ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อ ความเจริญสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก
อุบายเพื่อความดับสนิท
[๘๗] จุนทะ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นตนเองจมอยู่ในเปือกตมลึก จักยก บุคคลอื่นผู้จมอยู่ในเปือกตมลึกขึ้นได้ เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมลึก จักยกบุคคลอื่นผู้มอยู่ใน เปือกตมลึกขึ้นได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นตนเองไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิท จักฝึก สอนผู้อื่น แนะนำผู้อื่น ช่วยให้ผู้อื่นดับสนิทได้ เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นตนเองฝึกตน แนะนำตน ดับสนิท จักฝึกผู้อื่น แนะนำ ผู้อื่น ช่วยให้ผู้อื่นดับสนิทได้ แม้ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ ลักทรัพย์ เจตนางดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ บุคคลผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้พูดเท็จ เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ พูดส่อเสียด เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ พูดคำหยาบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ พูดเพ้อเจ้อ ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น ความไม่พยาบาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท สัมมาทิฏฐิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความเห็นผิด สัมมาสังกัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความดำริผิด สัมมาวาจา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เจรจาผิด สัมมากัมมันตะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการกระทำผิด สัมมาอาชีวะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด สัมมาวายามะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความพยายามผิด สัมมาสติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความระลึกผิด สัมมาสมาธิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด สัมมาญาณะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความรู้ผิด สัมมาวิมุตติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด ความเป็นผู้ปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ บุคคลผู้ถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มี ความสงสัย ความไม่โกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มักโกรธ ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ผูกโกรธ ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ความไม่ตีเสมอ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ตีเสมอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

ความไม่ริษยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความริษยา ความไม่ตระหนี่ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ ความไม่โอ้อวด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้โอ้อวด ความไม่มีมารยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีมารยา ความไม่ดื้อรั้น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ดื้อรั้น ความไม่ถือตัวจัด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ถือตัวจัด ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีมิตรชั่ว ความไม่ประมาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ประมาท สัทธา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา หิริ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่มีความละอายบาป โอตตัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่เกรงกลัวบาป พาหุสัจจะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ได้ยินได้ฟังน้อย การปรารภความเพียร เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีสติหลงลืม ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อ ความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก [๘๘] จุนทะ เราได้แสดงเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เหตุแห่ง จิตตุปบาท เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เหตุแห่งการไปสู่ความเจริญ (และ)เหตุแห่ง ความดับสนิทไว้แล้วด้วยประการอย่างนี้ เราผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์สาวกทั้งหลาย ได้ทำกิจที่ควรทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

จุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ บท ทรงแสดงสนธิ ๕ พระสูตรนี้ชื่อสัลเลขสูตรลุ่มลึกเปรียบด้วยสาคร
สัลเลขสูตรที่ ๘ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๗๘-๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=2259&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1237&Z=1517&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=100&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=100&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]