ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส๑-
ปฐมวรรค
ว่าด้วยการประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๑๒๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ต้องการบุตร(แล้ว)จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑) คำว่า ทุกจำพวก ในคำว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก อธิบายว่า ทุกสิ่ง โดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง คำว่า ทุกจำพวก นี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ ไว้ทั้งหมด คำว่า ในสัตว์ ได้แก่ สัตว์ที่มักสะดุ้งและสัตว์ที่มั่นคง เรียกว่าสัตว์ คำว่า ผู้สะดุ้ง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ยังละตัณหาอันทำให้สะดุ้งไม่ได้ ยังละภัย และความหวาดกลัวไม่ได้ เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่าผู้สะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นยังสะดุ้ง คือ ครั่นคร้าม เกรงกลัว หวาดกลัว ถึงความสะดุ้ง เพราะ เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้สะดุ้ง คำว่า ผู้มั่นคง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่ละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว ละภัย และความหวาดกลัวได้แล้ว เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่าผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นไม่สะดุ้ง ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความสะดุ้ง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้มั่นคง @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๓๕-๗๕/๓๔๒-๓๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า โทษ ได้แก่ โทษ ๓ อย่าง คือ ๑. โทษทางกาย ๒. โทษทางวาจา ๓. โทษทางใจ กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโทษทางกาย วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโทษทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโทษทางใจ คำว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก อธิบายว่า ยก คือ ทิ้ง ปลง ปลด ทอดทิ้ง ระงับโทษในสัตว์ทุกจำพวก รวมความว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก คำว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น อธิบายว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้แต่ผู้เดียว ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา โซ่ตรวน หรือ เชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ทุกจำพวก ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา โซ่ตรวน หรือเชือก รวมความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น คำว่า ไม่ ในคำว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า เป็นคำปฏิเสธ คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก คำว่า สหาย อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไปการมาสบาย การ ยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนาสบาย การ เจรจาสบาย การสนทนาปราศรัยสบายกับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น เรียกว่า สหาย คำว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า อธิบายว่า ไม่ต้องการ คือ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังบุตรเลย พึงต้องการ คือ พึงยินดี พึงปรารถนา พึงมุ่งหมาย พึงมุ่งหวังมิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบหรือ สหายจากไหนเล่า รวมความว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจาก ไหนเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่า ละตัณหาได้ ท่านปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ไปถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณ ลำพังผู้เดียว จึงชื่อว่าผู้เดียว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัดความกังวลในการครองเรือนทั้งหมด ตัด ความกังวลด้วยบุตรและภรรยา ความกังวลด้วยญาติ ความกังวลด้วยการ สั่งสม ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสาวะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็น ผู้ไม่มีกังวล เป็นผู้เดียว ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่ง การบรรพชา เป็นอย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าไม่มีเพื่อน เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น บวชแล้วอย่างนี้ ใช้สอยเสนาสนะ ที่เป็นป่าทึบ และป่าละเมาะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของ ผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นตามลำพังผู้เดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ท่านไปผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว เดินหน้าผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ฉะนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าไม่มีเพื่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าละตัณหาได้ เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว (อุทิศกายและใจ)อยู่ ตั้งความเพียรมาก กำจัดมาร พร้อมทั้งเสนาผู้ชั่วร้ายซึ่งกีดกันมหาชนไม่ให้หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งตัณหาที่เป็นดุจตาข่าย ซ่านไป เกาะเกี่ยวในอารมณ์ บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น ภิกษุรู้โทษนี้แล้ว รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น มีสติสัมปชัญญะอยู่๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าละตัณหาได้ เป็นอย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละราคะ ได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโทสะได้แล้ว จึงชื่อ ว่าผู้เดียว ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโมหะได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละเหล่ากิเลสได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๙/๑๕, ๒๕๗/๓๗๔, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๕/๓๒๔, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๗-๕๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไปถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตรัสเรียกว่า ทางสายเอก (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เห็นธรรมอันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล รู้จักมรรคอันเป็นทางสายเอก ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไปถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณลำพังผู้เดียว จึง ชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร คือ ญาณในมรรคทั้ง ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า โพธิ ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ตรัสรู้ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี @เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๓๘๔/๑๔๖, ๔๐๙/๑๖๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” ตรัสรู้ว่า “เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ” ตรัสรู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้คือธรรมที่ ควรรู้ยิ่ง เหล่านี้คือธรรมที่ควรละ เหล่านี้คือธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง เหล่านี้คือ ธรรมที่ควรเจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้ง ผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้งมหาภูตรูป ๔” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตรัสรู้ว่า“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ ดับไปเป็นธรรมดา” อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควร ตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ บรรลุถูกต้อง ทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมดด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณลำพังผู้เดียว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยความประพฤติ ๘ อย่าง
คำว่า พึงประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่ ๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ ๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ ๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค ๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ อายตนะภายนอกอย่างละ ๖ คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔ คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔ คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔ คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔ คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน ความ ประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความ ไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณ มีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความ ประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบาง ส่วนเหล่านี้ คือ ความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ๒. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ ๓. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ ๔. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ๕. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา ๖. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ๗. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่าง นี้” ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ ๘. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่าย่อม ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา(ความประพฤติด้วยความเห็น) ๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา(ความประพฤติด้วย การปลูกฝังความดำริ) ๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา(ความประพฤติการกำหนด สำรวมวจี ๔ อย่าง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วย ความหมั่น) ๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา(ความประพฤติด้วยความ ผ่องแผ้ว) ๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา(ความประพฤติด้วยการ ประคองความเพียร) ๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วยการ เข้าไปตั้งสติ) ๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา(ความประพฤติด้วยความ ไม่ฟุ้งซ่าน) เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด ย่อมมีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนนอแรดนั้น คือ เช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น รสเค็มจัด คนพูดกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัด พูดกันว่าเหมือนดี รสหวานจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำผึ้ง ร้อนจัด พูดกันว่าเหมือนไฟ เย็นจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำแข็ง ปริมาณน้ำมีมาก พูดกันว่าเหมือนทะเล พระสาวกผู้บรรลุอภิญญาและพละอันยิ่ง ใหญ่ พูดกันว่า เหมือนพระศาสดา ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น เหมือน นอแรดนั้น เป็นเช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น ในข้อนั้น เป็นผู้เดียว คือ ไม่มีเพื่อน พ้นจากเครื่องผูกพัน ย่อมประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปโดยชอบ ในโลก รวมความว่า จึงประพฤติ อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๒) คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า คำว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ ๑. ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น ๒. ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ เห็นสตรีหรือกุมารี ผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อม ด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ครั้นพบเห็นแล้ว ย่อมแยกถือว่า ผมงาม หน้างาม นัยน์ตางาม หูงาม จมูกงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม ปากงาม คองาม นมงาม อกงาม ท้องงาม เอวงาม ขาอ่อนงาม แข้งงาม มืองาม เท้างาม นิ้วงาม เล็บงาม คือ ครั้นพบเห็นแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพัน ด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ได้ยินว่า “ในหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น มีสตรี หรือ กุมารี รูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อมด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง” ครั้น ได้ยิน ได้ฟังแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ความรักด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ ว่าเป็นของเราด้วยสัดส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความ ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริง เห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า เพราะความ เกี่ยวข้อง เพราะการเห็นเป็นปัจจัย และเพราะความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยินเป็น ปัจจัย ความรักด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิย่อมมี คือ มีขึ้น เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ รวมความว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มี ความเกี่ยวข้อง คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก อธิบายว่า คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไป อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิด ภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับบุคคลนั้นได้ จึงทูลแสดงแก่พระ ราชาว่า “ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว ขอจงทรงลงอาญาตามที่ทรงพระราช ประสงค์แก่บุคคลนี้เถิด” พระราชาย่อมทรงบริภาษบุคคลนั้น เพราะการบริภาษเป็น ปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัสบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสนี้ของเขาเกิดจาก อะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้จองจำบุคคลนั้นด้วยเครื่อง จองจำคือขื่อคาบ้าง เครื่องจองจำคือเชือกบ้าง เครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง เครื่อง จองจำคือหวายบ้าง เครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง เครื่องจองจำคือคุกบ้าง เครื่อง จองจำคือเรือนจำบ้าง เครื่องจองจำคือหมู่บ้านบ้าง เครื่องจองจำคือนิคมบ้าง เครื่อง จองจำคือเมืองบ้าง เครื่องจองจำคือรัฐบ้าง เครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดยที่สุด ทรงมีพระราชโองการว่า “พวกมันออกไปจากที่นี่ไม่ได้” บุคคลนั้นย่อมเสวยทุกข์และ โทมนัส เพราะถูกจองจำเป็นปัจจัยบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิด มาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความ เพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจ ความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้ปรับทรัพย์ของเขา ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ บ้าง บุคคลนั้นก็เสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการหมด เปลืองทรัพย์เป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็น ปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยเพียงเท่านั้น ทรงรับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการ ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือ บ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและ จมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุด ไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบ หนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอวทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยว หนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือ ไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง บุคคล นั้นย่อมเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการลงโทษเป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และ โทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรม ของตน พวกนายนิรยบาล ก็ลงโทษ มีการจองจำ ๕ อย่าง คือ ๑. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่มือขวา ๒. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่มือซ้าย ๓. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่เท้าขวา ๔. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่เท้าซ้าย ๕. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนาอย่างเผ็ดร้อนในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาป กรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็น ปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พวกนายนิรยบาลให้เขานอนลงแล้วถากด้วยผึ่ง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลจับ เขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน พวกนายนิรยบาลจับเขาเทียมรถแล่นกลับ ไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง พวกนายนิรยบาล บังคับเขาขึ้นลง ภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชนโชติช่วงบ้าง พวกนายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ โชติช่วง เขาถูกต้มเดือดจน ตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางคราวลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวย ทุกขเวทนากล้าอย่างหนักเผ็ดร้อนในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบ เท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมา จากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย
ว่าด้วยนรก
พวกนายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑- มหานรกอันน่าสยดสยอง แผดเผาสัตว์ให้มีทุกข์ ร้ายแรง มีเปลวไฟ เข้าใกล้ได้ยาก น่าขนลุก น่าพรั่นพรึง น่ากลัว น่าเป็นทุกข์ มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันออก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันตก มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันตก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันออก @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๒๕๐/๒๑๗-๒๑๘, ๒๖๗/๒๓๖, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, อภิ.ก. ๓๗/๘๖๘/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านใต้ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านเหนือ มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านเหนือ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านใต้ กองไฟที่น่าสะพรึงกลัว ผุดขึ้นมาจากเบื้องล่าง แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลุกท่วม) ติดหลังคา กองไฟที่น่าสะพรึงกลัว ลุกขึ้นมาจากหลังคา แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลามลง) กระทบถึงพื้น อเวจีมหานรก ทั้งข้างล่าง ข้างบน ด้านข้าง ก็เหมือนกับแผ่นเหล็กที่ถูกไฟเผาลน เร่าร้อนโชติช่วงอยู่เสมอ สัตว์ทั้งหลายที่หยาบช้ามาก ทำกรรมร้ายแรงมากเสมอ เป็นผู้มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว มอดไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย ร่างกายของสัตว์ที่อยู่ในนรกเหล่านั้น เหมือนกับไฟที่ไหม้อยู่ ขอเธอจงดูความมั่นคงของกรรมเถิด ไม่มีเถ้าและเขม่าเลย สัตว์นรกทั้งหลายวิ่งไปทางตะวันออก จากตะวันออกนั้น ก็วิ่งไปทางตะวันตก วิ่งไปทางเหนือ จากทางเหนือนั้น ก็วิ่งไปทางด้านใต้ วิ่งไปยังทิศใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์เหล่านั้น มีความหวังจะออกไป จึงเที่ยวแสวงหาทางออกอยู่เสมอ สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะออกไปจากมหานรกนั้น เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะสัตว์เหล่านั้นทำกรรมชั่วร้ายไว้มาก ยังให้ผลไม่หมดสิ้น๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๐-๔๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย ทุกข์ของสัตว์นรกก็ดี ทุกข์ของสัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดรัจฉานก็ดี ทุกข์ของสัตว์ ที่เกิดในเปตวิสัยก็ดี ทุกข์ของมนุษย์ก็ดี เกิดมาจากอะไร คือ เกิดขึ้นมาจากไหน บังเกิดมาจากไหน บังเกิดขึ้นมาจากไหน ปรากฏมาจากไหน ความกลัวนี้ ย่อมมี มีขึ้น เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย รวมความว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตาม ความรัก คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก อธิบายว่า คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก อธิบายว่า เราเมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นโทษอันเกิดจากความรัก คือ ความรัก ด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษ อันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในหน้า ๔๐๒-๔๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓) คำว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำ ประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ อธิบายว่า คำว่า มิตร ได้แก่ มิตร ๒ จำพวก คือ ๑. อาคาริกมิตร ๒. อนาคาริกมิตร อาคาริกมิตร เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก สละสิ่งที่สละได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทนสิ่งที่ทนได้ยาก บอกความลับแก่เพื่อน ปกปิดความลับของเพื่อน ไม่ทอดทิ้งใน คราวมีอันตราย แม้ชีวิตก็สละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ เมื่อเพื่อนสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ไม่ดูหมิ่น นี้ชื่อว่าอาคาริกมิตร อนาคาริกมิตร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นที่รัก พอใจ เป็นที่เคารพ ควรยกย่อง พูดเป็น ทนฟังถ้อยคำได้ กล่าวถ้อยคำได้ลึกซึ้ง และไม่ชักนำไปในเรื่องไม่สมควร ชักชวน (ให้บำเพ็ญ)ในทางอธิสีล ชักชวนให้หมั่นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ชักชวนให้หมั่นเจริญ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่าอนาคาริกมิตร คำว่า สหายผู้ใจดี อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไปการมา สบาย การยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนา สบาย การเจรจาสบาย การสนทนาปราศัยสบายกับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น เรียกว่า สหายผู้ใจดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี... ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อม ไปได้ อธิบายว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์ คือ อุดหนุน เกื้อกูลมิตร คนใจดี เพื่อน ที่เห็นกันมา เพื่อนที่คบกันมาและสหาย ย่อมทำให้ประโยชน์ตนเสื่อมไปบ้าง ย่อม ทำให้ประโยชน์ผู้อื่นเสื่อมไปบ้าง ย่อมทำให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเสื่อมไปบ้าง ย่อม ทำให้ประโยชน์ในปัจจุบันเสื่อมไปบ้าง ย่อมทำให้ประโยชน์ในภพหน้าเสื่อมไปบ้าง ย่อมทำให้ประโยชน์อย่างยิ่งเสื่อมไปบ้าง คือ ให้เสียไป ให้สิ้นไป ให้เสื่อมเสีย สูญหาย สูญหายไป รวมความว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี ... ย่อม ทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ คำว่า มีใจผูกพัน อธิบายว่า บุคคลมีใจผูกพันด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อวางตนต่ำวางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน ๒. เมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน บุคคลเมื่อวางตนต่ำ วางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่อาตมภาพ อาตมภาพอาศัย พวกท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คนเหล่าอื่น อาศัยพวกท่าน เห็นกับพวกท่าน จึงเข้าใจที่จะให้ หรือจะทำแก่อาตมภาพ ชื่อและ สกุลเก่าของมารดาบิดาของอาตมภาพสูญหายไปหมดแล้ว พวกท่านทำให้อาตมภาพ เป็นที่รู้จักว่า “อาตมภาพ เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำ ตระกูลของอุบาสิกาโน้น” ดังนี้ เมื่อวางตนต่ำ วางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็น อย่างนี้ บุคคลเมื่อวางตนสูง วางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า อาตมภาพมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัย อาตมภาพแล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์เป็น ที่พึ่ง เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท เว้นขาด จากสุราเมรัยอันเป็นของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อาตมภาพบอก อุทเทส(บาลี)บ้าง ปริปุจฉา(อรรถกถา)บ้าง ศีลบ้าง อุโบสถบ้าง แก่พวกท่าน อาตมภาพอธิษฐานนวกรรม(ตั้งใจทำการก่อสร้าง) เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านยังทอด ทิ้งอาตมภาพไป สักการะ เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น เมื่อวางตนสูง วางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยภัย
คำว่า ภัย ในคำว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย อัตตานุวาทภัย(ภัยเกิดจาก การติเตียนตน) ปรานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการติเตียนของผู้อื่น) ทัณฑภัย(ภัยจาก อาชญา) ทุคติภัย(ภัยในทุคติ) อูมิภัย(ภัยจากคลื่น) กุมภีลภัย(ภัยจากจระเข้) อาวัฏฏภัย(ภัยจากน้ำวน) สุงสุมารภัย(ภัยจากปลาร้าย) อาชีวิกภัย(ภัยจากการ หาเลี้ยงชีพ) อสิโลกภัย(ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง) ปริสสารัชชภัย(ภัยจากความ ครั่นคร้ามในชุมชน) มทนภัย(ภัยจากความมัวเมา) เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความสะดุ้ง คำว่า ความเชยชิด ได้แก่ ความเชยชิด ๒ อย่าง คือ (๑) ความเชยชิดด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความเชยชิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเชยชิดด้วย อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเชยชิดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด อธิบายว่า เมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาภัยในความเชยชิดนี้ รวมความว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นใน ความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ- เจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๒๔] (พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า) กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑, และข้อ ๑๒๒/๔๐๒-๔๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยตัณหา
คำว่า กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด อธิบายว่า พุ่มต้นไผ่ เรียกว่า กอไผ่ ในพุ่มต้นไผ่ ย่อมมีหนามจากกอเก่า ยุ่ง คือ รก เกี่ยว ข้อง เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันกัน ฉันใด ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยัง สัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคะนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังใน ทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบ บ่อยๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความ ละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่ อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยา ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ๑- รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ๒- โยคะ๓- @เชิงอรรถ : @ ตัณหานิโรธ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ @ โอฆะ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ @ โยคะ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คันถะ๑- อุปาทาน๒- อาวรณ์๓- นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย๔- ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ที่อาศัยแห่งมาร โคจรแห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจข่าย ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะขยายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้น แผ่ไป ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส @เชิงอรรถ : @ คันถะ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ @ อุปาทาน ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๑ @ อาวรณ์ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๑ @ อนุสัย ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา รวม ความว่า กอไผ่กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด คำว่า บุตร ในคำว่า ความห่วงใยในบุตรและทาระก็กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก ภริยา เรียกว่า ทาระ ตัณหาเรียกว่า ความห่วงใย ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า ความห่วงใยในบุตรและทาระก็กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น คำว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ อธิบายว่า พุ่มต้นไผ่เรียกว่า กอไผ่ เหมือนหน่ออ่อนในกอไผ่ ไม่ข้อง ไม่เกาะติด ไม่ถูกผูกมัด ไม่พัวพัน โผล่ออก สลัดออก ผุดพ้นขึ้นได้ คำว่า เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ (๑) ความเกี่ยวข้องด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความข้องด้วยอำนาจ ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ เกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่ เกี่ยวข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ... อดีต อนาคต ปัจจุบัน ... ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พัวพัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ไม่สยบ คือ ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากความ เกี่ยวข้อง) อยู่ รวมความว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๒๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (๕) คำว่า เนื้อ ในคำว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ ตามความพอใจ ฉันใด ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ (๑) เนื้อทราย (๒) เนื้อสมัน เนื้ออยู่ในป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ฉันใด สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจาก วิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุ(ปัญญาจักษุ)ของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจาก สมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือเป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง เพราะปีติหมดสิ้นไป ภิกษุมีแต่อุเบกขา สติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขทางกายอยู่ บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือเป็นผู้ที่มารใจบาป มองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เรา เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจ บาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ อากิญจัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “นี้สงบ นี้ประณีต” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯลฯ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะ ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย เป็นผู้ข้ามตัณหา ที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ย่อมวางใจเดิน ยืน นั่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

นอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่ได้พบมารใจบาป๑-” รวมความว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด คำว่า วิญญู ในคำว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี ได้แก่ วิญญู คือ บัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาเห็นแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า ชน ได้แก่ ผู้ข้อง มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์ผู้เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ความเสรี ได้แก่ ความเสรี ๒ อย่าง คือ ๑. ธรรมเสรี ๒. บุคคลเสรี ธรรมเสรี เป็นอย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่าธรรมเสรี บุคคลเสรี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเสรี นี้เรียกว่า บุคคลเสรี คำว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี อธิบายว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี รวมความว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๒๘๗/๒๕๐-๒๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากันในเรื่องที่อยู่ เรื่องการดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรี ที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากันในเรื่องที่อยู่ เรื่องการ ดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไปการมาสบาย การยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนาสบาย การเจรจาสบาย การสนทนาปราศรัยสบายกับชนเหล่าใด ชน เหล่านั้น เรียกว่า สหาย คำว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากันในเรื่องที่อยู่ เรื่องการ ดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก อธิบายว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมี การปรึกษาเพื่อประโยชน์ตน การปรึกษาเพื่อประโยชน์คนอื่น การปรึกษาเพื่อ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย การปรึกษาเพื่อประโยชน์ในภพปัจจุบัน การปรึกษาเพื่อ ประโยชน์ในภพหน้า การปรึกษาเพื่อประโยชน์ชั้นยอดเยี่ยม ในเรื่องที่อยู่บ้าง เรื่องการดำรงตนบ้าง เรื่องการไปบ้าง เรื่องการเที่ยวจาริกบ้าง รวมความว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากันในเรื่องที่อยู่ เรื่องการดำรงตน เรื่อง การไป เรื่องการเที่ยวจาริก คำว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรีที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง อธิบายว่า เรื่องที่พวกคนพาล อสัตบุรุษ พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ไม่มุ่งหวัง คือ เรื่องการปลงผม และการนุ่งห่มผ้ากาสาวะ (ส่วน)เรื่องที่บัณฑิต สัตบุรุษ พุทธสาวก พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า มุ่งหวัง คือ เรื่องการปลงผมและการ นุ่งห่มผ้ากาสาวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ความเสรี ได้แก่ ความเสรี ๒ อย่าง คือ ๑. ธรรมเสรี ๒. บุคคลเสรี ธรรมเสรี เป็นอย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า ธรรมเสรี๑- บุคคลเสรี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเสรีนี้ เรียกว่า บุคคลเสรี คำว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรีที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง อธิบายว่า บุคคลเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาธรรมอันให้ถึง ความเสรีอยู่ รวมความว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรี ที่พวก คนพาลไม่มุ่งหวัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากันในเรื่องที่อยู่ เรื่องการดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรี ที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๒๗] (พระปัจจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์ บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๗) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๕/๔๑๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง
คำว่า การเล่น ในคำว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี ได้แก่ การเล่น ๒ อย่าง คือ ๑. การเล่นทางกาย ๒. การเล่นทางวาจา การเล่นทางกาย เป็นอย่างไร คือ คนย่อมเล่นกีฬาบังคับช้าง เล่นกีฬาบังคับม้า เล่นรถ เล่นธนู เล่น หมากรุกแถวละ ๘ ตา หรือเล่นหมากแถวละ ๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ เล่นสะกา เล่นเป่า ใบไม้ เล่นไถเล็กๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็กๆ เล่น ธนูเล็กๆ เล่นเขียนทาย เล่นทายใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย การเล่นทางวาจา เป็นอย่างไร คือ การทำเสียงกลองด้วยปาก ทำเสียงพิณพาทย์ด้วยปาก เล่นรัวกลองด้วย ปาก ผิวปาก กะเดาะปาก เป่าปาก ซ้อมเพลง โห่ร้อง ขับร้อง เล่นตลก นี้ชื่อว่าการ เล่นทางวาจา คำว่า ความยินดี อธิบายว่า คำว่า ความยินดี เป็นชื่อเรียกความไม่ เบื่อหน่าย คำว่า ในท่ามกลางสหาย อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไป การมาสบาย การยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนาสบาย การเจรจาสบาย การสนทนาปราศรัยสบายกับชนเหล่าใด ชน เหล่านั้น เรียกว่า สหาย คำว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี อธิบายว่า การเล่น และความยินดี ก็มีอยู่ในท่ามกลางสหาย รวมความว่า ในท่ามกลางสหายย่อมมี การเล่น มีความยินดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์ อธิบายว่า คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก คำว่า และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์ อธิบายว่า ความรักที่น้อม ไปในบุตรก็มีอยู่ รวมความว่า และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์
ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก
คำว่า บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก อธิบายว่า สิ่งเป็น ที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ที่เป็นที่รัก (๒) สังขารที่เป็นที่รัก สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิต สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าชอบใจ สังขาร เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก คำว่า บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก อธิบายว่า บุคคล เมื่อรังเกียจ คือ อึดอัด เบื่อหน่ายความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก รวมความว่า บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์ บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่ขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) คำว่า ทั้ง ๔ ทิศ ในคำว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า แผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่ขัดเคือง อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศ ๒ ฯลฯ ทิศ ๓ ฯลฯ ทิศ ๔ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศ ๒ ฯลฯ ทิศ ๓ ฯลฯ ทิศ ๔ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่๑- คำว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่ขัดเคือง อธิบายว่า เพราะพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญเมตตา เหล่าสัตว์ในทิศตะวันออก ก็ไม่เป็น ที่เกลียดชัง เหล่าสัตว์ในทิศตะวันตก ทิศใต้ ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเณย์) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ(พายัพ) ทิศตะวันตกเฉียงใต้(หรดี) ทิศตะวันออก เฉียงเหนือ(อีสาน) ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน เหล่าสัตว์ในทิศใหญ่ ทิศน้อย ก็ไม่เป็น ที่เกลียดชัง เพราะพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญกรุณา ฯลฯ เพราะพระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญมุทิตา ฯลฯ เพราะพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญอุเบกขา เหล่าสัตว์ในทิศตะวันออกก็ไม่เป็นที่เกลียดชัง ฯลฯ เหล่าสัตว์ในทิศใหญ่ทิศน้อย ก็ไม่เป็นที่เกลียดชัง รวมความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่ขัดเคือง @เชิงอรรถ : @ ที.สี. (แปล) ๙/๕๕๖/๒๔๔-๒๔๕, ที.ปา. ๑๑/๗๑/๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้๑- อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี ตามได้๒- ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตาม ได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วยจีวรนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้เรียก ได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ แสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง สลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ท่าน จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ แสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง สลัดออก ใช้สอยอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ท่าน จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น @เชิงอรรถ : @ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ หมายถึงยินดีจีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาจีวรเนื้อหยาบ เนื้อละเอียด @เศร้าหมอง ประณีต คงทน และเก่าเป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๑๒๘/๑๑๗) @ ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ หมายถึงยินดีจีวรตามที่ได้ (ยถาลาภสันโดษ) ยินดีตามกำลัง (ยถาพล @สันโดษ) ยินดีจีวรตามสมควร (ยถาสารุปปสันโดษ) แม้บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร @ก็เหมือนกัน (ขุ.จู.อ. ๑๒๘/๑๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความ สันโดษด้วยเสนาสนะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัช- บริขารตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัย เภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง สลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี ตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า รวมความว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
คำว่า อันตราย ในคำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคหวัด โรคไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่ เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ พากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก สัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ คำว่า อันตราย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมายอย่างไร ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม ชื่อว่า อันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างไร คือ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้น ที่ชื่อว่าอันตรายเพราะครอบงำ เป็นอย่างนี้ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ เพื่อความเสื่อมไปแห่ง กุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมอะไรบ้าง อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ เพื่อความเสื่อมไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม อินทรีย์ทั้ง ๖ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ ความ หมั่นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความหมั่นเจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ความหมั่นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างนี้ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลกรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างไร คือ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย เปรียบเหมือนสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู สัตว์ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ สัตว์ที่อาศัย ป่าย่อมอยู่ในป่า สัตว์ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่บนต้นไม้ ฉันใด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก๑- ผู้ มีอาจารย์๒- ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก ผู้มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอันเตวาสิก บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้มีอาจารย์” อีกนัยหนึ่ง บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงทางหู ฯลฯ เพราะได้กลิ่นทางจมูก ฯลฯ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ เพราะได้รับสัมผัสทางกาย ฯลฯ เพราะรู้ธรรมารมณ์ ทางใจ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้มีอันเตวาสิก” บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น @เชิงอรรถ : @ อันเตวาสิก ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๕๑-๑๕๒/๕๕) @ อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่ฟุ้งขึ้น (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๕๑-๑๕๒/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น๑- เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ภิกษุผู้มี อันเตวาสิก ผู้มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย อย่างนี้แล ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นมลทินภายใน
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ เหล่านี้ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน ธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ ๑. โลภะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน ๒. โทสะ ฯลฯ ๓. โมหะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็น มลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็น ข้าศึกภายใน (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า) โลภะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเป็นภัยที่เกิดภายใน คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น คนโลภไม่รู้จักผล คนโลภไม่รู้จักเหตุ ความโลภครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๕๑/๑๘๔-๑๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

โทสะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โทสะทำให้จิตกำเริบ โทสะเป็นภัยที่เกิดภายใน คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น คนโกรธไม่รู้จักผล คนโกรธไม่รู้จักเหตุ ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น โมหะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โมหะทำให้จิตกำเริบ โมหะเป็นภัยที่เกิดภายใน คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น คนหลงไม่รู้จักผล คนหลงไม่รู้จักเหตุ ความหลงครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น๑- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิด ขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อ ความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ ๑. โลภธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ๒. โทสธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน ฯลฯ ๓. โมหธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก @เชิงอรรถ : @ ขุ.อิติ. ๒๕/๘๘/๓๐๕, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า) โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นต้นเหตุ ความไม่ยินดีกุศลธรรม ความยินดีกามคุณ ซึ่งทำให้ขนลุก เกิดจากอัตภาพนี้ บาปวิตก๒- ในใจ เกิดขึ้นจากอัตภาพนี้ ย่อมผูกใจคนไว้ เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น๓- ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพนี้ เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย อธิบายว่า ครอบงำ คือ ทำให้ยินยอม ท่วมทับ บีบคั้น กำจัดอันตรายทั้งหลาย รวมความว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย คำว่า ไม่หวาดเสียว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ขลาด คือ ไม่ หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพอง สยองเกล้า อยู่ รวมความว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่ขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๑๓/๘๔-๘๕, ขุ.อิติ. ๒๕/๕๐/๒๗๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๒๑ @ บาปวิตก คือ ความตรึกเกี่ยวกับเรื่องบาป ความคิดในเรื่องบาป @ สํ.ส. ๑๕/๒๓๗/๒๕๐, ขุ.สุ. ๒๕/๒๗๔/๓๘๗, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และคฤหัสถ์ที่กำลังครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก บุคคลพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตร พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙) คำว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง ... สงเคราะห์ได้ยาก อธิบายว่า แม้ บรรพชิตบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่ออุปัชฌาย์อาจารย์กำลังให้นิสัย ให้อุทเทส (บาลี) ให้ปริปุจฉา(อรรถกถา) ให้จีวร ให้บาตร ให้ภาชนะโลหะ ให้ธมกรก๑- ให้ผ้ากรองน้ำ ให้ลูกดาน ให้รองเท้า ให้ประคตเอว ก็ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้ง ใจเพื่อจะรู้ ไม่รับฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติขัดขืน เบือนหน้าไปทางอื่น รวมความว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง ... สงเคราะห์ได้ยาก คำว่า และคฤหัสถ์ที่กำลังครองเรือน อธิบายว่า แม้คฤหัสถ์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อเขาให้ช้าง... รถ... นา... ที่ดิน... เงิน... ทอง... บ้าน... นิคม... เมือง... รัฐ... ชนบท ก็ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ ไม่รับฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติขัดขืน เบือนหน้าไปทางอื่น รวมความว่า และคฤหัสถ์ที่กำลังครอง เรือน คำว่า บุคคลพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตร อธิบายว่า คนทุก จำพวก ยกเว้นตนเสีย ชื่อว่าคนอื่นและบุตร ในข้อความนี้ อธิบายว่า บุคคลพึง เป็นผู้ขวนขวายน้อย คือ ไม่ใฝ่ใจ ไม่ห่วงใยในผู้อื่นและบุตรเหล่านั้น รวมความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตร พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และคฤหัสถ์ที่กำลังครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก บุคคลพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตร พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ ธมกรก คือ กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอยอย่างหนึ่งในอัฐบริขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๓๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้กล้าหาญ ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) คำว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า... ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ผม หนวด ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่องแต่งตัว เครื่องประดับ ผ้า ผ้าห่ม ผ้าโพก ผ้านุ่ง เครื่องอบ เครื่องอาบน้ำ เครื่องนวด คันฉ่อง(กระจก) ยาหยอดตา พวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ แป้งผัดหน้า สีทาปาก กำไลมือ เครื่อง ผูกมวยผม ไม้เท้า นาฬิกา ดาบ ร่ม รองเท้าสวยงาม กรอบหน้า ตาบเพชร (เครื่องประดับข้อมือ) พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้าชายยาว ดังนี้เป็นตัวอย่าง ท่านเรียกว่า เครื่องหมายคฤหัสถ์ คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ได้แก่ ปลง คือ ปลด ทอดทิ้ง ระงับ เครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว คำว่า เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว อธิบายว่า ใบต้นทองหลาง ขาด ร่วงหล่น คือ ตก ตกกระจายแล้ว ฉันใด เครื่องหมายคฤหัสถ์ของ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ขาด คือ ร่วงหล่น ตก ตกกระจายแล้ว ฉันนั้น รวมความว่า เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว คำว่า ผู้กล้าหาญ ในคำว่า ผู้กล้าหาญ ... ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีวิริยะ จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองอาจ จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าสามารถ จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล้าหาญ จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก้าวไปข้างหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าหมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้ ก้าวล่วงทุกข์ในนรก อยู่ด้วยความเพียร มีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง เรียกได้ว่า เป็นอย่างนั้น บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง และวัตถุที่น่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า เครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ คำว่า ผู้กล้าหาญ ... ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้กล้าหาญ ตัด คือ ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้ หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ รวมความว่า ผู้กล้าหาญ ... ตัดเครื่อง ผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วย เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้กล้าหาญ ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ปฐมวรรค จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ทุติยวรรค

