ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวมิลักขะ ด้วยภาษาชาวอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวอริยกะ ด้วยภาษาชาวมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวอริยกะ ด้วยภาษาชาวอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวมิลักขะ ด้วยภาษาชาวมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยพูดเล่น ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยพูดพลั้งพลาด ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความหมาย ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความหมาย ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ ชื่อว่าไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม ได้แก่ อสัทธรรม ซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง นี้ชื่อว่าเมถุนธรรม ที่ชื่อว่า เสพ ได้แก่ ภิกษุใด สอดเครื่องหมายเพศเข้าไปทางเครื่องหมายเพศ สอดองคชาตเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดเข้าไปแม้เพียงเมล็ดงา ภิกษุนี้ชื่อว่า เสพ คำว่า โดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรมแม้ กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร จะกล่าวไปใย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ถึงการเสพกับหญิงมนุษย์เล่า ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้กับสัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนคนถูกตัดศีรษะ ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ โดยการต่อ ศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๒-๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=1155&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=803&Z=1253&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=30&items=8              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=30&items=8              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]