ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๑๐. โมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยปริพพาชการามชื่อโมรนิวาปะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพพาชการามอันเป็นที่ให้ เหยื่อแก่นกยูง เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด๑- มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ มีความสำเร็จสูงสุด(อัจจันตนิฏฐะ) หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร

๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑- ๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ ๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์๒- (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์๓- (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์๔- (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความ เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐) @ อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงการแสดงฤทธิ์ต่างๆ คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน @เดียวก็ได้ ปรากฏตัวได้ หายตัวได้ เดินทะลุฝา กำแพง ภูเขาได้ ดำดินได้ เดินบนน้ำได้ นั่งขัดสมาธิในอากาศได้ @เป็นต้น ดูอังคุตตรนิกายแปลเล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต หน้า ๒๓๔ @ อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงการกล่าวดักใจบุคคลได้ว่า ใจของบุคคลแต่ละคนเป็นอย่างไร มีสุข มีทุกข์ @หรือมีวิตกเรื่องอะไร กำลังคิดอะไรอยู่เป็นต้น และคำกล่าวดักใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดเพี้ยนกลับกลาย @เป็นอย่างอื่นไปได้ ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต หน้า ๒๓๔ @ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึงการพร่ำสอนว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ @อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้” ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต @หน้า ๒๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาญาณะ ๓. สัมมาวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษม สูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง) ๒. จรณะ (ความประพฤติ) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่๑- กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ หมายถึงหมู่ชนผู้ชอบคิดว่าตนมีตระกูลสูง ตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมากกว่าผู้อื่น เช่น คิดว่า “เราเป็น @โคตมโคตร เราเป็นกัสสปโคตร” เป็นต้น (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) และดูพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย @สีลขันธวรรค แปล เล่มที่ ๙ ข้อ ๒๗๗ หน้า ๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค รวมพระสูตรที่มัในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมได้กล่าวร้อยกรองไว้ถูกต้องดีแล้ว ไม่ใช่ร้อยกรองไว้ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ เรายอมรับ ภิกษุทั้งหลาย ถึงเราเองก็กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
โมรนิวาปสูตรที่ ๑๐ จบ
นิสสยวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนากรณียสูตร ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร ๕. ตติยอุปนิสาสูตร ๖. พยสนสูตร ๗. ปฐมสัญญาสูตร ๘. มนสิการสูตร ๙. สันธสูตร ๑๐. โมรนิวาปสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๐๖-๔๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=11427 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=206              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=7905&Z=7954&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=217              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]