[๑๓๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น (๑) คำว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน อธิบายว่า ถ้าบุคคลพึงได้ คือ พึงได้รับ สมหวัง ประสบสหายผู้มีปัญญารักษาตน คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส รวมความว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน คำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ ในคำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็น นักปราชญ์ ได้แก่ เที่ยวไปร่วมกันได้ คำว่า เป็นสาธุวิหารี อธิบายว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วย กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี วิญญาณัญจายตน- สมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยนิโรธสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วย ผลสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส รวม ความว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ ฯลฯ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่ อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง๑- คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีอันตรายทั้งปวงได้แล้ว รวมความว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว คำว่า พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น พึงมีใจแช่มชื่น คือ มีใจยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจสูง ปลาบปลื้มใจ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป กับสหายผู้มีปัญญารักษาตนนั้น คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีสติ คือ ประกอบ ด้วยสติอันเป็นปัญญารักษาตน ระลึก ตามระลึกถึงกรรมที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้ รวมความว่า พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น [๑๓๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่พระองค์เดียว ฉะนั้น (๒) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๘/๔๒๔-๔๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน อธิบายว่า ถ้าบุคคล ไม่พึงได้ คือ ไม่พึงได้รับ ไม่พึงสมหวัง ไม่พึงประสบสหายผู้มีปัญญารักษาตน คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มี ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา รักษาตน คำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ ในคำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็น นักปราชญ์ ได้แก่ เที่ยวไปร่วมกันได้ คำว่า เป็นสาธุวิหารี อธิบายว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วย นิโรธสมาบัติ ด้วยผลสมาบัติชื่อว่าสาธุวิหารี๑- คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวม ความว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ คำว่า เหมือนพระราชา ทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ พระองค์เดียว ฉะนั้น อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตัดความกังวลในการครอง เรือนได้ทั้งหมด ความกังวลด้วยบุตรและภรรยา ความกังวลด้วยญาติ ความกังวล ด้วยมิตรและอำมาตย์แล้ว ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวลแล้ว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปรูปเดียว เหมือนกษัตริย์ ผู้ได้รับ มุรธาภิเษกเป็นพระราชา ชนะสงคราม กำราบปัจจามิตร ได้รับอธิปไตย มีพระคลัง บริบูรณ์แล้ว ทรงสละแคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง และพระนครที่มีเงิน ทองมากมาย ทรงปลงพระเกสาและพระมัสสุแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวะ เสด็จ ออกผนวชจากพระราชวังเป็นบรรพชิต ทรงเข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล ทรง ประพฤติอยู่ คือ ประทับอยู่ ทรงเปลี่ยนอิริยาบถ ทรงเป็นไป ทรงรักษาพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังพระองค์เดียว ฉะนั้น รวมความว่า เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้น ที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่พระองค์เดียว ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๓๑/๔๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว ฉะนั้น [๑๓๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓) คำว่า โดยแท้ ในคำว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ นี้เป็นคำกล่าว นัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าว โดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำ กล่าวโดยไม่ผิด คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า สหายสัมปทา อธิบายว่า สหายผู้เพียบพร้อมด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยวิมุตติ- ขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ เรียกว่า สหายสัมปทา คำว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ อธิบายว่า เราสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณสหายสัมปทา รวมความว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทา โดยแท้ คำว่า บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน อธิบายว่า สหาย ผู้ประเสริฐด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สหายผู้เสมอกัน คือผู้เช่นเดียวกัน จึงควรคบหา คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควรไต่ถาม ควรสอบถาม รวมความว่า บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยบุคคลผู้บริโภคปัจจัยที่มีโทษและไม่มีโทษ
คำว่า ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษแล้ว อธิบายว่า บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษก็มี ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษก็มี บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้แล้ว ได้รับแล้ว ได้เฉพาะแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้วซึ่งปัจจัย เลี้ยงชีพด้วยการโกหก ด้วยการพูดเลียบเคียง ด้วยการทำนิมิต ด้วยการกำจัดคุณเขา ด้วยการต่อลาภด้วยลาภ ด้วยการให้ไม้ ด้วยการให้ไม้ไผ่ ด้วยการให้ใบไม้ ด้วยการให้ดอกไม้ ด้วยการให้ผลไม้ ด้วยการให้น้ำอาบ ด้วยการ ให้แป้งจุรณ์ ด้วยการให้ดินสอพอง ด้วยการให้ไม้สีฟัน ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารู้จักตน ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว ด้วยกิริยาประจบ ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา ด้วยวิชาดูพื้นที่ ด้วยเดรัจฉานวิชา ด้วยวิชาทำนายลักษณะ อวัยวะ ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม ด้วยการเดินทำหน้าที่ทูต ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้ ด้วยการเดินสื่อสาร ด้วยเวชกรรม ด้วยนวกรรม ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทน ก้อนข้าว ด้วยการให้และการเพิ่มให้ โดยมิชอบ ไม่ยุติธรรม นี้เรียกว่า บุคคลผู้ บริโภคปัจจัยอันมีโทษ บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้แล้ว ได้รับแล้ว ได้เฉพาะแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้วซึ่งปัจจัย เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม โดยยุติธรรม มิใช่ด้วยการโกหก มิใช่ ด้วยการพูดเลียบเคียง มิใช่ด้วยการทำนิมิต มิใช่ด้วยการกำจัดคุณเขา มิใช่ด้วยการ ต่อลาภด้วยลาภ มิใช่ด้วยการให้ไม้ มิใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ด้วยการให้น้ำอาบ มิใช่ด้วยการให้ แป้งจุรณ์ มิใช่ด้วยการให้ดินสอพอง มิใช่ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ด้วยการให้น้ำ บ้วนปาก มิใช่ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารู้จักตน มิใช่ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว มิใช่ด้วยกิริยาประจบ มิใช่ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา มิใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ด้วย เดรัจฉานวิชา มิใช่ด้วยวิชาทำนายลักษณะอวัยวะ มิใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ด้วย การเดินทำหน้าที่ทูต มิใช่ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้ มิใช่ด้วยการเดินสื่อสาร มิใช่ ด้วยเวชกรรม มิใช่ด้วยนวกรรม มิใช่ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทนก้อนข้าว มิใช่ด้วย การให้และการเพิ่มให้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ อธิบายว่า บุคคลไม่ได้แล้ว คือ ไม่ได้รับแล้ว ไม่ได้สมหวังแล้ว ไม่ได้ประสบแล้ว ไม่ได้เฉพาะ แล้วซึ่งสหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษเถิด รวมความว่า ถ้าบุคคล ไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด(หรือ)ผู้เสมอกัน ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๓๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลเห็นกำไลทอง ๒ วง อันสุกปลั่ง ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี กระทบกันอยู่ที่ข้อมือแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) คำว่า บุคคลเห็นกำไลทอง ... อันสุกปลั่ง อธิบายว่า บุคคลเห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คำว่า ทอง ได้แก่ ทองคำ คำว่า อันสุกปลั่ง ได้แก่ บริสุทธิ์ สะอาด รวมความว่า บุคคลเห็นกำไลทอง ... อันสุกปลั่ง คำว่า ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี อธิบายว่า คนทำทอง เรียกว่า ช่างทอง คำว่า ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี อธิบายว่า ที่ช่างทองทำสำเร็จแล้วอย่างดี คือ ที่ทำแล้วอย่างดี ที่ขัดเงาดีแล้ว รวมความว่า ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี คำว่า ๒ วง ...กระทบกันอยู่ที่ข้อมือ อธิบายว่า มือเรียกว่า ข้อมือ กำไล ๒ วง ย่อมกระทบกันอยู่ที่มือข้างหนึ่ง ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นย่อม กระทบกระทั่งกันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ เบียดเสียดในนรก กำเนิด เดรัจฉาน เปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก คือ สืบต่อ สืบสานคติด้วยคติ อุปบัติ ด้วยอุปบัติ ปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ภพด้วยภพ สงสารด้วยสงสาร วัฏฏะด้วยวัฏฏะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เมื่อสืบสาน ก็ย่อมประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ๒ วง ... กระทบกันอยู่ที่ข้อมือ จึงประพฤติอยู่ ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า บุคคลเห็นกำไลทอง ๒ วง อันสุกปลั่ง ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี กระทบกันอยู่ที่ข้อมือแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๓๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๕) คำว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ... กับเพื่อน พึงมีแก่เรา อธิบายว่า ตัณหาเป็น เพื่อนก็มี บุคคลเป็นเพื่อนก็มี ตัณหาเป็นเพื่อน เป็นอย่างไร คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา ผู้ใดยังละตัณหานี้ไม่ได้ ผู้นั้นเรียกว่า ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏ ที่มีความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น๑- ตัณหาเป็นเพื่อน เป็นอย่างนี้ บุคคลเป็นเพื่อน เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ มิใช่เพราะเหตุที่เป็นประโยชน์ มิใช่เพราะมีเหตุการณ์ เป็นบุคคลที่ ๒ ของคนผู้เดียว เป็นที่ ๓ ของบุคคล ๒ คน @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๙/๑๕, ๒๕๗/๓๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

หรือเป็นที่ ๔ ของบุคคล ๓ คน พูดเรื่องเพ้อเจ้อมากมายในที่นั้น คือ พูดเรื่อง พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง ยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคน กล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม อย่างนั้นอย่างนี้ บุคคลเป็นเพื่อนที่สอง เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ... กับเพื่อนพึงมีแก่เรา คำว่า การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน อธิบายว่า เดรัจฉาน- กถา๑- ๓๒ เรียกว่า การกล่าววาจา คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่อง ความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้นอย่างนี้ คำว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ (๑) ความเกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- รวมความว่า การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย อัตตานุวาทภัย ปรานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย อูมิภัย กุมภีลภัย อาวัฏฏภัย สุงสุมารภัย๓- อาชีวิกภัย อสิโลกภัย ปริสสารัชชภัย มทนภัย เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความ สะดุ้ง คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป อธิบายว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นภัยนี้ต่อไป รวมความว่า เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ @ถกเถียงสนทนากัน (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔) @ เทียบกับความในข้อ ๑๒๔/๔๑๔ @ ดูคำแปลจากข้อ ๑๒๓/๔๑๑, องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๑๙-๑๒๒/๑๘๑-๑๘๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๓๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า กาม ในคำว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า สวยงาม อธิบายว่า มีรูปชนิดต่างๆ มีเสียงชนิดต่างๆ มีกลิ่นชนิด ต่างๆ มีรสชนิดต่างๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่างๆ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด คำว่า มีรสอร่อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัส อันใด อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามคุณอันเป็นสุขที่เกิดแต่การมี เพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน มิใช่สุขของพระอริยะ เรากล่าวว่า “ไม่ควรเสพ ไม่ควร คบหา ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้”๑- รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย คำว่า น่ารื่นเริงใจ อธิบายว่า คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น กามย่อมล่อ ใจให้ยินดี ชื่นชม พอใจ รื่นเริง รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรส อร่อย น่ารื่นเริงใจ คำว่า ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ อธิบายว่า ย่อมยั่วยวน คือ ล่อให้จิตพอใจ ให้ร่าเริง ให้รื่นเริง ด้วยรูปชนิดต่างๆ ฯลฯ โผฏฐัพพะชนิดต่างๆ รวมความว่า ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ
ว่าด้วยโทษแห่งกามคุณ
คำว่า เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกาม เป็นอย่างไร กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วย การมีศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนน การคำนวณ การนับจำนวน การไถ การค้าขาย การเลี้ยงโค การยิงธนู การรับราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใด อย่างหนึ่ง อดทนต่อความหนาว ตรากตรำต่อความร้อน หวาดกลัวแต่สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน และตายลงด้วยความหิวกระหาย แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเค้า มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น ย่อมไม่สัมฤทธิ์ผล เขาเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหลว่า “ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลเลย” แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า เป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น ย่อมสัมฤทธิผล เขากลับเสวยทุกข์โทมนัส มีเหตุมาจากการรักษาโภคสมบัติเหล่านั้น ว่า “ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลาย จะไม่พึงริบโภคสมบัติทั้งหลายของเรา พวกโจร จะไม่พึงลักไป ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึง แย่งไป” เมื่อกุลบุตรนั้นรักษา คุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลายริบโภคสมบัติ นั้นไปก็ดี พวกโจรปล้นเอาไปก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปก็ดี ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก แย่งเอาไปก็ดี เขาเศร้าโศก ฯลฯ ถึงความหลงใหลว่า“สิ่งใดเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้น ก็ไม่เป็นของเรา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกอง ทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเหตุเกิด เกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล อีกนัยหนึ่ง (โทษแห่งกามทั้งหลาย) มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง พวกพระราชาทรงวิวาทกับ พวกพระราชาก็ได้ พวกกษัตริย์วิวาทกับพวกกษัตริย์ก็ได้ พวกพราหมณ์วิวาทกับ พวกพราหมณ์ก็ได้ พวกคหบดีวิวาทกับพวกคหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้อง ชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ สหาย วิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้น ถึงการทะเลาะ แก่งแย่งและวิวาทกันในที่นั้น ทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ถึงความตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง (โทษแห่งกามทั้งหลาย) มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาด ลูกศรแล้ว วิ่งเข้าสู่สงครามปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอก ไปบ้าง กวัดแกว่งดาบฟันบ้าง ชนเหล่านั้นถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง โดนหอกแทงบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะ พวกเขาตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า เป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกาม เป็นต้นเค้า มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล อีกนัยหนึ่ง (โทษแห่งกามทั้งหลาย) มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาด ลูกศรแล้ว วิ่งเข้าสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง กวัดแกว่งดาบฟันบ้าง ชนเหล่านั้นถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง โดนหอก แทงบ้าง ถูกรดด้วยมูลโคร้อนบ้าง ถูกสับด้วยคราดบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง พวกเขาตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล อีกนัยหนึ่ง (โทษแห่งกามทั้งหลาย) มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมย ยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พระ ราชาก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยน ด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัด ศีรษะบ้าง พวกเขาตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษ แห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล อีกนัยหนึ่ง (โทษแห่งกามทั้งหลาย) มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจี- ทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็น เหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล๑- คำว่า เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณาทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษในกามคุณ รวมความว่า เราเห็นโทษ ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๓๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจลูกศร และเป็นภัย เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๗) คำว่า คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจ ลูกศร และเป็นภัย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย คำว่า ภัย เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ทุกข์ เป็นชื่อของกาม ทั้งหลาย คำว่า โรค เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ฝี เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ความข้อง เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า เปือกตม เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า การอยู่ในครรภ์ นี้ เป็นชื่อของ กามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๑๖๗-๑๖๙/๑๒๙-๑๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะเหตุไร คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกามทั้งหลาย เพราะบุคคลนี้ยินดีใน กามราคะ ถูกฉันทราคะผูกพันไว้ ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้ที่เป็นไปในภพปัจจุบัน และไม่พ้นไปจากภัยแม้ที่เป็นไปในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ทั้งหลาย เพราะเหตุไร คำว่า ทุกข์ ... คำว่า โรค ... คำว่า