมาบัติ ประการที่ ๒ [๗๐] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่มีในที่ไหนๆ สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ ก็ไม่มีในเรานั้น และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็ไม่มีในที่ไหนๆ ในใครๆ ก็ไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มาก ด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้น ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไป ได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึง อากิญจัญญายตนภูมิ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน สมาบัติ ประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มี ในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า อาเนญชสัญญา และอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือใน ฌานใด ฌานนั้นคือเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาบัติอันสงบ ประณีต’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๖. อาเนญชสัปปายสูตร

ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่เนวสัญนาสัญญายตน สมาบัติ” [๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้ แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มี แก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพาน หรือไม่พึงปรินิพพาน พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้” “อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ บางรูป ไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมา แล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่น อุเบกขานั้น อานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นย่อมปรินิพพานไม่ได้” “ก็ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น จะยึดมั่นในธรรมข้อไหน พระพุทธเจ้าข้า” “ย่อมยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทาน ส่วนที่สำคัญที่สุดหรือ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุด ก็ อุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุดนี้ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๖. อาเนญชสัปปายสูตร

[๗๒] อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา อย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละ สิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติด อุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณก็อาศัยอุเบกขานั้น และยึดมั่นอุเบกขานั้นไม่ได้ อานนท์ ภิกษุผู้ไม่มี ความยึดมั่นย่อมปรินิพพานได้” [๗๓] ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเหตุนี้จึงตรัสบอกปฏิปทา เครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย วิโมกข์อันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เป็นอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป ที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา และเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สักกายะ๑- มีอยู่เท่าใด นี้เป็นสักกายะ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) แห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น นั่น คืออมตะ’ อานนท์ เราแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติไว้แล้ว แสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว แสดงปฏิปทาที่ เป็นสัปปายะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว เราอาศัยเหตุนี้แสดง ปฏิปทาเครื่องข้ามโอฆะไว้แล้ว แสดงวิโมกข์อันเป็นของพระอริยะไว้แล้ว ด้วยประการ อย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย เราก็ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๕ (ปัญจัตตยสูตร) หน้า ๓๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๗๓-๗๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=2155&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1440&Z=1570&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=80              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=80&items=13              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=80&items=13              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]