ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๓. สังฆาฏิกัณณสูตร

๓. สังฆาฏิกัณณสูตร
ว่าด้วยผู้เกาะชายผ้าสังฆาฏิ
[๙๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุจับชายผ้าสังฆาฏิแล้วเดินตามรอยเท้าเรา ติดตาม ไปข้างหลัง แต่ภิกษุนั้นมีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิต พยาบาท คิดประทุษร้าย หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นก็ยังชื่อว่าอยู่ห่างไกลเรา เราก็ห่างไกล ภิกษุนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นยังไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ชื่อว่าไม่เห็นเรา ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุอยู่ไกลเราถึง ๑๐๐ โยชน์ แต่ภิกษุนั้นไม่มีความ ละโมบ ไม่กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตไม่พยาบาท ไม่คิดประทุษร้าย มีสติตั้งมั่น มีความรู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น แน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าอยู่ใกล้เรา เราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ นั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ชื่อว่าเห็นเรา” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ตกอยู่ในอำนาจตัณหา ยังดับความเร่าร้อนไม่ได้ ถึงจะติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมดตัณหาที่ทำให้หวั่นไหว ผู้ทรงดับความเร่าร้อนได้ ผู้นั้นชื่อว่ามีความกำหนัดยินดี เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เป็นผู้อยู่ห่างไกล๑- @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้อยู่ห่างไกล หมายถึงอยู่ห่างไกลจากสภาวธรรม (ขุ.อิติ.อ. ๙๒/๓๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๔. อัคคิสูตร

ส่วนบุคคลผู้เป็นบัณฑิต พิจารณารู้ธรรม๑- ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ต่อมาจึงกำหนดรู้ธรรมนั้น เป็นผู้หมดกิเลสที่ทำให้หวั่นไหว สงบระงับกิเลสได้เด็ดขาด ดุจห้วงน้ำสงบเรียบยามสงัดลม ฉะนั้น ผู้นั้นไม่หวั่นไหว ดับความเร่าร้อนได้แล้ว ชื่อว่าหมดความกำหนัดยินดี เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่ทรงมีความหวั่นไหว ทรงดับความเร่าร้อนได้ ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี เป็นผู้อยู่ใกล้ทีเดียว แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สังฆาฏิกัณณสูตรที่ ๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=12205 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=207              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6335&Z=6360&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=272              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]