ฝี ... คำว่า ลูกศร ... คำว่า ความข้อง ... คำว่า เปือกตม ... คำว่า การอยู่ในครรภ์ ... นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ทั้งหลาย เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ ถูกฉันทราคะผูกพันไว้ ย่อมไม่พ้นไปจาก ครรภ์แม้ที่เป็นไปในภพปัจจุบัน และไม่พ้นไปจากครรภ์แม้ที่เป็นไปในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ทุกข์ คำว่า การอยู่ในครรภ์ นี้ จึงเป็นชื่อของกามทั้งหลาย ปุถุชนตกต่ำด้วยราคะอันน่ายินดี ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์อีก เพราะกามเหล่าใด กามเหล่านี้เรียกว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี ลูกศร ความข้อง เปือกตม และการเกิดในครรภ์ แต่เมื่อใด ภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ละสัมปชัญญะ เมื่อนั้น ภิกษุผู้เป็นเช่นนั้นก็ล่วงกามเป็นดุจทางลื่น ที่ข้ามได้ยาก มองเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่๑- รวมความว่า คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจ ลูกศร และเป็นภัย คำว่า เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งภัยนี้ในกามคุณ รวมความว่า เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจลูกศร และเป็นภัย เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๕๖/๒๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๓๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) คำว่า ความหนาว ในคำว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ กระหาย อธิบายว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ความหนาว ด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (๒) ความหนาวด้วยอำนาจฤดูภายนอก คำว่า ความร้อน อธิบายว่า ความร้อนย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ความร้อนด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (๒) ความร้อนด้วยอำนาจฤดูภายนอก ความหิวโหย เรียกว่า ความหิว ความกระหายน้ำ เรียกว่า ความกระหาย รวมความว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย คำว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน อธิบายว่า คำว่า ลม ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด ความร้อนจากดวงอาทิตย์ เรียกว่า แดด แมลงวันหัวเหลือง เรียกว่า เหลือบ งู เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน คำว่า เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ อธิบายว่า ครอบงำ คือ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีแล้ว รวมความว่า เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๓๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้ เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙) คำว่า ละทิ้งหมู่ ... เหมือนนาคะ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐเรียกว่า นาคะ แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ชื่อว่านาคะ เพราะเหตุไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึง ชื่อว่านาคะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ กลับมาหา พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างไร คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ตรัสเรียกว่า ความชั่ว (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า นาคะ๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๘/๔๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ๑- พระองค์ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจ ทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไป ด้วยอำนาจอนุสัย คือ ไม่ดำเนินไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรม ที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึงเป็นอย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างไร คือ กิเลสเหล่าใดพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างนี้ คำว่า เหมือนนาคะละทิ้งโขลงแล้ว อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น ละทิ้ง คือ ทอดทิ้ง ปล่อยทิ้งโขลงแล้ว ตัวเดียว เหยียบย่างเข้าไปในท่ามกลางป่าดง คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ละทิ้ง คือ ทอดทิ้ง ปล่อยทิ้งหมู่คณะแล้ว ประพฤติ อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด คือ ใช้สอยเสนาสนะ เป็นป่าทึบและป่าละเมาะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นตามลำพังผู้เดียว ท่านไปผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า เหมือนนาคะ ละทิ้ง โขลงแล้ว @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๒๗/๑๔๕-๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น มีขันธ์เกิดดีแล้ว คือ เป็นช้างสูง ๗ ศอกบ้าง สูง ๘ ศอกบ้าง ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็มีขันธ์เกิดดีแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ สมาธิ- ขันธ์อันเป็นอเสขะ ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ วิมุตติญาณ- ทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ฉันนั้น ช้างตัวประเสริฐนั้น ชื่อว่าปทุมี๑- ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ชื่อว่าปทุมี ฉันนั้น เพราะมีดอกบัวคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้แก่ ดอกบัวคือสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ช้างตัวประเสริฐนั้น ยิ่งใหญ่ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเร็ว ความกล้า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ฉันนั้น รวมความว่า มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ คำว่า อยู่ในป่าตามชอบใจได้ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น อยู่ในป่าตาม ชอบใจได้ ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็อยู่ในป่าตามชอบใจได้ ฉันนั้น คือ อยู่ในป่าตามชอบใจได้ด้วยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ฯลฯ ตติยฌานบ้าง ฯลฯ จตุตถฌานบ้าง เมตตาเจโตวิมุตติบ้าง กรุณาเจโตวิมุตติบ้าง ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ บ้าง ฯลฯ อุเปกขาเจโตวิมุตติบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญ- จายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ เนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ นิโรธสมาบัติบ้าง ฯลฯ อยู่ในป่าตามชอบใจได้ด้วย ผลสมาบัติบ้าง รวมความว่า อยู่ในป่าตามชอบใจได้ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ปทุมี ในที่นี้หมายถึง มีร่างกายเช่นดังดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างชื่อปทุม (ขุ.จู.อ. ๑๓๙/๑๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้ เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) คำว่า บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้ สำหรับบุคคล ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มี- พระภาคได้ตรัสไว้ว่า “อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ในคณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักเป็นผู้ได้ เนกขัมมสุข(สุขจากการหลีกออกบวช) ปวิเวกสุข(สุขจากความสงัด) อุปสมสุข(สุข จากความเข้าไปสงบ) สัมโพธิสุข(สุขจากการตรัสรู้) ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อานนท์ ข้อที่ภิกษุใดหลีกออกจากคณะ อยู่ ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้นพึงหวังเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข จักเป็นผู้ได้สุขนั้นตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบ เนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ในคณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติซึ่งเกิดขึ้นตาม สมัย อันน่ายินดี หรือ โลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ไปไม่ได้ อานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้น พึงหวัง คือ จักบรรลุเจโตวิมุตติ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้น ตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็นไปได้”๑- รวมความว่า บุคคลสัมผัส วิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลผู้ยินดีการคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ คำว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์แล้ว อธิบายว่า พระสุริยะเรียกว่า พระอาทิตย์ พระสุริยะนั้นเป็น พระโคดมโดยพระโคตร แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นพระโคดมโดยพระโคตร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ คือ เป็นเผ่าพันธุ์โดย โคตรพระอาทิตย์ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ อาทิตย์ คำว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์แล้ว อธิบายว่า ฟัง คือ สดับ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดถ้อยคำ คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ รวมความว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ทุติยวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๑๘๖/๑๖๐, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๐/๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตติยวรรค
[๑๔๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า)ประพฤติล่วงทิฏฐิ อันเป็นเสี้ยนหนาม ถึงนิยาม ได้เฉพาะมรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑) คำว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า)ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม อธิบายว่า สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เรียกว่า ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการ แนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมองเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีรูป เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป ย่อมมองเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณโดยความ เป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือ ขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่เป็นความจริง ว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม คำว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่ ประพฤติล่วง คือ ก้าวพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม รวมความว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม คำว่า ถึงนิยาม ได้เฉพาะมรรคแล้ว อธิบายว่า มรรค ๔ เรียกว่า นิยาม ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค ๔ ประการ ชื่อว่าถึง นิยาม คือ ถึง ถึงพร้อม บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้ง รวมความว่า ถึงนิยาม คำว่า ได้เฉพาะมรรคแล้ว อธิบายว่า ได้มรรคแล้ว ได้เฉพาะมรรคแล้ว คือ บรรลุ ถูกต้อง ทำมรรคให้แจ้งแล้ว รวมความว่า ถึงนิยาม ได้เฉพาะมรรคแล้ว คำว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ อธิบายว่า ญาณ เกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น คือ ญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว คำว่า ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่ให้ใคร แนะนำ คือ ไม่ต้องมีใครทำให้เชื่อ ไม่ต้องมีใครเป็นปัจจัย ถึงญาณไม่เกี่ยวข้อง กับผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงลืม รู้ตัว มีสติตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ เป็นผู้ไม่หลงลืม รู้ตัว มีสติตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า เป็นผู้มี ญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ประพฤติล่วงทิฏฐิ อันเป็นเสี้ยนหนาม ถึงนิยาม ได้เฉพาะมรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๔๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ (กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ในโลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๒) คำว่า เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความโลภ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- ตัณหา คือความโลภนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิด ขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่โลภ
ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง
คำว่า ไม่หลอกลวง อธิบายว่า ความหลอกลวง ๓ อย่าง คืออ ๑. ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย ๒. ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ ๓. ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย เป็นอย่างไร คือ คหบดีทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุ ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก ครอบงำ มีความต้องการจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้น จึงบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เธอพูดอย่างนี้ว่า “จีวรที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะ ควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด เอามาทำ สังฆาฏิใช้ จึงจะเป็นการเหมาะสม บิณฑบาตที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยวแสวงหา จึงจะเป็นการเหมาะสม เสนาสนะที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควร อยู่ที่โคนไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่กลางแจ้ง จึงจะเป็นการเหมาะสม คิลานปัจจัย- เภสัชบริขารที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควรทำยาด้วยน้ำมูตรเน่า หรือชิ้นลูกสมอ จึงจะเป็นการเหมาะสม เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้นนั้น เธอจึงครองจีวรเศร้าหมอง ฉันบิณฑบาต เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะซอมซ่อ ใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ คหบดี ทั้งหลายรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “สมณะรูปนี้ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดขัดเกลา” ก็ยิ่งนิมนต์เธอให้ รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากยิ่งขึ้น เธอจึงพูด อย่างนี้ว่า “เพราะพรั่งพร้อมด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบ บุญมาก คือ เพราะพรั่งพร้อมด้วยศรัทธา ... เพราะพรั่งพร้อมด้วยไทยธรรม ... เพราะพรั่งพร้อมด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมนี้ก็มีอยู่พร้อม ทั้งอาตมภาพก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมภาพไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไปเสีย อาตมภาพมิได้มีความต้องการ ด้วยปัจจัยนี้ แต่จักรับเพื่ออนุเคราะห์พวกท่าน” เพราะอาศัยเหตุนั้น เธอจึงรับจีวร มากมาย รับบิณฑบาตมากมาย รับเสนาสนะมากมาย รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มากมาย การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะ ที่หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำทีเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน เหมือนภิกษุมีสมาธิยืน เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง เหมือนภิกษุมีสมาธินอน เป็นเหมือนภิกษุเจริญฌานอวด ต่อหน้า การตั้งท่า การวางท่า การดำรงมั่นอิริยาบถ การทำหน้านิ่ว การทำคิ้ว ขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้” จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า “ภิกษุผู้ทรงจีวรมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมี ศักดิ์ใหญ่ ผู้ใช้บาตร ใช้ภาชนะโลหะ ใช้ธมกรก ใช้ผ้ากรองน้ำ ใช้ลูกกุญแจ ใช้รองเท้า ใช้ประคดเอว ใช้สายโยกบาตร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า “ภิกษุผู้มีอุปัชฌาย์ระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ มีอาจารย์ระดับนี้ ฯลฯ มีผู้ร่วม อุปัชฌาย์ระดับนี้ ฯลฯ มีผู้ร่วมอาจารย์ระดับนี้ ฯลฯ มีมิตร ฯลฯ มีพรรคพวก ฯลฯ มีคนที่คบหากัน ฯลฯ มีสหายระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า “ภิกษุผู้อยู่ ในวิหารมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ ฯลฯ อยู่ในเรือนมีหลังคาด้านเดียว มีรูปแบบอย่างนี้ ฯลฯ อยู่ในปราสาท ฯลฯ อยู่ในเรือนโล้น ฯลฯ อยู่ในถ้ำ ฯลฯ อยู่ในที่หลีกเร้น ฯลฯ อยู่ในกุฎี ฯลฯ อยู่ในเรือนยอด ฯลฯ อยู่ที่ป้อม ฯลฯ อยู่ใน โรงกลม ฯลฯ อยู่ในเรือนพัก ฯลฯ อยู่ในเรือนรับรอง ฯลฯ อยู่ในมณฑป ฯลฯ อยู่ ที่โคนไม้ มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด โกหกหลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เป็นผู้ได้รับยกย่องด้วยการวางหน้าว่า “สมณะนี้ได้วิหาร- สมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันเกี่ยวเนื่องด้วย โลกุตตรธรรม และสุญญตนิพพาน อันลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียดอ่อน ปิดบัง การทำ หน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวงเห็น ปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความหลอกลวง ๓ อย่างเหล่านี้ได้แล้ว คือ ตัดขาด ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าไม่หลอกลวง คำว่า ไม่กระหาย อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความกระหาย ได้แก่ ความ กำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตัณหาคือความกระหายนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าไม่กระหาย รวมความว่า เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย คำว่า ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว อธิบายว่า คำว่า ความลบหลู่ ได้แก่ ความลบหลู่ คือ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความแข็งกระด้าง กรรมคือความแข็งกระด้าง คำว่า กสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากสาวะ โทสะ ชื่อว่า กสาวะ โมหะ ชื่อว่ากสาวะ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากสาวะ คำว่า โมหะ ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ใน ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความ ไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดย ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความ ลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ข่ายคืออวิชชา บ่วงคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ๑- ความลบหลู่ กสาวะ และโมหะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นคายเสียแล้ว ทิ้ง กำจัดได้แล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม)และโมหะได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๐๖๗/๒๗๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความ มุ่งหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง ในเทวโลก ทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ไม่มีความมุ่งหวัง คือ ไม่มีตัณหา ไม่มีความกระหายในโลกทั้งปวง รวมความว่า ไม่มีความมุ่งหวังใน โลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ในโลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย และผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓)
ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐
คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว อธิบายว่า ที่เรียกว่าสหายชั่ว คือ สหายผู้ประกอบ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ๑. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ๒. การบูชาไม่มีผล @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

๓. การบวงสรวงไม่มีผล ๔. กรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ไม่ดีไม่มี ๕. โลกนี้ไม่มี ๖. โลกหน้าไม่มี ๗. มารดาไม่มี ๘. บิดาไม่มี ๙. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี ๑๐. สมณพราหมณ์ที่ดำเนินตนชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก หน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี นี้ชื่อว่าสหายชั่ว คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว ได้แก่ พึงละ คือ พึงละเว้นสหายชั่ว รวมความว่า พึงละเว้นสหายชั่ว คำว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด อธิบายว่า ที่เรียกว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ คือ สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ๑. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ๒. การบูชาไม่มีผล ฯลฯ ๑๐. ผู้ทำให้แจ้งในโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี นี้ชื่อว่าผู้ไม่เห็นประโยชน์ คำว่า ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด อธิบายว่า ผู้ตั้งมั่นอยู่ในกายกรรมที่ผิด ตั้งมั่นอยู่ในวจีกรรมที่ผิด ตั้งมั่นในมโนกรรมที่ผิด ในปาณาติบาต ในอทินนาทาน ใน กาเมสุมิจฉาจาร ในมุสาวาท ในปิสุณาวาจา ในผรุสวาจา ในสัมผัปปลาปะ ใน อภิชฌา ในพยาบาท ในมิจฉาทิฏฐิ ในสังขาร ในกามคุณ ๕ ในนิวรณ์ ๕ คือ ตั้งอยู่ ด้วยดี ข้อง ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจไปในนิวรณ์ รวมความว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ขวนขวาย ในคำว่า ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง อธิบายว่า บุคคลใดแสวงหา ค้นหา เสาะหากาม ประพฤติในกามนั้น มากในกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไป ในกามนั้น มีกามนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม บุคคลใดแสวงหารูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ แสวงหาเสียงด้วยอำนาจตัณหา แสวงหากลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อ ว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม บุคคลใดได้รูปด้วยอำนาจตัณหา ได้เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักใน กามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม บุคคลใดบริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา บริโภคเสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักใน กามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจ ไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม ผู้ก่อการทะเลาะ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทะเลาะ ผู้ทำงาน ชื่อว่าผู้ขวนขวาย ในงาน ผู้เที่ยวไปในโคจร ชื่อว่าผู้ขวนขวายในโคจร ผู้มีปกติเพ่ง ก็ชื่อว่าผู้ขวนขวาย ในฌาน ฉันใด บุคคลใดแสวงหา ค้นหา เสาะหากาม ประพฤติในกามคุณนั้น มากในกามคุณ นั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปในกามคุณนั้น โน้มไปในกาม คุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ ขวนขวายในกาม บุคคลใดแสวงหารูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ บุคคลใดได้รูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ บุคคลใดบริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา ประพฤติใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

กามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปใน กามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้น คำว่า ประมาท อธิบายว่า ควรกล่าวเรื่องความประมาท ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ การทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความประมาท คำว่า ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง อธิบายว่า ไม่พึง คบคนผู้ขวนขวายและไม่พึงคบคนผู้ประมาทด้วยตนเอง ได้แก่ ไม่พึงคบ ไม่พึงเสพ เป็นนิจ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่ควรเสพรอบ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติ เอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึงสมาทานประพฤติด้วยตนเอง รวมความว่า ไม่พึงคบคนผู้ ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุ นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย และผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) คำว่า ผู้เป็นพหูสูต ในคำว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า มิตร ผู้เป็นพหูสูต (ผู้ได้ยินได้ฟังมาก) ทรงจำสิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วได้ สั่งสมสิ่งที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ คือ ธรรมเหล่าใด ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมที่เขาเล่าเรียนมามาก ทรงจำ ไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดชัดเจนตามทฤษฎี คำว่า ทรงธรรม ได้แก่ ทรงธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ คำว่า พึงคบ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า พึงคบ คือ พึงคบหา เสพ เสพเป็นนิจ พึงซ่องเสพ เสพเฉพาะมิตรผู้เป็นพหูสูต และผู้ทรงธรรม รวมความว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม คำว่า มิตร... ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ อธิบายว่า มิตร ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
ว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ ได้แก่ บุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๒. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๓. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้) ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ เพราะปริยัติ บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา) เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า มิตร ... ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ คำว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย อธิบายว่า รู้จัก คือ รู้ยิ่ง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์อย่างยิ่ง พึงกำจัด ได้แก่ พึงขจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความสงสัยอีก รวมความว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความ สงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ใส่ใจ งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า การเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก อธิบายว่า คำว่า การเล่น ได้แก่ การเล่น ๒ อย่าง คือ (๑) การเล่นทางกาย (๒) การเล่นทางวาจา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่น ทางวาจา๑- คำว่า ความยินดี อธิบายว่า คำว่า ความยินดี นี้ เป็นชื่อของความไม่เบื่อหน่าย คำว่า กามสุข อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดแล อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามอันเป็นสุข๒- คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า การเล่น ความยินดี และ กามสุขในโลก คำว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ อธิบายว่า ไม่ชื่นชม คือ ไม่ใส่ใจ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก รวม ความว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๗/๔๒๐ @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการประดับตกแต่ง ๒ อย่าง
คำว่า การประดับตกแต่ง ในคำว่า งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง ได้แก่ การประดับตกแต่ง ๒ อย่าง คือ ๑. การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ ๒. การประดับตกแต่งของบรรพชิต การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ เป็นอย่างไร คือ การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การใช้เครื่องประดับ การใช้เครื่องแต่งตัว การนุ่งผ้าสวยงาม การ ประดับข้อมือ การโพกผ้าโพกศีรษะ การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก การทาเปลือกตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การเกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้พระขรรค์ การใช้ร่ม การสวมรองเท้าสวยงาม การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งผ้าขาว การนุ่งผ้าชายยาว นี้ชื่อว่าการประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ การประดับตกแต่งของบรรพชิต เป็นอย่างไร คือ การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่ง การประดับประดา การเล่นสนุกในการประดับ ความเพลิดเพลินในการประดับ ความปรารถนาการประดับ ความเป็นผู้ปรารถนาการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็นกิริยาที่ประดับร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ หรือบริขารอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่า การประดับตกแต่งของบรรพชิต คำว่า พูดคำจริง อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้พูดจริง ตั้งมั่น ในความสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก งด งดเว้น คือ เว้นขาดจากฐานะแห่งการประดับ ได้แก่ ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับ พูดคำ จริง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ใส่ใจ งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้ง บุตร ทาระ บิดา มารดา ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า บุตร ทาระ บิดา มารดา อธิบายว่า คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก ภริยา เรียกว่า ทาระ คำว่า บิดา ได้แก่ บุรุษผู้ให้กำเนิด คำว่า มารดา ได้แก่ สตรีผู้ให้กำเนิด รวมความว่า บุตร ทาระ บิดา มารดา คำว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง อธิบายว่า เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม เพชรตาแมว เรียกว่า ทรัพย์ ปุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ เรียกว่า ธัญชาติ ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้ ชื่อว่า ปุพพัณณชาติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เครื่องแกง ชื่อว่าอปรัณณชาติ คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ ๑. พวกพ้องโดยความเป็นญาติ ชื่อว่าพวกพ้อง ๒. พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๓. พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๔. พวกพ้องโดยศิลปะ ชื่อว่าพวกพ้อง รวมความว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง คำว่า กาม ในคำว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ละทิ้ง... และกาม ได้แก่ กำหนดรู้วัตถุกาม ละ กำจัด บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีกิเลสกามอีก คำว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว อธิบายว่า กิเลสเหล่าใด พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับ มาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด ท่านละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใด ท่านละได้แล้ว ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใด ท่านละได้ แล้วด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก รวมความว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้ง บุตร ทาระ บิดา มารดา ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๔๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๗) คำว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย อธิบายว่า คำว่า เครื่องข้อง เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คำว่า มีความสุขน้อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัส อันใดแล อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามคุณอันเป็นสุข๑- สุขนี้น้อย คือ เล็กน้อย หน่อยเดียว เลวทราม ลามก สกปรก รวมความว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย คำว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก อธิบายว่า กามทั้งหลาย พระผู้- มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มี โทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เปรียบเหมือนหลุ่มถ่านเพลิง เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนของที่ยืมมา เปรียบเหมือนผลไม้คาต้นเปรียบ @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เหมือนเขียงหั่นเนื้อ เปรียบเหมือนหอกหลาว เปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก ใน กามนี้มีความคับแค้นมาก มีโทษอย่างยิ่ง๑- รวมความว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว คำว่า ก้อนเหล็ก เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพัน ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความ สัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ว่า นี้เป็นคำเชื่อม บทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ผู้มีปัญญา ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสได้ คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว อธิบายว่า ผู้มีปัญญารู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า เป็นดุจขอเหล็ก เป็นดุจเบ็ด เป็นดุจเหยื่อ เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องพัวพัน รวม ความว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๖/๑๓๔, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง๑- คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความกระทบกระทั่งในใจ) ๓. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความสงสัย) ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือมั่นศีลพรต) ๗. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจปรารถนาในภพ) ๘. อิสสาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความริษยา) ๙. มัจฉริยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความตระหนี่) ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้) คำว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว อธิบายว่า ทะลาย ทำลาย คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งสังโยชน์ ๑๐ อย่าง รวมความว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว คำว่า เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย อธิบายว่า ข่ายที่ทำด้วยด้าย เรียกว่า ข่าย น้ำท่าเรียกว่า น้ำ ปลาเรียกว่า สัตว์น้ำ อธิบายว่า ปลาทำลาย ทำให้ขาด ทำให้ฉีก ทำให้พัง ทำให้ข่ายพังทะลายแล้ว แหวกว่าย อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปได้ ฉันใด ข่ายมี ๒ ชนิด คือ (๑) ข่ายตัณหา (๒) ข่ายทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ๒- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้องขัดในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และใน ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่ เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกมัดใจสัตว์ ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เป็นสังโยชน์ตามแนวอภิธรรม พึงดูรายละเอียดจาก @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๑๑๘/๒๘๕-๒๘๘ @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า เหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา อธิบายว่า ไฟเมื่อไหม้เชื้อ คือหญ้าและไม้ ไป ไม่กลับมา ฉันใด กิเลสเหล่าใดพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้ แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใดท่านละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใดท่านละได้แล้ว ด้วยอนาคามิมรรค กิเลสเหล่าใดท่านละได้แล้วด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนไฟ ไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙)
ว่าด้วยผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
คำว่า เป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงเป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน หรือการเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มองสตรี มองบุรุษ มอง ร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้รวบถือ เป็นผู้แยกถือ (อวัยวะส่วน ต่างๆ) ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาป- อกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่นกระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การแข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การรำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ ไม่ประกอบด้วย ความเป็นผู้มีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงไม่เป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน หรือการเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ระแวกบ้าน เดินทางไปตามถนนก็สำรวม ไม่เดิน มองช้าง ไม่มองม้า ไม่มองรถ ไม่มองพลเดินเท้า ไม่มองเด็กชาย ไม่มองเด็กหญิง ไม่มองสตรี ไม่มองบุรุษ ไม่มองร้านตลาด ไม่มองหน้ามุขเรือน ไม่มองสูง ไม่มองต่ำ ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากการขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึก แก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี ฯลฯ การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า เป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
