ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

๘. สัลเลขสูตร
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
[๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่ หลีกเร้น๑- แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทิฏฐิหลายประการในโลกเกี่ยวกับอัตตวาทะ๒- บ้าง เกี่ยวกับโลกวาทะ๓- บ้าง เมื่อภิกษุมนสิการเพียงเบื้องต้น ก็ละสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้น ได้อย่างนั้นหรือ” [๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนทะ มีทิฏฐิหลายประการในโลกเกี่ยวกับ อัตตวาทะบ้าง เกี่ยวกับโลกวาทะบ้าง เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์เป็นที่เกิดขึ้น เป็นที่ หมักหมม และเป็นที่ท่องเที่ยวแห่งทิฏฐิเหล่านั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา อันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ก็ละ สลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้
รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
จุนทะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ @เชิงอรรถ : @ ที่หลีกเร้น ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติชั้นสูงสุด (ม.มู.อ. ๑/๘๑/๑๙๔) @ อัตตวาทะ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตา เช่น เห็นว่ารูปเป็นอัตตาเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๘๑/๑๙๔) @ โลกวาทะ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภโลก เช่น เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๘๑/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

ภิกษุนั้น พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือ ปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรา กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุ ทุติยฌานซึ่งมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วย ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่อง ขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใน อริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรม เครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือตติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา กิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือจตุตถฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรม เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็น ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบใน ปัจจุบันในอริยวินัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

เป็นไปได้ที่เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด มิได้’ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอพึง มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือ อากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบในอริยวินัย จุนทะ เป็นไปได้ที่เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอพึงมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรา กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบในอริยวินัย
ข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส
[๘๓] จุนทะ ในการเบียดเบียนกันเป็นต้นนี้ เธอทั้งหลายควรทำความ ขัดเกลากิเลส คือ เธอทั้งหลายควรทำความขัดเกลากิเลสโดยคิดว่า ‘ชนเหล่าอื่น จักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักฆ่าสัตว์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักลักทรัพย์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการลักทรัพย์’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจัก ประพฤติพรหมจรรย์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

... ‘ชนเหล่าอื่นจักพูดเท็จ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูดเท็จ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักพูดส่อเสียด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูด ส่อเสียด’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักพูดคำหยาบ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูด คำหยาบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักพูดเพ้อเจ้อ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักเจรจาผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเจรจาชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีการกระทำผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการกระทำชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีการเลี้ยงชีพผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการเลี้ยง ชีพชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความพยายามผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ พยายามชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความระลึกผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ ระลึกชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีการตั้งจิตมั่นผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการตั้งจิต มั่นชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีมิจฉาญาณะ(ความรู้ผิด) ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ รู้ชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีมิจฉาวิมุตติ(ความหลุดพ้นผิด) ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมี ความหลุดพ้นชอบ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลาย จักปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีจิตฟุ้งซ่าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความสงสัย ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นความสงสัย’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอ’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักดื้อรั้น ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อรั้น’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักถือตัวจัด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ถือตัวจัด’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักว่ายาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักว่าง่าย’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักประมาท ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ประมาท’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักไม่มีศรัทธา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีศรัทธา’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักไม่มีความละอายบาป ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ ละอายบาป’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักไม่มีความเกรงกลัวบาป ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ เกรงกลัวบาป’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีการได้ยินได้ฟังน้อย ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการได้ยิน ได้ฟังมาก’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักเกียจคร้าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักปรารภความเพียร’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีสติหลงลืม ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีสติตั้งมั่น’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักมีปัญญาทราม ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักสมบูรณ์ด้วยปัญญา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

เธอทั้งหลาย ควรทำความขัดเกลากิเลสด้วยความคิดว่า ‘ชนเหล่าอื่นจักยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ยาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิ ของตน สลัดทิ้งได้ง่าย’ [๘๔] จุนทะ เรากล่าวว่า ‘แม้จิตตุปบาทก็มีอุปการะมากในกุศลธรรม ทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการกระทำด้วยกายและพูดด้วยวาจา’ เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า ‘ชนเหล่าอื่นจักเบียดเบียนกัน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่เบียดเบียนกัน’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักฆ่าสัตว์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ฯลฯ เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า ‘ชนเหล่าอื่นจักยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้ง ได้ยาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ง่าย’
ทางหลีกเลี่ยงความชั่ว
[๘๕] จุนทะ ทางที่ขรุขระจะพึงมีทางที่ราบเรียบอื่นเพื่อใช้เป็นทางหลีกเลี่ยง อนึ่ง ท่าน้ำที่ขรุขระจะพึงมีท่าน้ำที่ราบเรียบอื่นเพื่อใช้เป็นทางหลีกเลี่ยง แม้ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์ เจตนางดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับ บุคคลผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเท็จ เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดส่อเสียด เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดคำหยาบ เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

