ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๑. เอกกนิทเทส
[๘๔๓] บรรดาเอกกมาติกาเหล่านั้น ชาติมทะ เป็นไฉน ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่ จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยชาติ นี้เรียกว่า ชาติมทะ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

[๘๔๔] โคตตมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยโคตร นี้ เรียกว่า โคตตมทะ (๒) อาโรคยมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความไม่มีโรค นี้เรียกว่า อาโรคยมทะ (๓) โยพพนมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น หนุ่มเป็นสาว นี้เรียกว่า โยพพนมทะ (๔) ชีวิตมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยชีวิต นี้เรียกว่า ชีวิตมทะ (๕) ลาภมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยลาภ นี้เรียกว่า ลาภมทะ (๖) สักการมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยสักการะ นี้เรียกว่า สักการมทะ (๗) ครุการมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเคารพ นี้เรียกว่า ครุการมทะ (๘) ปุเรกขารมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น หัวหน้า นี้เรียกว่า ปุเรกขารมทะ (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

ปริวารมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยบริวาร นี้เรียกว่า ปริวารมทะ (๑๐) โภคมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยโภคะ นี้เรียกว่า โภคมทะ (๑๑) วัณณมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความยกย่อง นี้เรียกว่า วัณณมทะ (๑๒) สุตมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยการสดับ ตรับฟังมาก นี้เรียกว่า สุตมทะ (๑๓) ปฏิภาณมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยปฏิภาณ นี้เรียกว่า ปฏิภาณมทะ (๑๔) รัตตัญญูมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น ผู้รัตตัญญู นี้เรียกว่า รัตตัญญูมทะ (๑๕) ปิณฑปาติกมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร นี้เรียกว่า ปิณฑปาติกมทะ (๑๖) อนวัญญาตมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความที่ไม่ มีใครดูหมิ่น นี้เรียกว่า อนวัญญาตมทะ (๑๗) อิริยาปถมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยอิริยาบถ นี้เรียกว่า อิริยาปถมทะ (๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

อิทธิมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิมทะ (๑๙) ยสมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยยศ นี้เรียกว่า ยสมทะ (๒๐) สีลมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศีล นี้เรียกว่า สีลมทะ (๒๑) ฌานมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฌาน นี้เรียกว่า ฌานมทะ (๒๒) สิปปมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศิลปะ นี้เรียกว่า สิปปมทะ (๒๓) อาโรหมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น ผู้มีทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า อาโรหมทะ (๒๔) ปริณาหมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี ทรวดทรงสันทัด นี้เรียกว่า ปริณาหมทะ (๒๕) สัณฐานมทะ เป็นไฉน ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี ทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า สัณฐานมทะ (๒๖) ปาริปูริมทะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิญชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความ ที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมีร่างกายสมบูรณ์ นี้เรียกว่า ปาริปูริมทะ (๒๗) [๘๔๕] มทะ เป็นไฉน ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่ จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มทะ (๒๘) [๘๔๖] ปมาทะ เป็นไฉน ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙) [๘๔๗] ถัมภะ เป็นไฉน ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ ภาวะที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย ความเป็นผู้มีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า ถัมภะ (๓๐) [๘๔๘] สารัมภะ เป็นไฉน ความแข่งดี ความแข่งดีตอบ กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งดีตอบ ภาวะที่แข่งดีตอบ นี้เรียกว่า สารัมภะ (๓๑) [๘๔๙] อติริจฉตา เป็นไฉน ความอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ตามมีตามได้ ความอยากได้ ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติริจฉตา (๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

[๘๕๐] มหิจฉตา เป็นไฉน ความอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ตามมีตามได้ ความอยากได้ ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๓๓) [๘๕๑] ปาปิจฉตา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีลปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อยปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสุตะมาก เป็นผู้ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้ชอบสงัด เป็นผู้เกียจคร้านปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้บำเพ็ญเพียร เป็นผู้มีสติหลงลืมปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้ มีจิตไม่เป็นสมาธิปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ เป็น ผู้มีปัญญาทรามปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่ สิ้นอาสวะปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความอยากได้ ความปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปาปิจฉตา๑- (๓๔) [๘๕๒] สิงคะ เป็นไฉน ความยั่วยวน ความน่ารัก ความสวยสง่า ความเพริดพริ้ง ความมีเสน่ห์ ความไฉไล นี้เรียกว่า สิงคะ (๓๕) [๘๕๓] ตินติณะ เป็นไฉน การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน ภาวะที่พูดเกียดกัน ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ความถ่อมตนเพื่อที่จะได้ ความต้องการสิ่งที่ประณีต นี้เรียกว่า ตินติณะ (๓๖) @เชิงอรรถ : @ ภาวะแห่งผู้ปรารถนาลามก ว่าโดยลักษณะ คือยกย่องคุณที่ไม่มีและไม่รู้จักประมาณในการรับ @(อภิ.วิ.อ. ๘๕๑/๕๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

