ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ปัญหาพยากรณ์

ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคต ก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง อนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่อง นั้นตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่อง ปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง ปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น [๑๘๘] จุนทะ ด้วยเหตุนี้ เพราะตถาคตเป็นกาลวาที๑- ภูตวาที๒- อัตถวาที๓- ธัมมวาที๔- วินยวาที๕- ในธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฉะนั้น ชาวโลก จึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น๖- เสียงที่ได้ฟัง๗- อารมณ์ที่ได้ทราบ๘- ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้ง๙- ที่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง @เชิงอรรถ : @ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ อัตถวาที หมายถึงตรัสปรมัตถนิพพาน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยที่มีการสำรวมเป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ รูปที่ได้เห็น หมายถึงรูปายตนะ (อายตนะคือรูป) (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ เสียงที่ได้ฟัง หมายถึงสัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ อารมณ์ที่ได้ทราบ หมายถึงคันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) รสายตนะ (อายตนะคือรส) โผฏฐัพพายตนะ @(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) เพราะเป็นสภาวะที่บุคคลถึงแล้วจึงกำหนดได้ (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง หมายถึงธรรมารมณ์มีสุขและทุกข์เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ บรรลุ แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น ชาว โลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตกล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ตถาคต กล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เผยแผ่อำนาจไปใน โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์
[๑๘๙] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคต๑- เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าว อย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรง @เชิงอรรถ : @ ตถาคต เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

พยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้น หรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไร พระ สมณโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์เรื่องนั้น’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘เพราะเรื่องนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์๑- ไม่ประกอบ ด้วยธรรม๒- ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์๓- ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็น @เชิงอรรถ : @ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒ อย่าง คือ (๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ @(ประโยชน์ในโลกนี้) (๒) สัมปรายิกัตถะ(ประโยชน์ในโลกหน้า) (ที.ปา.อ. ๑๘๙/๑๐๕) @ ไม่ประกอบด้วยธรรม ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยโลกุตตรธรรม ๙ (ที.ปา.อ. ๑๘๙/๑๐๕) @ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์ คือ ไม่ใช่เบื้องต้นแห่งศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวบรวมไตรสิกขา @(ที.ปา.อ. ๑๘๙/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

ไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรง พยากรณ์เรื่องนั้นไว้
เรื่องที่ทรงพยากรณ์
[๑๙๐] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ก็พระ สมณโคดมทรงพยากรณ์เรื่องอะไรเล่า’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกข์’ พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไร พระ สมณโคดมจึงทรงพยากรณ์เรื่องนั้นไว้’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับพวกอัญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘เพราะเรื่องนั้นประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วย ธรรม เป็นจุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงทรงพยากรณ์เรื่องนั้นไว้’
ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต
[๑๙๑] จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต๑- แก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้นยังมีอะไรอีกเล่าที่เรา ไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต แก่เธอทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้นยังมีอะไรอีกเล่า ที่เราไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต ได้แก่ ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๗๓/๑๑-๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตแก่เธอทั้งหลาย ทั้งที่ ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ คืออะไร คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลก๑- เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีตนเองเป็นตัวการ๒- นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ @เชิงอรรถ : @ อัตตาและโลก แยกอธิบายได้ดังนี้ คำว่า อัตตา และ โลก มีความหมาย ๕ นัย คือ @นัยที่ ๑ ทั้ง อัตตา และโลก หมายถึงขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ @นัยที่ ๒ อัตตา หมายถึงอหังการวัตถุ หรือเหตุให้เกิดมานะว่าเป็นเรา โลก หมายถึงมมังการวัตถุ คือเหตุ @ให้เกิดตัณหาว่าเป็นของเรา @นัยที่ ๓ อัตตา หมายถึงตนเอง โลก หมายถึงผู้อื่น @นัยที่ ๔ อัตตา หมายถึงขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ในอุปาทานขันธ์ ๕ โลก หมายถึงสิ่งอื่นนอกจากขันธ์ ๕ @นัยที่ ๕ อัตตา หมายถึงขันธสันดานที่มีวิญญาณ โลก หมายถึงขันธสันดานที่ไม่มีวิญญาณ @คำว่า “อัตตาและโลกเที่ยง” ในที่นี้ทรงมุ่งแสดงสัสสตวาทะ ๔ ประการ ส่วนคำว่า “อัตตาและโลก @ไม่เที่ยง” ทรงมุ่งแสดงอุจเฉทวาทะ ๗ ประการ (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๖๙) @ เป็นตัวการ แปลจากบาลีว่า “สยํกโต” ในที่นี้หมายถึงลัทธิสยังการ (ลัทธิสยังการ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า @ลัทธิอัตตการ) หมายถึงลัทธิที่เชื่อว่า ตนเป็นตัวการ คือ เป็นผู้สร้างอัตตาและโลกขึ้นเอง (ขุ.อุ.อ. ๕๖/๓๗๑) @หมายถึงพวกอธิจจสมุปปันนวาทะ คือลัทธิที่เชื่อว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นได้เอง มิได้อาศัยเหตุอะไร เป็น @ลัทธิปฏิเสธทั้งลัทธิสยังการ และลัทธิปรังการ (ผู้อื่นเป็นตัวการ) พวกอธิจจสมุปปันนวาทะนี้ เรียกอีกชื่อ @หนึ่งว่า อเหตุกวาทะ (ขุ.อุ.อ. ๕๕-๕๖/๓๗๐-๓๗๒) และดู สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๗/๒๗-๒๘, สํ.นิ.อ. ๒/๑๗/๔๐ @ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกเกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็น ตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์จะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่น เป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

