ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

๖. อังคุลิมาลสูตร
ว่าด้วยโจรชื่อองคุลิมาล
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดโจรชื่อองคุลิมาล
[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ในแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อ องคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวม(คอ)ไว้ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเสด็จไป ตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนา ที่เดินมาพบพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ จึงกราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร องคุลิมาลจนได้” เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป แม้ครั้งที่ ๒ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร องคุลิมาลจนได้” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป แม้ครั้งที่ ๓ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร องคุลิมาลจนได้” [๓๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉยเสด็จต่อไป โจรองคุลิมาลได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้คิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คนที่เดิน มาทางนี้จะต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของเรา แต่ทำไม สมณะนี้เพียงรูปเดียว ไม่มีเพื่อนสักคน ชะรอยจะมาข่มเรา ทางที่ดี เราพึงฆ่าสมณะรูปนี้เสีย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนูไว้พร้อม ติดตามพระผู้มี พระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑- โดยวิธี ที่โจรองคุลิมาลจะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่สามารถจะตามทันพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตาม ปกติได้ ครั้งนั้น โจรองคุลิมาลได้มีความคิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เมื่อก่อนแม้ช้างที่กำลังวิ่ง ม้าที่กำลังวิ่ง รถที่กำลังแล่น เนื้อที่กำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามทันจับได้ แต่เราวิ่งจนสุดกำลังยังไม่ทัน สมณะรูปนี้ซึ่งเดินตามปกติได้” จึงหยุดยืนกล่าวกับพระผู้มีพระภาคว่า “หยุดก่อน สมณะ หยุดก่อนสมณะ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด” จากนั้น โจรองคุลิมาลคิดว่า “สมณะเหล่านี้เป็นศากยบุตรมักเป็นคนพูดจริง มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่แท้ๆ กลับพูดว่า ‘เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด’ ทางที่ดี เราควรจะถามสมณะรูปนี้ดู”
องคุลิมาลละพยศ
[๓๔๙] ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลได้ถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า “สมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า ‘เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด’ กลับกล่าวหาข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่ายังไม่หยุด สมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่าน ท่านหยุดอย่างไร ข้าพเจ้าไม่หยุดอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ อิทธาภิสังขาร ในที่นี้หมายถึงทรงบันดาลฤทธิ์โดยประการต่างๆ เช่น ย่อหนทางให้สั้นเพื่อทรงดำเนิน @ได้เร็ว บันดาลให้มหาปฐพีเป็นลูกคลื่นใหญ่ ขวางองคุลิมาลไม่ให้ตามพระองค์ทัน หรือบันดาลให้มี @เถาวัลย์กั้นพระองค์ไว้เป็นต้น (ม.ม.อ. ๒/๓๔๘/๒๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า “องคุลิมาล เราวางอาชญา ในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วตลอดกาล ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านสิชื่อว่ายังไม่หยุด” โจรองคุลิมาลกล่าวว่า “สมณะ นานจริงหนอ ท่านผู้ที่เทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ ข้าพระองค์นั้นจักละการทำบาป เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของพระองค์” โจรองคุลิมาลได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึก มีหน้าผาชัน โจรองคุลิมาลได้ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระสุคต แล้วทูลขอบรรพชากับพระสุคต ณ ที่นั้นเอง พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยพระกรุณาคุณ ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลก พร้อมทั้งเทวโลก ได้ตรัสกับโจรองคุลิมาลในเวลานั้นว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” นี้แลเป็นภิกษุภาวะของโจรองคุลิมาลนั้น๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๖๖-๘๗๐/๔๘๒-๔๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า
[๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น หมู่ชนจำนวนมากประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวัง ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงดังอื้ออึงว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ในแคว้นของพระองค์มีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่า พวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ขอสมมติเทพจงทรงกำจัดมัน เสียเถิด” ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยขบวนม้าประมาณ ๕๐๐ ตัว เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปจนสุดทางที่ยานพาหนะ จะไปได้แล้วลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร เจ้าแผ่นดิน มคธจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงทำให้พระองค์ทรงขัดเคือง เจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลีหรือพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่นทรงทำให้พระองค์ขัดเคืองหรือ” พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวี ผู้ครองกรุงเวสาลีก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคืองเช่นกัน ในแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