[๘๕๔] จาปัลยะ เป็นไฉน การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การประดับร่างกาย ที่เปื่อยเน่านี้ หรือบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่นหัว ความร่าเริง ความกำหนัดยินดี ภาวะที่กำหนัดยินดี การตกแต่ง กิริยาที่ชอบตกแต่ง นี้เรียกว่า จาปัลยะ (๓๗) [๘๕๕] อสภาควุตติ เป็นไฉน ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่ เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่ยำเกรงในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้ที่ควรเคารพ เช่น มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌาย์ พระพุทธเจ้า หรือพระสาวก นี้เรียกว่า อสภาควุตติ (๓๘) [๘๕๖] อรติ เป็นไฉน ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความ รำคาญ ความกระวนกระวายใจในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล๑- คือสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ (๓๙) [๘๕๗] ตันที เป็นไฉน ความง่วงซึม กิริยาที่ง่วงซึม ภาวะที่ง่วงซึม ความเกียจคร้าน กิริยาที่ เกียจคร้าน ภาวะที่เกียจคร้าน นี้เรียกว่า ตันที๒- (๔๐) [๘๕๘] วิชัมภิตา เป็นไฉน ความบิดกาย กิริยาที่บิดกาย การโน้มกายไปข้างหน้า การโน้มกายมาข้าง หลัง การโน้มกายไปรอบๆ การตั้งกายให้สูงขึ้น ความไม่สำราญทางกาย นี้เรียกว่า วิชัมภิตา (๔๑) [๘๕๙] ภัตตสัมมทะ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ.อ. ๘๕๖/๕๑๗ @ หมายถึงเกียจคร้านโดยกำเนิด (อภิ.วิ.อ. ๘๕๗/๕๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

ความเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดลำบากเพราะอาหาร ความเร่าร้อน กระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร ของผู้รับประทาน อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ภัตตสัมมทะ (๔๒) [๘๖๐] เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน ความไม่คล่องแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความ ทดถอย ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่จิตท้อถอย นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๔๓) [๘๖๑] กุหนา เป็นไฉน ความหลอกลวงด้วยการเสพปัจจัย ความหลอกลวงด้วยการกระซิบในที่ใกล้ หรือการวางท่าทางอิริยาบถ๑- กิริยาที่วางท่าทางอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี การปั้นสีหน้า ภาวะที่ปั้นสีหน้า ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่ หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความ อยากครอบงำ นี้เรียกว่า กุหนา (๔๔) [๘๖๒] ลปนา เป็นไฉน การทักทายผู้อื่น การพูดแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง การพูดยกย่องให้สูงขึ้นทุกส่วน การพูดเอาใจคนอื่น การพูดเอาใจคนอื่นบ่อยๆ การพูดแนะนำ การพูดแนะนำบ่อยๆ การพูดยกย่องเพื่อต้องการจะให้เขารัก การ พูดทำตนให้ต่ำลง การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้ มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า ลปนา (๔๕) [๘๖๓] เนมิตติกตา เป็นไฉน การทำนิมิต๒- ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวข้องด้วยปัจจัย การ พูดเป็นเลศนัย การพูดเลียบเคียงชนเหล่าอื่น ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า เนมิตติกตา (๔๖) @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อิริยาบถ” หมายถึงอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๑/๕๒๑) @ คำว่า “ทำนิมิต” ในที่นี้หมายถึงความฉลาดในการกระทำทางกายและวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน @(อภิ.วิ.อ. ๘๖๓/๕๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