ว่าด้วยผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีอธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน หรือการเที่ยวไปไม่มี จุดหมายแน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีก อุทยานหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุขในสังฆาราม มิใช่เพราะเหตุแห่งประโยชน์ มิใช่เพราะเหตุแห่งการกระทำ แต่ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ เดินจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง จากวิหารหนึ่ง ไปสู่อีกวิหารหนึ่ง จากเรือนหลังคาด้านเดียวแห่งหนึ่ง ไปสู่เรือนหลังด้านเดียวอีก แห่งหนึ่ง จากปราสาทหนึ่งไปสู่อีกปราสาทหนึ่ง จากเรือนโล้นหลังหนึ่งไปสู่เรือนโล้น อีกหลังหนึ่ง จากถ้ำหนึ่งไปสู่อีกถ้ำหนึ่ง จากที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งไปสู่ที่หลีกเร้นอีก แห่งหนึ่ง จากกุฏิหนึ่งไปสู่อีกกุฏิหนึ่ง จากเรือนยอดแห่งหนึ่งไปสู่เรือนยอดอีก แห่งหนึ่ง จากป้อมหนึ่งไปสู่อีกป้อมหนึ่ง จากปะรำหนึ่งไปสู่อีกปะรำหนึ่ง จากเรือน ที่พักแห่งหนึ่งไปสู่เรือนที่พักอีกแห่งหนึ่ง จากโรงเก็บของแห่งหนึ่งไปสู่โรงเก็บของอีก แห่งหนึ่ง จากโรงฉันแห่งหนึ่งไปสู่โรงฉันอีกแห่งหนึ่ง จากโรงกลมแห่งหนึ่งไปสู่โรง กลมอีกแห่งหนึ่ง จากโคนต้นไม้แห่งหนึ่งไปสู่โคนต้นไม้อีกแห่งหนึ่ง เดินไปที่ที่พวก ภิกษุนั่งกันอยู่ เป็นที่ ๒ ของภิกษุ ๑ รูป เป็นที่ ๓ ของภิกษุ ๒ รูป หรือเป็นที่ ๔ ของภิกษุ ๓ รูป ในที่นั้น พูดเรื่องเพ้อเจ้อมากมายในที่นั้น คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็น ผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุข มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ได้แก่ เป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีใน ความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบ ด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง๑- มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายใน ความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า เป็นผู้ไม่ สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คำว่า คุ้มครองอินทรีย์ ในคำว่า คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ @เชิงอรรถ : @ เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง หมายถึงภิกษุเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว เข้าไปยัง @เรือนว่างนั่งอยู่ตลอดคืนและวัน แม้บำเพ็ญอยู่ในปราสาทมีพื้นชั้นเดียวเป็นต้น ก็ชื่อว่าเพิ่มพูนเรือนว่างเหมือนกัน @(ขุ.ม.อ. ๑๖๐/๔๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำเอาได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วก็ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำเอาได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ รวมความว่า คุ้มครองอินทรีย์ คำว่า รักษาใจได้แล้ว ได้แก่ คุ้มครองใจ ชื่อว่ารักษาจิตได้แล้ว รวมความว่า คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว คำว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ในคำว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า สมจริงดังที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวไว้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักแสดง อวัสสุตปริยายสูตร๑- และอนวัสสุตปริยายสูตรแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจง ฟังเทศนานั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระมหา- โมคคัลลานะว่า “อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่ น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต อยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่ เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๓/๒๔๗-๒๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มี ปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็พึงได้ช่อง ได้อารมณ์๑- ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็พึงได้ช่อง ได้อารมณ์ เรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อ หรือเรือนที่สร้างด้วยหญ้าแห้งกรอบ ฝนรั่วรดได้ ถ้า แม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็พึงได้ช่อง ได้เชื้อ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิง ที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศใหนๆ ก็ตาม ไฟก็พึงได้ช่อง ได้เชื้อ แม้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางตา มารก็พึง ได้ช่อง ได้อารมณ์ ถ้าแม้เข้าไปหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็พึงได้ช่อง ได้อารมณ์ รูปครอบงำภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ได้ ภิกษุหาครอบงำรูปได้ไม่ เสียงครอบงำ ภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำเสียงได้ไม่ กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำกลิ่นได้ไม่ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำรสได้ไม่ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหา ครอบงำโผฏฐัพพะได้ไม่ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำธรรมารมณ์ ได้ไม่ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกครอบงำ คือถูกรูปครอบงำ ถูกเสียงครอบงำ ถูกกลิ่น ครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ และถูกธรรมารมณ์ครอบงำ (ถูกกิเลสเหล่านั้นครอบงำ) ธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้ เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งชาติ ชรา และ มรณะต่อไปครอบงำเธอแล้ว ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย ในรูปที่ไม่เป็นที่รัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่ เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทาง @เชิงอรรถ : @ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้ง มั่นกายคตาสติ และมีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความ เป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแก่เธอ ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วย กิเลสในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ แม้ถ้ามารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึง ได้อารมณ์ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ กูฏาคาร กูฏาคารศาลา หรือคารศาลา พอกดินหนา มีเครื่องฉาบทาเปียก ถ้า แม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่พึง ได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศ ตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศ เบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศใหนๆ ก็ตาม ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้น ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ภิกษุผู้มี ปกติอยู่อย่างนี้ ครอบงำรูปได้ รูปครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ เสียง ครอบงำภิกษุไม่ได้ ฯลฯ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ครอบงำ คือ ครอบงำรูปได้ ครอบงำเสียงได้ ครอบงำ กลิ่นได้ ครอบงำรสได้ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ ครอบงำธรรมารมณ์ได้ (ไม่ถูกกิเลส เหล่านั้นครอบงำ) เธอครอบงำธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่อีก มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็น อย่างนี้แล รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ แผดเผาไม่ได้ รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว ไม่ชุ่มด้วย กิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ผม หนวด ฯลฯ ผ้าชายยาว๑- เรียกว่า เครื่องหมายคฤหัสถ์ คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ปลง คือ ปลงลง ทิ้ง ระงับ เครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว รวมความว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ อธิบายว่า ต้นปาริฉัตร คือ ต้น ทองหลางนั้น มีใบหนาแน่น มีร่มเงาชิด ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ทรง บาตรและจีวรครบ ฉันนั้น รวมความว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ คำว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัด ความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยบุตรภรรยา ความกังวลด้วยญาติ ความกังวลด้วยมิตรและอำมาตย์ ความกังวลด้วยการสะสม ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกบวชจากเรือนเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๔๕/๔๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๑)
ว่าด้วยรส
คำว่า ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล อธิบายว่า คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รสจาก ดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย ของเย็น ของร้อน สมณพราหมณ์บางพวกยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารส เลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวง หารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารส หวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้ว ก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารส ไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รส ไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสไม่ฝาด ได้รสไม่ฝาดแล้วก็ แสวงหารสฝาด ได้รสเฝื่อนแล้วก็แสวงหารสไม่เฝื่อน ได้รสไม่เฝื่อนแล้วก็แสวงหารส เฝื่อน ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เหล่านั้นได้รสใดๆ แล้วก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้นๆ ยังแสวงหารสอื่นๆ ต่อไปอีก เป็นผู้ กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหา ในรสนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหารมิใช่เพื่อเล่น มิใช่ เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือกิน อาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้๑- เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรส มีใจ เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ทำความยินดีในรส คำว่า ไม่โลเล อธิบายว่า ตัณหา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒- เรียกว่า ความโลเล หรือ ความโลภ ตัณหาคือความโลเล ความโลภนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้เด็ดขาด แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าไม่โลเล รวมความว่า ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๙/๒๗๘-๒๗๙ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น ในคำว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอก อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเลี้ยงแต่ตนเท่านั้น ไม่เลี้ยงคนอื่น เราเรียกบุคคลผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น รู้จักตนฝึกฝนตนได้ ตั้งมั่นอยู่ในสารธรรม สิ้นอาสวะแล้ว ไร้ข้อบกพร่องนั้นว่าเป็นพราหมณ์๑- รวมความว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น คำว่า เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก อธิบายว่า เวลาเช้าพระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น ครองผ้าแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าหมู่บ้าน หรือนิคม เพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิตแล้ว ตั้งสติ สำรวมอินทรีย์ มีตาทอดลง สมบูรณ์ ด้วยอิริยาบถ เข้าออกจากตระกูลหนึ่งไปสู่ตระกูลหนึ่ง เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต รวม ความว่า ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก คำว่า มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ อธิบายว่า ภิกษุมีใจผูกพันด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อวางตนต่ำวางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน ๒. เมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน ภิกษุเมื่อวางตนต่ำวางผู้อื่นสูง เป็นผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่อาตมภาพ อาตมภาพอาศัย พวกท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คนเหล่าอื่น อาศัยพวกท่าน เห็นกับพวกท่าน จึงเข้าใจที่จะให้ หรือจะทำแก่อาตมภาพ ชื่อและ สกุลเก่าของมารดาบิดาของอาตมภาพสูญหายไปหมดแล้ว พวกท่านทำให้อาตมภาพ เป็นที่รู้จักว่า “อาตมภาพ เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำ ตระกูลของอุบาสิกาโน้น” ดังนี้ เมื่อวางตนต่ำ วางผู้อื่นสูง ชื่อว่าเป็นผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.อุ. ๒๕/๖/๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ภิกษุเมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ เป็นผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า อาตมภาพมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัย อาตมภาพแล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท เว้นขาด จากสุราเมรัยอันเป็นของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อาตมภาพบอก อุทเทสบ้าง ปริปุจฉาบ้าง อุโบสถบ้าง แก่พวกท่าน อาตมภาพอธิษฐานนวกรรม เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านยังทอดทิ้งอาตมภาพไปสักการะ เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น เมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่าผู้มีใจผูกพัน เป็นอย่างนี้ คำว่า มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจไม่ผูกพันด้วยกุลปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับตระกูล) คณปลิโพธ(ความกังวล เกี่ยวกับหมู่คณะ) อาวาสปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับอาวาส) จีวรปลิโพธ(ความกังวล เกี่ยวกับจีวร) ปิณฑบาตปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับบิณฑบาต) เสนาสนปลิโพธ (ความกังวลเกี่ยวกับเสนาสนะ) คิลานปัจจัยเภสัชบริขารปลิโพธ(ความกังวลเกี่ยวกับ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร) รวมความว่า มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ จึงประพฤติ อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่างๆ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ตติยวรรคจบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

จตุตถวรรค
[๑๕๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ ๕ อย่าง ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑)
ว่าด้วยนิวรณ์ ๕
คำว่า ละนิวรณ์ ๕ อย่าง อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความคิดปองร้าย) ... ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้า ในคุณธรรมคือความหดหู่และเซื่องซึม)... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ... วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความลังเลสงสัย) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ รวมความว่า ละนิวรณ์ ๕ อย่าง คำว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ราคะเป็นอุปกิเลส แห่งจิต โทสะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โมหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โกธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ฯลฯ อุปนาหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทเป็น อุปกิเลสแห่งจิต คำว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ขจัด คือ กำจัด ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอุปกิเลสแห่งจิตทั้งหมดได้แล้ว รวม ความว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่อิงอาศัย ในคำว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว อธิบายว่า การอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) การอาศัยด้วยอำนาจตัณหา (๒) การอาศัย ด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัย ด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๒-
ว่าด้วยความชัง
คำว่า ความชัง ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ คำว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นตัดความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ และความชัง ได้แล้ว คือ ตัดขาด ถอนขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ก็ไม่อาศัยตา ไม่อาศัยหู ฯลฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ได้แก่ ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและ ความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @๑-๒ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ ๕ อย่าง ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๒) คำว่า ละสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาและสติอันบริสุทธิ์อยู่ รวมความว่า ละสุข และทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว อธิบายว่า คำว่า อุเบกขา ได้แก่ อุเบกขา ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่ จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน คำว่า สมถะ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อุเบกขาและสมถะในจตุตถฌาน สะอาด คือ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว อธิบายว่า คือ ได้รับ ประสบ ได้เฉพาะแล้วซึ่งอุเบกขาในจตุตถฌานและสมถะ รวมความว่า ได้อุเบกขาและสมถะ อันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละสุข และทุกข์ โสมนัส และโทมนัสก่อนๆ ได้แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓) คำว่า ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง อธิบายว่า อมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่าประโยชน์อย่างยิ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตั้งความเพียรเพื่อบรรลุ คือ เพื่อได้ ได้เฉพาะ ถึง ถูกต้อง ทำให้แจ้งประโยชน์อย่างยิ่ง อยู่ ได้แก่ ลงแรง มีความบากบั่น มั่นคง เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม รวมความว่า ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
