ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ว่าด้วยทีฆาวุกุมาร
[๔๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงพาราณสี ได้มีพระเจ้ากาสีพระนามว่าพรหมทัต ทรงเป็น กษัตริย์ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีกำลังพลมาก มีพาหนะมาก มี อาณาจักรกว้างใหญ่ มีภัณฑาคารห้องเก็บของมีค่าและคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดม สมบูรณ์๑- พระเจ้าโกศลทรงพระนามว่าทีฆีติทรงเป็นกษัตริย์ผู้ขัดสน มีทรัพย์น้อย มีโภค สมบัติน้อย มีกำลังพลน้อย มีพาหนะน้อย มีอาณาจักรไม่กว้างใหญ่ มีภัณฑาคาร ห้องเก็บของมีค่าและคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่อุดมสมบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชเสด็จคุมกองทหารประกอบ ด้วยองค์ ๔ ไปโจมตีพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าทีฆีติโกศลราชทรงสดับว่า “พระเจ้าพรหมทัตกาสีราช เสด็จคุมกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ มาโจมตีเรา” จึงทรงดำริดังนี้ว่า “พระเจ้า พรหมทัตกาสีราช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีกำลัง พลมาก มีพาหนะมาก มีอาณาจักรกว้างใหญ่ มีภัณฑาคารห้องเก็บของมีค่าและ คลังพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ส่วนเราเองเป็นกษัตริย์ผู้ขัดสน มีทรัพย์น้อย มีโภคสมบัติน้อย มีกำลังพลน้อย มีพาหนะน้อย มีอาณาจักรไม่กว้างใหญ่ มี ภัณฑาคารห้องเก็บของมีค่าและคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่อุดมสมบูรณ์ เราไม่ สามารถจะทำสงครามแม้เพียงครั้งเดียวกับพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้เลย อย่า กระนั้นเลย เราควรรีบหนีไปจากเมืองเสียก่อน” @เชิงอรรถ : @ อีกอย่างหนึ่ง มีกองทัพ ๔ คือ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ พลเดินเท้า และมีคลังสมบัติ @คลังธัญชาติ คลังผ้าบริบูรณ์ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๖๓/๔๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงทรงพาพระมเหสีเสด็จหนี ไปจากเมืองเสียก่อน ฝ่ายพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงยึดกำลังพล พาหนะ ชนบท คลังอาวุธ- ยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชไว้ได้แล้วเสด็จเข้า ครอบครองแทน ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมด้วยพระมเหสีได้เสด็จ หนีไปทางกรุงพาราณสี เสด็จจาริกไปตามลำดับ ลุถึงกรุงพาราณสีแล้ว ทราบว่า ท้าวเธอพร้อมกับพระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้คนรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยง ปริพาชก ประทับอยู่ในบ้านช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่งในกรุงพาราณสี ภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชทรงมี พระครรภ์ พระนางเกิดอาการแพ้ท้องเช่นนี้ คือ ในยามรุ่งอรุณ พระนางปรารถนา จะทอดพระเนตรกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิ และ จะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงได้กราบทูล ดังนี้ว่า “ขอเดชะ หม่อมฉันมีครรภ์ หม่อมฉันนั้นเกิดอาการแพ้ท้องเช่นนี้ คือ ยามรุ่งอรุณปรารถนาจะทอดพระเนตรกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะ ยืนอยู่ในสมรภูมิ และจะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์” พระเจ้าทีฆีติตรัสว่า “แม่เทวี เรากำลังตกยาก จะได้กองทหารประกอบด้วย องค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิและน้ำล้างพระแสงขรรค์จากที่ไหนเล่า” พระราชเทวีกราบทูลว่า “ขอเดชะ ถ้าหม่อมฉันไม่ได้คงตายแน่” [๔๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต กาสีราชเป็นพระสหายของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ลำดับนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราช เสด็จเข้าไปหาพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ณ ที่พัก แล้วตรัสกับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชดังนี้ว่า “เพื่อนเอ๋ย สหายหญิงของ ท่านมีครรภ์ นางเกิดอาการแพ้ท้องเช่นนี้ คือ เมื่อยามรุ่งอรุณ เธอปรารถนาจะ ชมกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนในสมรภูมิ และจะดื่มน้ำล้างพระ แสงขรรค์” ปุโรหิตกราบทูลว่า “ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น หม่อมฉันขอเฝ้าพระเทวีก่อน” ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้เสด็จไปหาพราหมณ์ปุโรหิต ของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ณ ที่พัก ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้แลเห็นพระ มเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงลุกจากอาสนะห่มผ้าเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระมเหสีแล้วอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า “ท่านผู้เจริญ พระเจ้า โกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว ท่านผู้เจริญ พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระ อุทรแน่แล้ว พระเทวีอย่าได้ท้อพระทัยเลย เมื่อยามรุ่งอรุณจะได้ทอดพระเนตรกอง ทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิและจะได้เสวยน้ำล้างพระ แสงขรรค์” ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชเข้าไป เฝ้าพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ณ ที่ประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ นิมิตทั้งหลายปรากฏอย่างนั้น คือ พรุ่งนี้ยามรุ่งอรุณ กองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ จะสวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิ และเจ้าพนักงานจะเอาน้ำล้างพระแสงขรรค์” ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชจึงรับสั่งกับเจ้าพนักงานว่า “พนาย พวก เจ้าจงทำตามที่พราหมณ์ปุโรหิตสั่งการเถิด” ภิกษุทั้งหลาย พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงได้ทอดพระเนตรกอง ทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิ และได้เสวยน้ำล้างพระ แสงขรรค์ในเวลารุ่งอรุณสมความปรารถนา ต่อมาเมื่อพระครรภ์แก่ครบกำหนดจึง ประสูติพระโอรส พระประยูรญาติได้ขนานพระนามให้ว่า ทีฆาวุ ต่อมาไม่นานนัก พระกุมารได้ทรงเจริญวัยรู้เดียงสา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราชทรงมีดำริดังนี้ว่า “พระเจ้า พรหมทัตกาสีราชนี้ได้ก่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ให้แก่เรามากมาย ได้ช่วงชิงเอากองทหาร พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์ตลอดถึงคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเรา ไป ถ้าท้าวเธอจะทรงสืบทราบถึงพวกเรา จะรับสั่งให้ประหารชีวิตหมดทั้ง ๓ คนแน่ อย่ากระนั้นเลย เราควรให้พ่อทีฆาวุกุมารหลบอยู่นอกเมือง” แล้วได้ให้ทีฆาวุกุมาร หลบอยู่นอกเมือง ทีฆาวุกุมารอาศัยอยู่นอกเมืองไม่นานก็ได้ศึกษาศิลปวิทยาจบทุก สาขา [๔๖๐] ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ช่างกัลบกของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ สวามิภักดิ์อยู่ในสำนักของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช เขาได้เห็นพระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมกับพระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก ประทับอยู่ในบ้านช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่งในกรุงพาราณสี จึงได้เข้าไปเฝ้า พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมด้วย พระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก ประทับอยู่ ในบ้านช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่งในกรุงพาราณสี” ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชจึงรับสั่งเจ้าพนักงานว่า “พนาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปจับพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมด้วยพระมเหสีมา” พวกเจ้าพนักงานกราบทูลรับสนองพระดำรัส แล้วไปจับพระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมพระมเหสีมาถวาย พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชรับสั่งเจ้าพนักงานว่า “พวกเจ้าจงเอาเชือกที่เหนียวแน่น มัดพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับพระมเหสี มัดพระพาหาไพล่หลังให้แน่นกล้อน พระเกศาแล้วพาตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทุกแห่งพร้อมกับตีกลองให้ดัง สนั่น พาออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณแล้วบั่นร่างออกเป็น ๔ ท่อนวางเรียงไว้ในหลุมทั้ง ๔ ทิศทางด้านทิศทักษิณแห่งเมือง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเจ้าพนักงานทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วได้เอาเชือกที่ เหนียวแน่นมัดพระเจ้าทีฆีติพร้อมกับพระมเหสี มัดพระพาหาไพล่หลังให้แน่น กล้อน พระเกศาแล้วพาตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทุกแห่งพร้อมกับตีกลองให้ดังสนั่น