[๘๖๔] นิปเปสิกตา เป็นไฉน การด่า การพูดข่ม การพูดนินทา การพูดตำหนิโทษ การพูดตำหนิโทษหนัก ขึ้น การพูดเหยียดหยาม การพูดเหยียดหยามให้หนักยิ่งขึ้น การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องเที่ยวไปประจาน การพูดสรรเสริญ ต่อหน้านินทาลับหลัง๑- ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า นิปเปสิกตา (๔๗) [๘๖๕] ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา เป็นไฉน ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก ครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น หรือที่ได้จากข้างโน้นไปให้ข้างนี้ การแสวงหา การเสาะแสวงหา การเสาะแสวงหาบ่อยๆ กิริยาที่แสวงหา กิริยา ที่เสาะแสวงหา กิริยาที่เสาะแสวงหาบ่อยๆ ซึ่งอามิสด้วยอามิส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา (๔๘) [๘๖๖] ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความ เป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดย ปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน การเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา (๔๙) [๘๖๗] ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดย โคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือ @เชิงอรรถ : @ คำบาลีว่า “ปรปิฏฺฐิมํสิกตา” อรรถกถาขยายความว่า “ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา” @ต่อหน้าพูดจาอ่อนหวาน ลับหลังพูดนินทา ติเตียน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๔/๕๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความ ทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา (๕๐) [๘๖๘] ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่น กิริยาที่ดูหมิ่น ภาวะที่ดูหมิ่น ความเกลียดตน ความเกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่า ต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อย กว่าเขา (๕๑) [๘๖๙] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตัวว่าเลิศกว่าคน อื่นๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๒) [๘๗๐] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับ คนอื่นๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

[๘๗๑] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่า ด้อยกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะ ที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๔) [๘๗๒] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่าง ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๕) [๘๗๓] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่าง ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขา อาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๖) [๘๗๔] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะ ที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๗) [๘๗๕] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือ ตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๘) [๘๗๖] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๙) [๘๗๗] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่น ตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะ ที่เกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะ เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๖๐) [๘๗๘] มานะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานะ (๖๑) [๘๗๙] อติมานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติมานะ (๖๒) [๘๘๐] มานาติมานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เบื้องต้นถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ ต่อมาถือตัวว่าเลิศ กว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็น บุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มานาติมานะ (๖๓) [๘๘๑] โอมานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความ เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะที่เกลียดตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความ ดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โอมานะ (๖๔) [๘๘๒] อธิมานะ เป็นไฉน ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญกิจที่ตนยังไม่ ได้ทำว่าทำแล้ว ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญ ธรรมที่ตน ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อธิมานะ (๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

[๘๘๓] อัสมิมานะ เป็นไฉน ความสำคัญว่าเราเป็นรูป ความพอใจว่าเราเป็นรูป ความเข้าใจว่าเราเป็นรูป ความสำคัญว่าเราเป็นเวทนา ฯลฯ เราเป็นสัญญา ฯลฯ เราเป็นสังขาร ฯลฯ เรา เป็นวิญญาณ ความพอใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความเข้าใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความ ถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชู ตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสมิมานะ (๖๖) [๘๘๔] มิจฉามานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ โดยศีล โดยพรต โดยศีล และพรต หรือโดยทิฏฐิ๑- อันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่ จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉามานะ (๖๗) [๘๘๕] ญาติวิตักกะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒- ปรารภ หมู่ญาติ นี้เรียกว่า ญาติวิตักกะ (๖๘) [๘๘๖] ชนปทวิตักกะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒- ปรารภ ชนบท นี้เรียกว่า ชนปทวิตักกะ (๖๙) [๘๘๗] อมรวิตักกะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒- ประกอบ ด้วยทุกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า อมรวิตักกะ (๗๐) @เชิงอรรถ : @ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ (อภิ.วิ.อ. ๘๘๔/๕๓๐) @ คำว่า “อาศัยเรือน” ในอรรถกถาขยายว่า ได้แก่กามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๘๘๕/๕๓๐-๕๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกนิทเทส

[๘๘๘] ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์มีความรื่นเริงร่วมกัน มี ความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวเขาสุขก็พลอยสุขด้วย ถึงคราวเขาทุกข์ก็พลอยทุกข์ ด้วย เมื่อเขามีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้นก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความ ตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑- ในเพราะการอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ นั้น นี้เรียกว่า ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๑) [๘๘๙] ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑- ปรารภ ลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๒) [๘๙๐] อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเราโดยเหตุอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความ เป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึกโดยอาการ ต่างๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑- ในเพราะความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นนั้น นี้เรียก ว่า อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๓)
เอกกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๔๖-๕๖๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=15434 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=66              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=11821&Z=12173&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=860              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]