ว่าด้วยการตั้งความเพียรเพื่อบรรลุธรรม
คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันมิให้เกิดบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ปลูกฉันทะ ให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่ฟั่นเฟือน เจริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิต มุ่งมั่นว่า “เนื้อและเลือดใน ร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเถิด ผลใดพึง บรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร” แม้อย่าง นี้ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้ เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนกายนอน๑-” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุด พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุด พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ลุกจากที่นั่งนี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ลงจากที่จงกรมนี้ ไม่ออกจากวิหาร ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว ไม่ออกจากปราสาท ไม่ออก จากเรือนโล้น ไม่ออกจากถ้ำ ไม่ออกจากที่หลีกเร้น ไม่ออกจากกุฎี ไม่ออกจาก เรือนยอด ไม่ออกจากป้อม ไม่ออกจากโรงกลม ไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง ไม่ออกจากมณฑป ไม่ออกจากโคนไม้นี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมเช้าวันนี้เอง” แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๒๒๓/๓๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมในเที่ยงนี้... เย็นนี้... ก่อนภัต... หลังภัต... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม... ปัจฉิมยาม... ข้างแรม... ข้างขึ้น... ฤดูฝน... ฤดูหนาว... ฤดูร้อน... ปฐมวัย... มัชฌิมวัย... ปัจฉิมวัย นี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน คำว่า มีความพากเพียรมั่นคง ในคำว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึง เรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น สมาทานมั่นคง สมาทานแน่วแน่ในกุศลธรรม คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การจำแนกทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ ความเกื้อกูลมารดา ความเกื้อกูลบิดา ความ เกื้อกูลสมณะ ความเกื้อกูลพราหมณ์ ความเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล (และ) ในธรรมอันเป็นกุศลยิ่งอื่นๆ รวมความว่า มีความพากเพียรมั่นคง คำว่า เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรงกำลัง ความเพียร ความบากบั่นและปัญญา รวมความว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่ง จิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง มีฌาน ยินดีในฌาน หมั่นประกอบในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ ของตน รวมความว่า การหลีกเร้น คำว่า ไม่ละ... และฌาน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ละฌาน ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ท่านประกอบ ประกอบทั่ว ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อความ เกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น... เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น... เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แก่ ประกอบ ประกอบทั่ว ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น รวมความว่า ไม่ละ... และฌาน อย่างนี้บ้าง ๒. ท่านซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว... ทุติยฌานที่ เกิดขึ้นแล้ว... ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว... ท่านซ่องเสพ เจริญทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน ที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า ไม่ละ... และฌาน อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ไม่ละ การหลีกเร้นและฌาน คำว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ อธิบายว่า สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า ธรรม ธรรมสมควร เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติสมควร การปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความ เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติและสัมปชัญญะ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมสมควร คำว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในธรรมตลอดกาลเป็นนิจ คือ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตลอดกาลสืบเนื่องกัน ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาล ติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาล สืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต หลังภัต ตลอดปุริมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย รวมความว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ คำว่า พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว อธิบายว่า พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” พิจารณาเห็นโทษในภพแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๕) คำว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา อธิบายว่า ต้องการ ปรารถนา คือ ยินดี มุ่งหมาย มุ่งหวังความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ความสิ้นคติ ความสิ้นอุปบัติ ความสิ้นปฏิสนธิ ความสิ้นภพ ความสิ้นสังขาร ความสิ้นวัฏฏะ รวมความว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทำโดยเคารพ ทำติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปรารถนา ความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท คำว่า ไม่โง่เขลา ในคำว่า ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มี ปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า ไม่โง่เขลา คำว่า คงแก่เรียน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นพหูสูต ทรงจำ สิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ สั่งสมสิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ คือ ธรรมเหล่าใด ที่มี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมเห็น ปานนั้นเป็นธรรมที่ท่านเล่าเรียนมามาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ชัดเจนตามทฤษฎี รวมความว่า คงแก่เรียน คำว่า มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้มีสติ คือ เพียบพร้อม ด้วยสติและปัญญารักษาตนอย่างยอดเยี่ยม ระลึกได้ ตามระลึกถึงกรรมที่ทำ คำที่ พูดไว้นานแล้วได้ รวมความว่า ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ คำว่า ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า สังขาตธรรม ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- คำว่า ผู้มีสังขาตธรรม อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นผู้มีสังขาตธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม ได้แก่ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็น แจ้งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นรู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร วัฏฏะได้แล้ว อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นดำรงอยู่ในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุด แห่งธาตุ ในที่สุดแห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุปบัติ ในที่สุดแห่ง ปฏิสนธิ ในที่สุดแห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ในที่สุดแห่งสังขาร ดำรงอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงอยู่ในอัตภาพสุดท้าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ทรง ร่างกายสุดท้ายไว้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดมีภพนี้เป็นภพสุดท้าย มีการประชุมแห่งขันธ์นี้เป็นครั้งสุดท้าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าผู้มีสังขาตธรรม คำว่า ผู้แน่นอน อธิบายว่า อริยมรรค ๔ เรียกว่า นิยาม(ความแน่นอน) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยอริยมรรค ๔ จึงชื่อว่าผู้แน่นอน ได้แก่ บรรลุ ถึงพร้อม ถึง สัมผัส ทำให้แจ้งความแน่นอน ด้วยอริยมรรค จึงชื่อว่าผู้แน่นอน คำว่า มีความมุ่งมั่น อธิบายว่า วิริยะเรียกว่า ความมุ่งมั่น ได้แก่ การตั้ง ความเพียร การก้าวออก การก้าวไปข้างหน้า การย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะอันเป็นไปทางใจ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยความมุ่งมั่นนี้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ- เจ้านั้น จึงชื่อว่ามีความมุ่งมั่น รวมความว่า ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความ มุ่งมั่น จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๕๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีในเพราะเสียง ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทก- สะท้าน ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัย และความกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าในเพราะเสียงอยู่ ฉันนั้น รวม ความว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ คำว่า ลม ในคำว่า ไม่ติดข่ายเหมือนลม อธิบายว่า ลมตะวันออก ลม ตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด ข่ายทำด้วยด้ายเรียกว่า ข่าย ลมไม่ข้องขัด คือ ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พัวพันอยู่ที่ข่าย ฉันใด ข่ายมี ๒ ชนิด คือ ๑. ข่ายตัณหา ๒. ข่ายทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ๑- @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่ข้องขัดอยู่ ในรูป เสียง ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน เป็นผู้ออกแล้ว สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ติด ข่ายเหมือนลม คำว่า ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว อธิบายว่า ดอกบัว เรียกว่า บัว น้ำท่า เรียกว่า น้ำ ดอกบัวไม่เปียก คือ ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดด้วยน้ำ น้ำไม่เปียก ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดดอกบัว ฉันใด ความยึดติดมี ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึด ติดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๕๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (๗) คำว่า พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช มีเขี้ยวเป็นกำลัง คือ มีเขี้ยวเป็นอาวุธครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีสัตว์เดรัจฉานทุกจำพวก เป็นอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง คือ มีปัญญาเป็นอาวุธ ย่อม ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลผู้มีชีวิตทุกจำพวกด้วยปัญญา ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลังข่มขี่ครอบงำเนื้อ ทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด คำว่า ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช เข้าสู่ป่าลึก เป็นอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันเป็นป่าทึบและป่าละเมาะ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถาน ที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินไป ผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับ ผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ฉันนั้น รวมความว่า ใช้สอย เสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น [๑๕๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) คำว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศ ๒... ทิศ ๓... ทิศ ๔...ก็เช่นเดียวกัน ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตอัน ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ รวมความว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า เพราะเป็นผู้เจริญพรหม- วิหารมีเมตตาเป็นต้น สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกก็ไม่เกลียดชัง สัตว์ที่อยู่ทางทิศ ตะวันตกก็ไม่เกลียดชัง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเหนือ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้(อาคเณย์) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง เหนือ(พายัพ) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้(หรดี) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเบื้องล่าง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทาง ทิศเบื้องบน ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทั้งสิบทิศก็ไม่เกลียดชัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า สัตว์โลกทั้งปวงไม่เกลียดชัง คือ ไม่โกรธ ไม่อาฆาต ไม่กระทบกระทั่ง รวมความว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้ เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๖๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙) คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า คำว่า ราคะ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า โทสะ ได้แก่ ความอาฆาตแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นจิต คำว่า โมหะ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ข่ายคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ รวมความว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐
คำว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ ๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์ ฯลฯ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์๑- คำว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว อธิบายว่า ทำลาย คือ ทะลาย ทำให้พัง ทำให้พังทลาย ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งสังโยชน์ ๑๐ อย่าง รวมความว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว คำว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ในเวลา จบชีวิต ก็ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่ หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัยและความหวาดกลัว ได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า อยู่ รวมความว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๖๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔๘/๔๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย อธิบายว่า มิตรทั้งหลายมี ประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพหน้าเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่าง ยิ่งเป็นเหตุ จึงคบ คือ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ รวมความว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย...มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า มิตรมี ๒ จำพวก คือ ๑. อาคาริกมิตร (มิตรครองเรือน) ๒. อนาคาริกมิตร (มิตรไม่ครองเรือน) ฯลฯ นี้ชื่อว่าอาคาริกมิตร ฯลฯ นี้ชื่อว่าอนาคาริกมิตร๑- คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า มิตร ๒ จำพวก เหล่านี้ ไม่มีเหตุ ไม่มุ่งประโยชน์ คือ หาเหตุมิได้ ไม่มีปัจจัย หาได้ยาก ได้ยาก แสนยาก รวมความว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่ง ประโยชน์หาได้ยาก คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในคำว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง ประโยชน์ตนไม่สะอาด อธิบายว่า เหล่ามนุษย์คบ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ เข้าไปนั่งใกล้ ไต่ถาม ถามปัญหา เพื่อประโยชน์ของตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัยแห่งตน เพราะ การณ์แห่งตน รวมความว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน
ว่าด้วยกรรมไม่สะอาด
คำว่า มนุษย์ทั้งหลาย... ไม่สะอาด อธิบายว่า เพราะประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๓/๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะประกอบด้วยปาณาติบาตอันไม่สะอาด... ... อทินนาทานอันไม่สะอาด... ... กาเมสุมิจฉาจารอันไม่สะอาด... ... มุสาวาทอันไม่สะอาด... ... ปิสุณาวาจาอันไม่สะอาด... ... ผรุสวาจาอันไม่สะอาด... ... สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด... ... อภิชฌาอันไม่สะอาด... ... พยาบาทอันไม่สะอาด... เพราะประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยเจตนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยความปรารถนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยปณิธาน(ความตั้งใจ) อันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า ไม่สะอาด คือ เลว ทราม ต่ำทราม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบ เล็กน้อย รวมความว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ฯลฯ คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ความประพฤติ ๘ อย่าง๑- ฯลฯ คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง ฉันใด ฯลฯ รวมความว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๑/๓๙๙-๔๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
จตุตถวรรคจบ
ขัคควิสาณสุตตนิทเทสที่ ๑๙ จบ
การอธิบายคำสอนแก่พราหมณ์ ผู้ถึงฝั่ง ๑๖ คนเหล่านี้ คือ (๑) อชิตะ (๒) ติสสเมตเตยยะ (๓) ปุณณกะ (๔) เมตตคู (๕) โธตกะ (๖) อุปสีวะ (๗) นันทะ (๘) เหมกะ (๙) โตเทยยะ (๑๐) กัปปะ (๑๑) ชตุกัณณิผู้เป็นบัณฑิต (๑๒) ภัทราวุธ (๑๓) อุทัย (๑๔) โปสาละผู้เป็นพราหมณ์ (๑๕) โมฆราชผู้มีปัญญา (๑๖) ปิงคิยะผู้เป็นมหาฤๅษี มีประมาณเท่านี้แล แม้การอธิบายขัคควิสาณสุตรก็มีประมาณเท่านี้ นิทเทสที่ควรรู้ทั้ง ๒ ภาค ท่านกำหนดทำไว้บริบูรณ์ดีแล้ว
จูฬนิทเทส จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๒}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส จบ


             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๙๓-๕๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=11348 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=37              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=6139&Z=8166&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=663              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]