ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมเหล่านี้ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร๒- เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม แห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาที่ยิ่ง จำได้ ระลึกได้ อย่างแม่นยำถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดไว้แม้นานมาแล้ว @เชิงอรรถ : @ ทรงสุตะ ในที่นี้หมายถึงทรงจำไว้ได้ซึ่งนวังคสัตถุศาสน์ คือ @สุตตะได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาฬกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต @และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ @เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย @เวยยากรณะ ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธพจน์อื่นที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ @ที่เหลือ @คาถา ได้แก่ ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร @อุทาน ได้แก่ พระสูตร ๘๒ สูตรที่เกี่ยวด้วยคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัสญาณ @อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตมิทํ ภควตา เป็นต้น @ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น @อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ทั้งหมด ที่ตรัสโดยนัยว่า “ภิกษุทั้งหลาย @ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น @เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม-ตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้ และความพอใจ เช่น จูฬเวทัลลสูตร @มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร ที่กุลบุตรเล่า @เรียนสืบๆ กันมาโดยบาลีและอนุสนธิ (ม.มู.อ. ๒/๒๓๘/๑๓, ม.มู.อ. ๒/๓๓๓/๑๕๙) @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์ และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ @ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมายเอา @ทั้งความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน” (อภิ.วิ. @(แปล) ๓๕/๕๑๙/๓๙๑) และความเพียรทางจิต เช่นความเพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ @เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน” @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ทำลายกิเลสให้ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์โดยชอบ เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็น อย่างนี้แล (๕-๑๑) [๒๖] พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็น ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ ลำบาก เป็นอย่างไร คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เป็นอย่างนี้แล (๑๒-๑๕)
อุปมาด้วยฟองไข่ที่แม่ไก่นอนกก
[๒๗] เจ้ามหานามะ เพราะพระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็น ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่อง อยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้ พระอริย- {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

สาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็น ดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลสด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ฟองไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความอบอุ่นอย่าง สม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปากเจาะทำลายเปลือก ไข่ออกมาได้โดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้องเจาะทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด พระอริย- สาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบ ความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้ เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลส ด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม [๒๘] เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๑ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือน ลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๑) เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒- ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เธอรู้ชัด @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๒ ของพระ อริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๒) เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นการทำลายกิเลส ด้วยญาณข้อที่ ๓ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๓)
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๙] เจ้ามหานามะ การที่พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแม้นี้ ก็เป็น จรณะ๓- ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแม้นี้ ก็เป็นจรณะ ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคแม้นี้ ก็เป็นจรณะของ พระอริยสาวกประการหนึ่ง @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ(ที่เป็นปฏิ- @ปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔)ในที่นี้หมายถึง @ความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก @อวิชชา(ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ @ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน @(ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ จรณะ หมายถึงธรรมเป็นเครื่องประพฤติของภิกษุผู้มีศีล เช่น จรณะ ๑๕ ประการมีศีลเป็นต้น แต่ในที่นี้ @หมายถึงการไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป (หรือการบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ) (ม.ม.อ. ๒/๒๙/๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องแม้นี้ ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการแม้นี้ ก็เป็นจรณะ ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากแม้นี้ ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒- ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เธอรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระ อริยสาวกประการหนึ่ง เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย วิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๓. เสขปฏิปทาสูตร

คาถาของพรหมชื่อสนังกุมาร
[๓๐] เจ้ามหานามะ แม้พรหมชื่อสนังกุมาร ก็ได้กล่าวคาถานี้ว่า ‘ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์‘๑- เจ้ามหานามะ พรหมชื่อสนังกุมารกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ กล่าวไว้ ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรง เห็นด้วยแล้ว” จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้น แล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ดีจริง อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครอง กรุงกบิลพัสดุ์” ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาก็ทรงยินดี เจ้าศายกะ ทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ก็ทรงมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล
เสขปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๗๗/๙๙, ที.ปา. ๑๑/๑๔๐/๘๔, สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๒/๒๕๓, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๔๕/๓๓๘, @องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๐/๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๙-๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=801&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=480&Z=659&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=24              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=24&items=12              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=24&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]