เวลานั้น ทีฆาวุราชกุมารทรงดำริดังนี้ว่า “นานแล้วที่เราได้เยี่ยมพระชนกชนนี อย่ากระนั้นเลย เราควรไปเยี่ยมท่านทั้งสอง” จึงเดินทางเข้ากรุงพาราณสี ได้ทอด พระเนตรเห็นเจ้าพนักงานเอาเชือกอย่างเหนียวมัดพระชนกชนนี มัดพระพาหาไพล่ หลังให้แน่น กล้อนพระเกศาแล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกทุกแห่งพร้อมกับ ตีกลองให้ดังสนั่น จึงเสด็จเข้าไปใกล้พระชนกชนนี ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าทีฆีติโกศลราชทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุกุมารดำเนินมา แต่ไกลจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อม ไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร” เมื่อพระเจ้าทีฆีติโกศลราชตรัสอย่างนี้ พวกเจ้าพนักงานได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระเจ้าทีฆีติโกศลราชพระองค์นี้ทรงวิกลจริตจึงบ่นเพ้อ ใครคือทีฆาวุของพระเจ้า ทีฆีติโกศลราชนี้ พระองค์ตรัสกับใครอย่างนี้ว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร” พระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงตรัสตอบว่า “เราไม่ได้วิกลจริตบ่นเพ้อ ผู้ใดรู้แจ้ง ผู้นั้นจะเข้าใจ” ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ตรัสกะทีฆาวุกุมารดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ ด้วยการไม่จองเวร” ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ พวกเจ้าพนักงานก็ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระเจ้า ทีฆีติโกศลราชพระองค์นี้ทรงวิกลจริตจึงบ่นเพ้อ ใครคือทีฆาวุของพระเจ้าทีฆีติโกศล ราชนี้ พระองค์ตรัสกับใครอย่างนี้ว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

พระเจ้าทีฆีติโกศลราชก็ยังคงตรัสว่า “เราไม่ได้วิกลจริตบ่นเพ้อ ผู้ใดรู้แจ้ง ผู้นั้น จะเข้าใจ” ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกเจ้าพนักงานได้นำพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อม กับพระมเหสีตระเวนไปตามถนนตามตรอกทุกแห่งแล้วให้ออกไปทางประตูด้านทิศ ทักษิณแล้วบั่นพระกายเป็น ๔ ท่อนแล้ววางเรียงไว้ในหลุมทั้ง ๔ ทิศทางด้านทิศ ทักษิณแห่งเมือง วางยามคอยระวังเหตุการณ์ไว้แล้วพากันกลับ ต่อมา ทีฆาวุกุมารลอบเสด็จเข้าไปยังกรุงพาราณสี นำสุรามาเลี้ยงพวกอยู่ยาม เมื่อพวกยามเมาฟุบลง จึงจัดหาฟืนมาวางเรียงกันแล้วหาไม้มาสร้างจิตกาธานยก พระบรมศพของพระชนกชนนีขึ้นสู่จิตกาธาน ถวายพระเพลิงแล้วประนมพระหัตถ์ ทำประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ [๔๖๑] ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชประทับอยู่ชั้นบน ปราสาท ทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุกุมารกำลังประนมพระหัตถ์ทำประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ จึงทรงดำริดังนี้ว่า “พนักงานผู้นั้นคงเป็นญาติหรือคนร่วมสายโลหิตของ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชแน่ น่ากลัวจะก่อความพินาศแก่เรา ช่างไม่มีใครบอกเราเลย” ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ทีฆาวุกุมารเสด็จหลบเข้าป่า ทรงกันแสงด้วยความ โศกเศร้าพระทัย ทรงซับน้ำพระเนตรแล้วเสด็จเข้ากรุงพาราณสี ถึงโรงช้างใกล้ พระบรมมหาราชวัง ตรัสแก่นายหัตถาจารย์ดังนี้ว่า “ท่านอาจารย์ ผมอยากเรียน ศิลปวิทยา” นายหัตถาจารย์ตอบว่า “ถ้าอย่างนั้น เชิญพ่อหนุ่มมาเรียนเถิด” เช้ามืดวันหนึ่ง ทีฆาวุกุมารทรงตื่นบรรทม ทรงขับร้องดีดพิณคลอเสียงเจื้อย แจ้วอยู่ที่โรงช้าง พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงตื่นบรรทมเวลานั้นพอดี ได้ทรงสดับ เสียงเพลงและเสียงพิณที่ดังแว่วมาทางโรงช้าง จึงตรัสถามพวกเจ้าพนักงานว่า “ใคร กันตื่นแต่เช้าขับร้องดีดพิณแว่วมาทางโรงช้าง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