ความไม่พยาบาท เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท สัมมาทิฏฐิ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความเห็นผิด๑- สัมมาสังกัปปะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความดำริผิด สัมมาวาจา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เจรจาผิด สัมมากัมมันตะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีการกระทำผิด สัมมาอาชีวะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด สัมมาวายามะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความพยายามผิด สัมมาสติ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความระลึกผิด สัมมาสมาธิ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด สัมมาญาณะ(ความรู้ชอบ) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความรู้ผิด สัมมาวิมุตติ(ความหลุดพ้นชอบ) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความ หลุดพ้นผิด ความเป็นผู้ปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคล ผู้ถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความสงสัย ความไม่โกรธ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มักโกรธ ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ผูกโกรธ ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ความไม่ตีเสมอ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ตีเสมอ ความไม่ริษยา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความริษยา ความไม่ตระหนี่ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ ความไม่โอ้อวด เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้โอ้อวด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๕/๓๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

ความไม่มีมารยา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีมารยา ความไม่ดื้อรั้น เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ดื้อรั้น ความไม่ถือตัวจัด เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ถือตัวจัด ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีมิตรชั่ว ความไม่ประมาท เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ประมาท สัทธา (ศรัทธา) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา หิริ(ความละอายบาป) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ไม่มีความละอายบาป โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ไม่เกรง กลัวบาป พาหุสัจจะ(ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคล ผู้ได้ยินได้ฟังน้อย การปรารภความเพียร เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีสติหลงลืม ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทาง หลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก [๘๖] จุนทะ อกุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเสื่อม (แต่) กุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเจริญ แม้ฉันใด ความไม่เบียดเบียน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อ ความเจริญสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก
อุบายเพื่อความดับสนิท
[๘๗] จุนทะ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นตนเองจมอยู่ในเปือกตมลึก จักยก บุคคลอื่นผู้จมอยู่ในเปือกตมลึกขึ้นได้ เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมลึก จักยกบุคคลอื่นผู้มอยู่ใน เปือกตมลึกขึ้นได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นตนเองไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิท จักฝึก สอนผู้อื่น แนะนำผู้อื่น ช่วยให้ผู้อื่นดับสนิทได้ เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นตนเองฝึกตน แนะนำตน ดับสนิท จักฝึกผู้อื่น แนะนำ ผู้อื่น ช่วยให้ผู้อื่นดับสนิทได้ แม้ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ ลักทรัพย์ เจตนางดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ บุคคลผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้พูดเท็จ เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ พูดส่อเสียด เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ พูดคำหยาบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ พูดเพ้อเจ้อ ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น ความไม่พยาบาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท สัมมาทิฏฐิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความเห็นผิด สัมมาสังกัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความดำริผิด สัมมาวาจา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เจรจาผิด สัมมากัมมันตะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการกระทำผิด สัมมาอาชีวะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด สัมมาวายามะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความพยายามผิด สัมมาสติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความระลึกผิด สัมมาสมาธิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด สัมมาญาณะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความรู้ผิด สัมมาวิมุตติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด ความเป็นผู้ปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ บุคคลผู้ถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มี ความสงสัย ความไม่โกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มักโกรธ ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ผูกโกรธ ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ความไม่ตีเสมอ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ตีเสมอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๘. สัลเลขสูตร

ความไม่ริษยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความริษยา ความไม่ตระหนี่ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ ความไม่โอ้อวด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้โอ้อวด ความไม่มีมารยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีมารยา ความไม่ดื้อรั้น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ดื้อรั้น ความไม่ถือตัวจัด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ถือตัวจัด ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีมิตรชั่ว ความไม่ประมาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ประมาท สัทธา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา หิริ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่มีความละอายบาป โอตตัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่เกรงกลัวบาป พาหุสัจจะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ได้ยินได้ฟังน้อย การปรารภความเพียร เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีสติหลงลืม ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อ ความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก [๘๘] จุนทะ เราได้แสดงเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เหตุแห่ง จิตตุปบาท เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เหตุแห่งการไปสู่ความเจริญ (และ)เหตุแห่ง ความดับสนิทไว้แล้วด้วยประการอย่างนี้ เราผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์สาวกทั้งหลาย ได้ทำกิจที่ควรทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

จุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ บท ทรงแสดงสนธิ ๕ พระสูตรนี้ชื่อสัลเลขสูตรลุ่มลึกเปรียบด้วยสาคร
สัลเลขสูตรที่ ๘ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๗๐-๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=2034&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1237&Z=1517&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=100&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=100&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]