ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑. กามสูตร

๔. อัฏฐกวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ติดอยู่ในกาม
๑. กามสูตร๑-
ว่าด้วยเรื่องกาม
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พราหมณ์ผู้เป็นชาวนา ณ กรุงสาวัตถีดังนี้) [๗๗๓] ถ้ากาม๒- นั้นสำเร็จด้วยดีแก่สัตว์นั้น ผู้อยากได้กามอยู่ สัตว์นั้นได้กามตามที่ต้องการแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่แท้ [๗๗๔] ถ้าเมื่อสัตว์นั้นอยากได้กามอยู่ เกิดความพอใจแล้ว กามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมเจ็บปวด เหมือนถูกลูกศรแทง [๗๗๕] ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่า วิสัตติกา๓- นี้ในโลก [๗๗๖] นรชนใดปรารถนาเนืองๆ ซึ่งไร่นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส บุรุษ สตรี พวกพ้อง หรือกามเป็นอันมาก [๗๗๗] กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อันตรายทั้งหลาย๔- ย่ำยีนรชนนั้น @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑-๖/๑-๒๓ @ กาม ในที่นี้หมายถึงวัตถุกาม (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๗๓/๓๔๖) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๘๙ ในเล่มนี้ @ อันตราย มี ๒ อย่าง (๑) อันตรายที่ปรากฏ คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เป็นต้น (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ คือ @กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงอันตรายที่ไม่ปรากฏ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๑๖-๑๗, @ขุ.สุ.อ. ๒/๗๗๗/๓๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสูตร

เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ฉะนั้น [๗๗๘] เพราะฉะนั้น สัตว์เกิด๑- พึงมีสติทุกเมื่อ ละกามทั้งหลายได้ ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น
กามสูตรที่ ๑ จบ
๒. คุหัฏฐกสูตร๒-
ว่าด้วยผู้ข้องอยู่ในถ้ำ
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ณ กรุงสาวัตถีดังนี้) [๗๗๙] นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ๓- ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง๔- ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย [๗๘๐] สัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ มุ่งหวัง(กาม) ในกาลภายหลัง(อนาคต)หรือในกาลก่อน(อดีต) ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก(และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย @เชิงอรรถ : @ สัตว์เกิด หมายถึงนรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เป็นไปตามกรรม (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๖/๒๓) @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗-๑๔/๒๘-๖๗ @ ถ้ำ ในที่นี้หมายถึงร่างกาย (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๗๙/๓๕๐) @ เหตุให้ลุ่มหลง ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗/๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๘๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๘๗-๖๘๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=18501 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=266              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9952&Z=9968&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=408              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]