พวกเจ้าพนักงานกราบทูลว่า “ขอเดชะ ชายหนุ่มศิษย์ของนายหัตถาจารย์ คนโน้นตื่นแต่เช้า ขับร้องดีดพิณคลอเสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้าง” พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสว่า “ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงพาชายหนุ่มมาเฝ้า” พวกเจ้าพนักงานทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว พาทีฆาวุกุมารมาเฝ้า ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสถามทีฆาวุกุมารดังนี้ว่า “พ่อหนุ่ม เธอตื่นแต่เช้า ขับร้องดีดพิณคลอเสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้างหรือ” ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ท้าวเธอตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับร้องดีดพิณไปเถิด” ทีฆาวุกุมารกราบทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว ปรารถนาจะให้ทรงโปรดจึง ขับร้องและดีดพิณด้วยเสียงอันไพเราะ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้ตรัสกับทีฆาวุกุมารดังนี้ ว่า “พ่อหนุ่ม เธอจงอยู่รับใช้เราเถิด” ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วจึงได้ประพฤติทำนองตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยเฝ้าปรนนิบัติ ทำให้ถูกพระอัธยาศัย พูดไพเราะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงแต่งตั้งทีฆาวุกุมารไว้ ในตำแหน่งมหาดเล็กคนสนิทภายใน [๔๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสกับทีฆาวุกุมาร ดังนี้ว่า “พ่อหนุ่ม เธอจงเทียมรถ พวกเราจะไปล่าเนื้อ” ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วจัดเทียมรถไว้ได้กราบทูลว่า “ขอเดชะ รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว เวลานี้ขอได้ทรงโปรดทราบเวลาอันควรเถิด” ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชเสด็จขึ้นราชรถ ทีฆาวุกุมารขับราชรถ แยกไปทางหนึ่งจากกองทหาร เมื่อท้าวเธอเสด็จไปไกลจึงตรัสกับทีฆาวุกุมารว่า “พ่อหนุ่ม เธอจงจอดรถ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก” ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วจอดราชรถนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงพาดพระเศียร บรรทมอยู่บนตักของทีฆาวุกุมารเพราะทรงเหน็ดเหนื่อยมา เพียงครู่เดียวก็บรรทม หลับสนิท ขณะนั้น ทีฆาวุกุมารได้ทรงดำริดังนี้ว่า “พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชนี้แลทรง ก่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พวกเรามากมาย ทรงช่วงชิงกองทหาร พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเราไป ได้ปลงพระชนม์ ชีพของพระชนกชนนีของเราอีก บัดนี้เป็นเวลาที่เราพบคู่เวร” จึงชักพระแสงขรรค์ ออกจากฝัก ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ทีฆาวุกุมารได้ทรงดำริดังนี้ว่า “พระชนกได้ตรัสสั่ง เราไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อม ไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระดำรัส สั่งของพระชนกนั้นไม่ควรเลย” จึงสอดพระแสงขรรค์กลับเข้าฝักตามเดิม ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ทีฆาวุกุมารก็ทรงดำริดังนี้ว่า “พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชนี้แลทรง ก่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พวกเรามากมาย ทรงช่วงชิงกองทหาร พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเราไป ได้ปลงพระชนม์ชีพ ของพระชนกชนนีของเราอีก บัดนี้เป็นเวลาที่เราพบคู่เวร” จึงชักพระแสงขรรค์ออก จากฝัก ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ทีฆาวุกุมารได้ทรงดำริดังนี้ว่า “พระชนกได้ตรัส สั่งเราไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวร ย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระ ดำรัสสั่งของพระชนกนั้นไม่ควรเลย” จึงสอดพระแสงขรรค์กลับเข้าฝักตามเดิม ภิกษุทั้งหลาย พอดีกับที่พระเจ้าพรหมทัตทรงสะดุ้งพระทัย หวาดหวั่น รีบ เสด็จลุกขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ลำดับนั้น ทีฆาวุกุมารทูลถามพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชดังนี้ว่า “ขอเดชะ เพราะอะไรพระองค์จึงทรงสะดุ้งพระทัย หวาดหวั่น รีบเสด็จลุกขึ้น” ท้าวเธอตรัสตอบว่า “พ่อหนุ่ม ฉันฝันว่าทีฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติ โกศลราชฟันฉันด้วยพระแสงขรรค์ ณ ที่นี้ ดังนั้นฉันจึงตกใจสะดุ้ง หวาดหวั่น รีบ ลุกขึ้น” ทีนั้น ทีฆาวุกุมารจับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชด้วยพระหัตถ์ซ้าย ชักพระแสงขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วกล่าวขู่ว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้านี่ แหละคือทีฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น พระองค์ทรงก่อสิ่งที่มิใช่ ประโยชน์แก่พวกข้าพระองค์มากมาย ทรงช่วงชิงกองทหาร พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกข้าพระองค์ไป มิหนำซ้ำ ยังปลงพระชนม์ชีพพระชนกชนนีของข้าพระองค์อีก เวลานี้เป็นเวลาที่ข้าพระองค์ได้ เจอคู่เวร” พระเจ้าพรหมทัตได้ซบพระเศียรลงแทบบาทของทีฆาวุกุมาร ตรัสอ้อนวอนว่า “พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิตแก่ฉันเถิด พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิตแก่ฉันเถิด” ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่อาจจะถวายชีวิตแด่สมมติเทพได้ องค์ สมมติเทพต่างหากควรพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระองค์” ท้าวเธอตรัสว่า “พ่อทีฆาวุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ชีวิตฉัน และฉันก็ให้ชีวิตแก่เธอ” ดังนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชและทีฆาวุกุมารจึงต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน จับพระหัตถ์กันและได้สาบานเพื่อจะไม่ทำร้ายกันและกัน ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้ตรัสกับทีฆาวุกุมารดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ ถ้าอย่างนั้นเธอจงเทียมรถกลับกันเถอะ” ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเทียมรถได้กราบทูลว่า “ขอเดชะ รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว บัดนี้พระองค์โปรดทรงทราบเวลาอันควรเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ท้าวเธอเสด็จขึ้นราชรถแล้ว ทีฆาวุกุมารขับราชรถไปไม่นานก็มาพบกองทหาร เมื่อเสด็จเข้ากรุงพาราณสีแล้ว รับสั่งให้เรียกประชุมอมาตย์ราชบริษัทแล้วตรัสถาม ว่า “ถ้าพวกท่านพบทีฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจะทำอะไรแก่เขา” อมาตย์บางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดมือ ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดเท้า ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดทั้งมือและเท้า ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดหู ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดจมูก ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดทั้งหูและจมูก ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดศีรษะ” พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสว่า “นาย ชายหนุ่มผู้นี้แล คือ ทีฆาวุกุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น ใครจะทำร้ายชายหนุ่มคนนี้ไม่ได้ เขาให้ชีวิต แก่เราและเราก็ได้ให้ชีวิตแก่เขา” [๔๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้ตรัสกับทีฆาวุ กุมารดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ คำสั่งที่พระชนกของเธอได้ตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘พ่อ ทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรแต่ระงับ ได้ด้วยการไม่จองเวร’ พระชนกของเธอตรัสไว้หมายความว่าอย่างไร” ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า “ขอเดชะ คำสั่งที่พระชนกของข้าพระองค์ตรัสไว้เมื่อ ใกล้จะสวรรคตว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว’ นี้หมายความว่า ‘อย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ’ ดังนั้น พระชนกของข้าพระองค์จึงตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว’ คำสั่งที่พระชนกของข้าพระองค์ตรัสไว้อีกว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น’ นี้หมายความ ว่า ‘เจ้าอย่าแตกร้าวจากมิตรเร็วนัก’ ดังนั้น พระชนกของข้าพระองค์จึงตรัสไว้เมื่อ ใกล้จะสวรรคตว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น’ คำสั่งที่พระชนกของข้าพระองค์ตรัสไว้อีกว่า ‘เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวร’ นี้หมายความว่า ‘พระชนกชนนีของข้าพระองค์ ถูกพระองค์ปลงพระชนม์ชีพแล้ว ถ้าข้าพระองค์ปลงพระชนม์ชีพของพระองค์บ้าง คนที่มุ่งประโยชน์แก่พระองค์ก็จะพึงฆ่าข้าพระองค์ คนที่มุ่งประโยชน์แก่ข้าพระองค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