โจรองคุลิมาลนั้นก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ หม่อมฉันจักไปกำจัด มันเสีย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ถ้าพระองค์จะพึงพบองคุลิมาลผู้โกนผม และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการ ฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็น พรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์สมควรจะจัดการกับเขาเช่นไร” พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันควร กราบไหว้ ลุกรับ นิมนต์ให้นั่ง หรือเจาะจงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑- หรือควรจัดการอารักขาคุ้มครองป้องกัน ตามความ เหมาะสม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่โจรองคุลิมาลนั้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม จักมีความ สำรวมด้วยศีลเห็นปานนี้ได้ที่ไหน” สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคจึงทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร นั่นคือองคุลิมาล” ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความกลัว มีความหวาดหวั่น มีพระโลม- ชาติชูชัน(มีขนพองสยองเกล้า) พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชัน จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร องคุลิมาลนี้ไม่มี อันตรายต่อพระองค์” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒๒ (มธุรสูตร) หน้า ๓๘๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความหวาดหวั่นหรือพระ- โลมชาติที่ชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านพระองคุลิมาลถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสถาม ท่านพระองคุลิมาลว่า “พระคุณเจ้าชื่อว่าองคุลิมาล ใช่ไหม” ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “ใช่ มหาบพิตร” พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “บิดาของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดา ของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร” ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บิดาชื่อคัคคะ มารดาชื่อ มันตานี” พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “ขอพระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรจงอภิรมย์เถิด โยมจักทำความขวนขวายเพื่อถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชบริขารแด่พระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรเอง” [๓๕๑] สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือไตรจีวรเป็นวัตร ครั้งนั้น ท่านพระ องคุลิมาลจึงถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของ อาตมภาพมีครบแล้ว” ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคทรง ฝึกบุคคลที่ใครๆ ฝึกไม่ได้ ทรงทำบุคคลที่ใครๆ ทำให้สงบไม่ได้ให้สงบได้ ทรงทำ บุคคลที่ใครๆ ดับไม่ได้ให้ดับได้ เพราะว่าหม่อมฉันทั้งที่มีอาชญา มีศัสตราอยู่พร้อม ก็ไม่สามารถจะฝึกผู้ใดได้ แต่พระผู้มีพระภาคไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตราเลย ยังฝึก ผู้นั้นได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอมหาบพิตรจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่ใกล้คลอด จึงคิดว่า “สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ” จากนั้น ท่านพระองคุลิมาลก็เที่ยวบิณฑบาตใน กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เช้าวันนี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้เห็นสตรีมีครรภ์แก่ใกล้คลอดคนหนึ่ง จึงคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมา ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลง ชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ ทารกในครรภ์ของเธอเถิด” ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า “ก็การพูดเช่นนั้นจักเป็นอันว่าข้าพระองค์ กล่าวเท็จทั้งที่รู้เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์เคยจงใจปลงชีวิตสัตว์เสียมากต่อมาก พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่า จงใจปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดี จงมีแก่ทารกในครรภ์ของเธอเถิด” ท่านพระองคุลีมาลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่แล้วได้ กล่าวว่า “น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลงชีวิต สัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ทารก ในครรภ์ของเธอเถิด” ทันใดนั้น ความสวัสดีได้มีแก่สตรีนั้น ความสวัสดีได้มีแก่ทารกในครรภ์ของสตรี นั้นแล้ว
พระองคุลิมาลบรรลุอรหัตตผล
ต่อมา ท่านพระองคุลิมาลหลีกออกไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระองคุลิมาล ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย [๓๕๒] ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ก้อนดินที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มา ตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่อนไม้ที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ก้อนกรวดที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลมีศีรษะแตก เลือดไหล บาตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

ก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ ทอดพระเนตรเห็นท่านพระองคุลิมาลกำลังเดินมาแต่ไกล ได้ตรัสกับท่านพระองคุลิ- มาลว่า “เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวย วิบากกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เธอหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ในปัจจุบันนี้แล้ว๑-”
พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน
ครั้งนั้นแล ท่านพระองคุลิมาลอยู่ในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุขแล้ว ได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า “คนที่ประมาทมาก่อน ต่อมาภายหลัง ไม่ประมาท เขาย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้ ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น คนที่ทำบาปกรรมแล้วปิดไว้ได้ด้วยกุศล๒- ย่อมจะทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้ ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น เช่นเดียวกันแล ภิกษุที่ยังหนุ่มแน่น ขวนขวายอยู่ในพระพุทธศาสนา ก็ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้ ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ พระดำรัสนี้พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันคือภพนี้) เพราะ @เจตนาในปฐมชวนจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลในจิต ๗ ดวง ชื่อว่า ทิฏฐเวทนียกรรมซึ่งให้ผลในอัตภาพนี้ @(ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๖) @ กุศล ในที่นี้หมายถึงกุศลในองค์มรรค ทำให้กรรมนั้นหยุดให้ผล (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