[๑๙๒] ๑. จุนทะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘อัตตา และโลกเที่ยง’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใด อย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์ แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่ เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติ๑- แม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้นเป็นผู้เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ [๑๙๓] ๒. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ ๓. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๔. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่า ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๕. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ บัญญัติ มี ๒ อย่าง คือ(๑) บัญญัติ (๒) อธิบัญญัติ บัญญัติ หมายถึงทิฏฐิบัญญัติ อธิบัญญัติ หมายถึง @ขันธบัญญัติ ธาตุบัญญัติ อายตนบัญญัติ อินทริยบัญญัติ สัจจบัญญัติ และบุคคลบัญญัติ ในที่นี้หมายเอา @ทั้งบัญญัติและอธิบัญญัติ (ที.ปา.อ. ๑๙๒/๑๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

๖. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๗. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้งตนเองเป็นตัวการและ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๘. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเกิดขึ้นได้เอง จะว่าตน เองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๙. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ ๑๐. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๑. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๒. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์จะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่ เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๓. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๔. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

๑๕. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๖. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเอง เป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้ แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติแม้นี้ ผู้ที่ เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้นเป็นผู้เหนือกว่า ใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้แลแก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้น ยังมีอะไรอีกเล่าที่เรา ไม่พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย
ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต
[๑๙๔] เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต๑- แก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ คืออะไร ในเรื่องนั้น ยังมีอะไร อีกเล่า ที่เราไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต ได้แก่อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๗๔-๑๐๔/๓๐-๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่มีรูป ยั่งยืน๑- หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา จะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ยั่งยืน แปลจากคำว่า อโรค อรรถกถาอธิบายว่า นิจฺจ แปลว่า เที่ยง ยั่งยืน คงที่ เพราะไม่แตกดับไป @(ที.สี.อ. ๗๖-๗๗/๑๐๙, ที.สี.ฏีกา ๗๖-๗๗/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

๑. จุนทะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน หลังจาก ตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน กล่าวคำว่า ‘อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว’ ใช่ไหม และ สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจใน เรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติ แม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริงเราเท่านั้นเป็นผู้ เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ [๑๙๕] ๒. จุนทะ บรรดาสมณพรหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาจะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจาก ตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาจะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืน หลัง จากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘อัตตาย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่อง บัญญัติแม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้น เป็นผู้เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคตเหล่านี้แล แก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้นยังมีอะไรอีกเล่า ที่เราไม่ ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย [๑๙๖] จุนทะ เราแสดง บัญญัติสติปัฏฐาน ๔ ประการไว้ อย่างนี้ ก็เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้ และทิฏฐินิสัยอันสหรคต ด้วยขันธ์ส่วนอนาคตเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เราแสดง บัญญัติสติปัฏฐาน ๔ ประการไว้ อย่างนี้ ก็เพื่อละ เพื่อก้าวล่วง ทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้ และทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยขันธ์ส่วน อนาคตเหล่านี้ [๑๙๗] ในเวลานั้น ท่านพระอุปวาณะ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ ของพระผู้มีพระภาค ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์ จริง ไม่เคยปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้น่าเลื่อมใสนัก ธรรมบรรยายนี้ น่าเลื่อมใสยิ่งนัก พระพุทธเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปวาณะ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิดว่า ‘ชื่อ ปาสาทิกะ’ ด้วยเหตุดังว่ามานี้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุปวาณะมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
ปาสาทิกสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๔๖-๑๕๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=4220&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=2537&Z=3181&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=94              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=94&items=36              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=94&items=36              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]