ก็จะพึงฆ่าคนพวกนั้นอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้นไม่พึงระงับด้วยการจองเวร แต่มา บัดนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ ก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ จึงเป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้วด้วยการไม่จองเวร ดังนั้น พระชนกของข้าพระองค์จึงตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘เวรย่อมไม่ระงับด้วย การจองเวร แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวร” ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสว่า “น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นเรื่องที่ไม่เคยมี ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทีฆาวุกุมารผู้นี้ เฉลียวฉลาดจึงเข้าใจความหมายแห่งคำพูดที่พระชนกตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดาร” แล้วได้โปรดพระราชทานคืนกองทหาร พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และ คลังพืชพันธุ์ธัญญาหารอันเป็นพระราชสมบัติของพระชนกและได้พระราชทานพระ ราชธิดาให้อภิเษกสมรสด้วย ภิกษุทั้งหลาย ขันติและโสรัจจะเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระราชาเหล่านั้นผู้ทรง อาญาทรงถือศัสตราวุธ การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ จะพึงมีความอดทนและความสงบเสงี่ยมนั้น ก็จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้แน่ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “อย่าเลย ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย” ภิกษุอธรรมวาทีรูปนั้นก็ยังกราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ขอพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นธรรมสามีทรงโปรดรอไปก่อน ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อยประกอบ ตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจะปรากฏเพราะความบาด หมาง เพราะความทะเลาะ เพราะความขัดแย้ง เพราะการวิวาทนั้นเอง พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “พวกโมฆบุรุษเหล่านี้ดื้อรั้นนัก จะทำ ให้สามัคคีกันไม่ใช่ง่าย” แล้วทรงลุกจากอาสนะแล้วเสด็จจากไป
ทีฆาวุภาณวารที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ

[๔๖๔] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลัง เสวยเสร็จแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรประทับยืนท่ามกลางสงฆ์ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียวกัน ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกันก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น พวกเธอขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต เจ้าคารม พูดได้ ตามที่ปรารถนา จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ คนเหล่าใดผูกใจเจ็บว่า “มันได้ด่าเรา มันได้ทำร้ายเรา มันได้ชนะเรา มันได้ลักของของเรา” เวรของคนเหล่านั้น ย่อมระงับไม่ได้เลย ส่วนคนเหล่าใดไม่ผูกใจเจ็บว่า “มันได้ด่าเรา มันได้ทำร้ายเรา มันได้ชนะเรา มันได้ลักของของเรา” เวรของเขาเหล่านั้น ย่อมระงับได้ ไม่ว่ายุคไหนๆ ในโลกนี้ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นของเก่า๑- คนเหล่าอื่นไม่รู้ชัดว่า “พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ทีนี้ ส่วนคนเหล่าใด ในหมู่นั้นรู้ชัด @เชิงอรรถ : @ เป็นของเก่า หมายถึงเป็นข้อปฏิบัติสืบๆ กันมาของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพ @(ขุ.ธ.อ. ๑/๔/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๓. พาลกโลณกคมนกถา

ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น พวกคนที่บั่นกระดูก ฆ่า ลักทรัพย์ คือ โคและม้า ถึงจะช่วงชิงแว่นแคว้นกันก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก ไฉนพวกเธอจึงคบหากันไม่ได้เล่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี๑- เป็นปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ประพฤติอยู่พระองค์เดียว และเหมือนช้างมาตังคะทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายไม่มีในคนพาล บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่ทำบาป เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
๒๗๓. พาลกโลณกคมนกถา
ว่าด้วยการเสด็จไปพาลกโลณกคาม
เรื่องท่านพระภคุอยู่ ณ พาลกโลณกคาม
[๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์นั่นแหละ ตรัสพระ คาถาเหล่านี้แล้วเสด็จไปทางพาลกโลณกคาม @เชิงอรรถ : @ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยนิโรธสมาบัติ (ขุ.จู. ๓๐/๑๓๒/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๔๓-๓๕๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=5&A=9150 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=61              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=6114&Z=6392&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=243              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]