ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร

๓. กิงทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับทิฏฐิ๑-
[๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ได้ออกจาก กรุงสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีได้มี ความคิดว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์ยังทรงหลีกเร้น๒- อยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต เพราะภิกษุเหล่านั้น ยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่ง สนทนากันถึงติรัจฉานกถามีประการต่างๆ ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้กำลัง เดิน มาจากที่ไกล จึงชวนกันให้หยุดว่า “จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียง เลย อนาถบิณฑิกคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม อนาถบิณฑิกคหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณ- โคดม ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าว ชมผู้พูดเสียงเบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท๓- เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา” ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น อนาถบิณฑิก- คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึง ถามว่า “คหบดี ขอท่านจงบอกเถิด พระสมณโคดมมีทิฏฐิอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ คือ คติความเชื่อถือหรือความคิดเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้ @ บริษัท คือ หมู่, คณะ, ที่ประชุม, ประชุมชน เช่น พุทธบริษัท ๔ แต่ในที่นี้หมายถึงหมู่คณะของพวก @อัญเดียรถีย์ปริพาชก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร

อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของ พระผู้มีพระภาคเลย” “เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ- โคดม ขอท่านจงบอกเถิด พวกภิกษุมีทิฏฐิอย่างไร” “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของภิกษุทั้งหลายเลย” “เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ- โคดม ทั้งไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพวกภิกษุอย่างนี้ ท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิ อย่างไร” “ท่านผู้เจริญ ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจะบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฏฐิอย่างใด เชิญ ท่านทั้งหลายบอกทิฏฐิของตนก่อนเถิด ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจักบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่า มีทิฏฐิอย่างใดในภายหลัง” เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าวกับอนาถ- บิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ปริพาชกคนหนึ่งกล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งก็กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “โลกมีที่สุด....” อีก คนหนึ่งกล่าวว่า “โลกไม่มีที่สุด...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะ๑- กับสรีระเป็นอย่าง เดียวกัน...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน....” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้วตถาคต๒- เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่ เกิดอีกก็มี...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” @เชิงอรรถ : @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร

เมื่อปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีจึงได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระ คุณเจ้าผู้เจริญ ท่านผู้ใดกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่ แยบคายของตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ถูกปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่แยบคายของ ตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการ โดยไม่แยบคายเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว” เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้วปริพาชกเหล่านั้นจึงได้กล่าวว่า “คหบดี เราทั้งหมดบอกทิฏฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิอย่างไร” “ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นข้าพเจ้า มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร

“คหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้น ที่ ท่านเองติดแล้ว เข้าถึงแล้ว” “ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้น อย่างยอดเยี่ยม ตามความเป็นจริง” เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ อนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่าปริพาชก เหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ จึงลุกจากที่นั่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบ ทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นแด่พระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบทุกประการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อย่างนั้นแหละ คหบดี ท่านสามารถข่ม โมฆบุรุษเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนตามกาลอันควร โดยชอบธรรม” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้อนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวนใจ ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีก็ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้ง หลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ในธรรมวินัยนี้ แม้ ภิกษุนั้นก็พึงข่มพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้อย่างแนบเนียน โดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนอนาถบิณฑิกคหบดีข่มได้แล้ว”
กิงทิฏฐิกสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๑๖-๒๑๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=6188 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=91              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=4240&Z=4344&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=93              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]