ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๙. นวกนิทเทส
[๙๖๐] บรรดานวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน อาฆาตวัตถุ ๙ คือ ๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ ชอบพอของเรา ๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา ๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ ชอบพอของเรา ๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่ เป็นที่ชอบพอของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๙. นวกนิทเทส

๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่ เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น ที่ชอบพอของเรา เหล่านี้ชื่อว่าอาฆาตวัตถุ ๙ [๙๖๑] ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน ปุริสมละ ๙ คือ ๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๓. อิสสา (ความริษยา) ๔. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕. มายา (ความเจ้าเล่ห์) ๖. สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ๗. มุสาวาท (การพูดเท็จ) ๘. ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก) ๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เหล่านี้ชื่อว่าปุริสมละ ๙ [๙๖๒] มานะ ๙ เป็นไฉน มานะ ๙ คือ ๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา ๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา ๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา ๔. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา ๕. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา ๖. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา ๗. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๙. นวกนิทเทส

๘. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา ๙. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เหล่านี้ชื่อว่ามานะ ๙ [๙๖๓] ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ ๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น ๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น ๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น ๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น ๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น ๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น ๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น ๙. เพราะอาศัยการรักษา สภาวธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลหลายประการ คือ การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จจึงเกิดขึ้น เหล่านี้ชื่อว่าตัณหามูลกธรรม ๙ [๙๖๔] อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน อิญชิตะ ๙ คือ ๑. ความหวั่นไหวว่า เรามี ๒. ความหวั่นไหวว่า เราเป็น ๓. ความหวั่นไหวว่า เราเป็นสิ่งนี้ ๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี ๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป ๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เหล่านี้ชื่อว่าอิญชิตะ ๙ [๙๖๕] มัญญิตะ ๙ ฯลฯ ผันทิตะ ๙ ฯลฯ ปปัญจิตะ ๙ ฯลฯ สังขตะ ๙ เป็นไฉน สังขตะ ๙ คือ ๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี ๒. ความปรุงแต่งว่า เราเป็น ๓. ความปรุงแต่งว่า เราเป็นสิ่งนี้ ๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี ๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป ๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา ๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เหล่านี้ชื่อว่าสังขตะ ๙
นวกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๑๕-๖๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=17457 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=74              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13421&Z=13506&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1020              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]