ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
๔. จตุกกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๐] บุคคล ๔ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษ บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ บุคคล ผู้เป็นสัตบุรุษ บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ (๑๓๒-๑๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส

๒. บุคคลผู้เป็นคนชั่ว บุคคลผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว บุคคลผู้เป็น คนดี บุคคลผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี (๑๓๖-๑๓๙) ๓. บุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคล ผู้มีธรรมดี บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี (๑๔๐-๑๔๓) ๔. บุคคลผู้มีแต่โทษ บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก บุคคลผู้มีโทษเป็น ส่วนน้อย บุคคลผู้ไม่มีโทษ (๑๔๔-๑๔๗) ๕. บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู บุคคลผู้เป็นเนยยะ บุคคลผู้เป็นปทปรมะ (๑๔๘-๑๕๑) ๖. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ ถูกต้อง บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลผู้ตอบได้ไม่ ถูกต้องและไม่รวดเร็ว (๑๕๒-๑๕๕) ๗. บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก (๑๕๖) ๘. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวก (๑๕๗) ๙. บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก (๑๕๘) ๑๐. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวก (๑๕๙) ๑๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวก (๑๖๐) ๑๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวก (๑๖๑) ๑๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก (๑๖๒) ๑๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก (๑๖๓) ๑๕. บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน จำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควร สรรเสริญจำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความ เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ (๑๖๔) ๑๖. บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนจำพวก ๑ บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญจำพวก ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส

บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร เลื่อมใสจำพวก ๑ บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใส ในฐานะที่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ (๑๖๕) ๑๗. บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลแต่ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล จำพวก ๑ บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลแต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลจำพวก ๑ บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตาม ความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลจำพวก ๑ บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้ ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลจำพวก ๑ (๑๖๖) ๑๘. บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรแต่ไม่ดำรงชีพด้วย ผลแห่งบุญ บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญแต่ไม่ดำรงชีพด้วยผล แห่งความขยันหมั่นเพียร บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยัน หมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผล แห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ (๑๖๗) ๑๙. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป บุคคลผู้สว่าง มาแต่มืดไป บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป (๑๖๘) ๒๐. บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป บุคคลผู้สูงมาแต่ ต่ำไป บุคคลผู้สูงมาและสูงไป (๑๖๙) ๒๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก (๑๗๐) ๒๒. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป บุคคลผู้ถือเสียงเป็น ประมาณ เลื่อมใสในเสียง (๑๗๑) ๒๓. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมในในธรรม (๑๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุเทส

๒๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น จำพวก ๑ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล ตนเองจำพวก ๑ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นจำพวก ๑ (๑๗๓) ๒๕. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน จำพวก ๑ บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้ อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบ ในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อนหมั่นประกอบใน การทำผู้อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อนไม่ หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลนั้นไม่ ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน (๑๗๔-๑๘๕) ๒๖. บุคคลผู้มีราคะ บุคคลผู้มีโทสะ บุคคลผู้มีโมหะ บุคคลผู้มีมานะ (๑๘๖) ๒๗. บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในแต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่งจำพวก ๑ บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่งแต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในจำพวก ๑ บุคคลผู้ได้ความ สงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง จำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจำพวก ๑ (๑๘๗) ๒๘. บุคคลผู้ไปตามกระแส บุคคลผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก (๑๘๘) ๒๙. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ (๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกอุทเทส

๓๐. บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก บุคคลผู้เป็นสมณะ ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ (๑๙๐)
จตุกกอุทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๔๑-๑๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=3818 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=36&siri=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=2516&Z=2636&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=525              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]