ขอศัตรูทั้งหลายของเราพึงฟังธรรมกถาเถิด ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ยึดถือธรรมเถิด ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงได้รับความผ่องแผ้วคือขันติ และสรรเสริญความไม่โกรธ๑- เถิด ขอจงฟังธรรมตามกาล๒- และจงปฏิบัติตามธรรมนั้นเถิด ผู้ที่เป็นศัตรูนั้นไม่ควรเบียดเบียนเราหรือใครๆ อื่นเลย ขอให้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง๓- แล้วรักษาคุ้มครองผู้มีตัณหาและปราศจากตัณหา คนทดน้ำย่อมชักน้ำไปได้ ช่างศรย่อมดัดศรให้ตรงได้ ช่างถากย่อมถากไม้ได้ ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตนได้ ฉันนั้น คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยอาชญาบ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่๔- ผู้ไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตรา ฝึกแล้ว @เชิงอรรถ : @ ความไม่โกรธ ในที่นี้หมายถึงความมีเมตตา (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ ฟังธรรมตามกาล หมายถึงฟังสาราณียธรรมกล่าวคือสันติและเมตตาอยู่ทุกขณะ (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ ความสงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ ผู้คงที่ในที่นี้หมายถึงความคงที่ ๕ ประการ คือ (๑)ความคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ (๒) ความคงที่ @เพราะคายอามิสคือกาม (๓) ความคงที่เพราะสละกิเลสมีราคะเป็นต้น (๔) ความคงที่เพราะข้ามพ้นห้วง @น้ำคือกามเป็นต้น (๕) ความคงที่เพราะถูกอ้างถึงตามความจริงด้วยคุณมีศีลเป็นต้น (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘, @ม.ม.ฏีกา ๒/๓๕๒/๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

เมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน(ผู้อื่น)อยู่ วันนี้เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใครๆ แล้ว เมื่อก่อนเราเป็นโจรปรากฏชื่อองคุลิมาล เรานั้นเมื่อถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไปมา จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ท่านจงดูการที่เราถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว หลังจากทำกรรมอันเป็นเหตุให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มากแล้ว เราผู้ได้รับวิบากกรรม๑- นั้นแล้ว จึงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภค๒- พวกชนพาลปัญญาทราม มัวแต่ประมาท ส่วนปราชญ์ทั้งหลายรักษาความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น พวกท่านจงอย่าประมาท อย่าคลุกคลีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่เป็นนิจ ย่อมประสบสุขอันไพบูลย์ การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น มาถูกทางแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว @เชิงอรรถ : @ วิบากกรรม ในที่นี้หมายถึงมรรคเจตนา (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ บริโภค หมายถึงการบริโภค ๔ อย่าง คือ (๑) การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่าเถยยบริโภค บริโภคอย่างขโมย @(๒) การบริโภคโดยไม่พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค บริโภคอย่างเป็นหนี้ (๓) การบริโภคของ @พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค บริโภคอย่างทายาท (๔) การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่า @สามิบริโภค บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

ในบรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุด๑- แล้ว การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้นั้น เข้าถึงอย่างถูกต้อง ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว วิชชา ๓ ๒- เราก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำตามแล้ว๓-” ดังนี้แล
องคุลิมาลสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปิยชาติกสูตร
ว่าด้วยทุกข์เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย
[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ คหบดีคนหนึ่งเสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่ เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน คหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายว่า “ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน” จากนั้น คหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีนั้นว่า @เชิงอรรถ : @ ธรรมอันประเสริฐสุด ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) @ วิชชา ๓ ในที่นี้หมายถึง (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ (๒) ทิพพจักขุ @การได้ทิพยจักษุ (๓) อาสวักขยปัญญา การมีปัญญาเครื่องทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป @(ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๑-๘๘๖/๔๘๓-๔๘๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๒๑-๔๓๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=11891&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=8237&Z=8451&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=521&items=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=521&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]