ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ (กองรูป) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) ๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) ๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร) ๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)
๑. รูปขันธ์
[๓๓] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน รูปขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ รูปทั้งหมด ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของ โยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจาก จิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ มรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคล และอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับ เนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นสภาวะไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุ นำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นของไม่เที่ยง ถูก ชราครอบงำ๑- รูปขันธ์หมวดละ ๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๒- @เชิงอรรถ : @ นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๗) @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๖๙, ๕๙๔/๑๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

ทุกนัย
ปกิณณกทุกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี๑- ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี รูปที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี รูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี ที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี รูปที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี รูปที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี รูปที่ไกลก็มี ที่ใกล้ก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นกวฬิงการาหารก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๒- รูปขันธ์หมวดละ ๒ มีด้วยอาการอย่างนี้๓- (ในที่นี้ก็พึงจำแนกรูปขันธ์ที่เหลือเหมือนในรูปกัณฑ์)
สุขุมรูปทุกะ จบ
@เชิงอรรถ : @ ตรงกับคำบาลีว่า อุปาทินฺน (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐) @ คำว่า กวฬิงการาหาร หมายถึงอาหารที่ทำเป็นคำกลืนกิน (อภิ.สงฺ.อ. ๖๔๕/๓๘๘) @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

ติกนัย
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป รูปที่เป็นภาย นอกที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ รูปที่เป็น ภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน รูปที่เป็นภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกที่เป็นกวฬิงการาหาร ก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๑- รูปขันธ์หมวดละ ๓ มีด้วยอาการอย่างนี้
สุขุมรูปติกะ จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๕/๑๗๑-๑๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

จตุกกนัย
อุปาทินนจตุกกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่ ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี รูปที่ไม่เป็น อุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี
อุปาทาทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี ฯลฯ
ทิฏฐาทิจตุกกะ
รูปเป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่สดับได้ เป็นรูปที่รู้ได้ เป็นรูปที่รู้แจ้งได้ รูปขันธ์หมวดละ ๔ มีด้วยอาการอย่างนี้๑- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๖/๑๗๖-๑๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

ปัญจกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ รูปที่เป็นปฐวีธาตุ รูปที่เป็นอาโปธาตุ รูปที่เป็น เตโชธาตุ รูปที่เป็นวาโยธาตุ รูปที่เป็นอุปาทายรูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้๑-
ฉักกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณ รู้ได้ รูปขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้๒-
สัตตกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้ รูปขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้๓-
อัฏฐกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่กายวิญญาณ รู้ได้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโน- วิญาณธาตุรู้ได้ รูปขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้๔- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๗/๑๗๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๘/๑๗๙ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๙/๑๗๙ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๐/๑๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. เวทนาขันธ์

นวกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ รูปขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้๑-
ทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ และรูป ที่ไม่เป็นอินทรีย์ ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้๒-
เอกาทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๓- นี้เรียกว่า รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๓๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๑/๑๘๐ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๒/๑๘๐ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๓/๑๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๗-๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=470 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=393&Z=458&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=32              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]