ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๖. มหาสัจจกสูตร

ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้อีกต่อไป’ อัคคิเวสสนะ เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ครอบงำจิตของ เราอยู่ไม่ได้
บุคคลผู้ไม่หลง
[๓๘๗] อัคคิเวสสนะ เรารู้อยู่ว่า เมื่อเราแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยบริษัท ถึงแม้บุคคลหนึ่งๆ จะเข้าใจเราอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเรา เท่านั้น’ ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้น ตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่าอื่นโดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้แจ้งอย่างเดียว และในตอนจบเรื่องหนึ่งๆ เราประคองจิตให้สงบ ตั้งมั่น เป็นสมาธิ ณ ภายใน ดำรงอยู่ในสมาธินิมิตเบื้องต้นนั้นตลอดนิตยกาล” “ข้อนี้ ควรเชื่อท่านพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่าน พระโคดมทราบดีอยู่หรือว่า ‘พระองค์เป็นผู้จำวัดในเวลากลางวัน” “อัคคิเวสสนะ เรารู้อยู่ว่า ‘ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ปูสังฆาฏิให้เป็น ๔ ชั้น มีสติสัมปชัญญะ นอน ตะแคงข้างเบื้องขวา” “ท่านพระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่าการปฏิบัติแบบนั้น เป็นการอยู่ด้วยความหลง” “อัคคิเวสสนะ บุคคลเป็นผู้หลงหรือไม่หลงด้วยเหตุเพียงเท่านั้นหามิได้ บุคคลเป็นผู้หลงหรือเป็นผู้ไม่หลงด้วยเหตุใด ท่านจงฟังเหตุนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว” สัจจกะ นิครนถบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๑๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๖. มหาสัจจกสูตร

[๓๘๘] “อัคคิเวสสนะ อาสวะทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้เกิดความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชราและมรณะต่อไป บุคคล ผู้ใดผู้หนึ่งยังละไม่ได้ เราเรียกบุคคลนั้นว่า ‘ผู้หลง’ บุคคลนั้นเป็นผู้หลงเพราะยังละ อาสวะทั้งหลายไม่ได้ อาสวะทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชราและมรณะต่อไป บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละได้แล้ว เราเรียก บุคคลนั้นว่า ‘ผู้ไม่หลง’ บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่หลงเพราะละอาสวะทั้งหลายได้แล้ว ตถาคตละอาสวะทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชราและมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดราก ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อัคคิเวสสนะ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้วไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชราและมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดราก ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มีเกิดขึ้น ต่อไปไม่ได้”
สัจจกะ นิครนถบุตรสรรเสริญพระพุทธเจ้า
[๓๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะ นิครนถบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระโคดมผู้เจริญ ผู้ที่ข้าพเจ้ามาสนทนากระทบกระทั่ง และไต่ถามด้วยคำที่ปรุงแต่ง มาอย่างนี้ ก็ยังมีพระฉวีวรรณผ่องใส ทั้งมีพระพักตร์เปล่งปลั่ง เพราะท่าน เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพเจ้าจำได้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เริ่มโต้วาทะกับ ท่านปูรณะ กัสสปะ แม้ท่านปูรณะ กัสสปะนั้น เริ่มโต้วาทะกับข้าพเจ้า ก็นำ เรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสียและชักนำให้พูดออกนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธเคือง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๑๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร

และความไม่พอใจให้ปรากฏ ข้าพเจ้าจำได้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เริ่มโต้วาทะกับท่าน มักขลิ โคสาล ... ท่านอชิตะ เกสกัมพล ... ท่านปกุธะ กัจจายนะ ... ท่านสัญชัย เวลัฏฐบุตร ... ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร‘๑- แม้ท่านนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น เริ่มโต้วาทะ กับข้าพเจ้า ก็นำเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสียและชักนำให้พูดออกนอกเรื่อง ทั้งทำ ความโกรธเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ ส่วนพระโคดมผู้เจริญผู้ที่ข้าพเจ้ามา สนทนากระทบกระทั่งและไต่ถามด้วยถ้อยคำที่ปรุงแต่งมาอย่างนี้ ก็ยังมีพระฉวีวรรณ ผ่องใส ทั้งมีพระพักตร์เปล่งปลั่ง เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เอาละ บัดนี้ ข้าพเจ้าขอทูลลากลับ เพราะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ครั้งนั้น สัจจกะ นิครนถบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก อาสนะแล้วจากไป ดังนี้แล
มหาสัจจกสูตรที่ ๖ จบ
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรเล็ก
ปัญหาธรรมของท้าวสักกะ
[๓๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของมิคารมาตา ณ บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ความหมายของชื่อครูทั้ง ๖ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๖ ข้อ ๓๑๒ (จูฬสาโรปมสูตร) หน้า ๓๔๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๒๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๑๘-๔๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=11969&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7552&Z=7914&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=405&items=28              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=405&items=28              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]