ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙. สมณวรรค ๓. พราหมณสูตร

๙. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าภิกษุ
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ๔. ราคะ ๕. โทสะ ๖. โมหะ ๗. มานะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการนี้แลได้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ
๒. สมณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าสมณะ
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าสมณะ เพราะระงับธรรม ๗ ประการได้ ฯลฯ
สมณสูตรที่ ๒ จบ
๓. พราหมณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าพราหมณ์
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการได้ ฯลฯ
พราหมณสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙. สมณวรรค ๗. อริโยสูตร

๔. โสตติกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าโสตติกะ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าโสตติกะ เพราะธรรม ๗ ประการร้อยรัดไม่ได้ ฯลฯ
โสตติกสูตรที่ ๔ จบ
๕. นหาตกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่านหาตกะ
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่านหาตกะ เพราะล้างธรรม ๗ ประการได้ ฯลฯ
นหาตกสูตรที่ ๕ จบ
๖. เวทคูสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าเวทคู
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าเวทคู เพราะรู้ธรรม ๗ ประการ ฯลฯ
เวทคูสูตรที่ ๖ จบ
๗. อริโยสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าอริยะ
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอริยะ เพราะกำจัดธรรม ๗ ประการได้ ฯลฯ
อริโยสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙. สมณวรรค ๙. อสัทธัมมสูตร

๘. อรหาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าอรหันต์
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอรหันต์ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม ๗ ประการได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ๔. ราคะ ๕. โทสะ ๖. โมหะ ๗. มานะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอรหันต์ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม ๗ ประการนี้แล
อรหาสูตรที่ ๘ จบ
๙. อสัทธัมมสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรม๑-
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้ อสัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย ๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้หลงลืมสติ ๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล
อสัทธัมมสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๐/๖๐๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙. สมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม๑-
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้ สัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต ๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ ๗. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้แล
สัทธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
สมณวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ภิกขุสูตร ๒. สมณสูตร ๓. พราหมณสูตร ๔. โสตติกสูตร ๕. นหาตกสูตร ๖. เวทคูสูตร ๗. อริโยสูตร ๘. อรหาสูตร ๙. อสัทธัมมสูตร ๑๐. สัทธัมมสูตร @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๙๑, ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๑๐. อาหุเนยยวรรค

๑๐. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยอาหุไนยบุคคล
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่ เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะและ ความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวก ที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๑๐. อาหุเนยยวรรค

เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ฯลฯ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นสสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวก ที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก (๑) [๙๖-๖๒๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ มาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ฯลฯ ในจักษุอยู่ ... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ฯลฯ ในจักษุอยู่ ... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ฯลฯ ในจักษุอยู่ ... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ฯลฯ ในจักษุอยู่ ... พิจารณาเห็นความคลายไป ฯลฯ ในจักษุอยู่ ... พิจารณาเห็นความดับไป ฯลฯ ในจักษุอยู่ ... พิจารณาเห็นความสละคืน ฯลฯ ในจักษุอยู่ ฯลฯ (๒-๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑๐. อาหุเนยยวรรค

ในโสตะอยู่ ฯลฯ ในฆานะอยู่ ... ในชิวหาอยู่ ... ในกายอยู่ ... ในใจอยู่ ฯลฯ (๙-๔๘) ในรูปอยู่ ฯลฯ ในเสียงอยู่ ... ในกลิ่นอยู่ ... ในรสอยู่ ... ในโผฏฐัพพะอยู่ ... ในธรรมารมณ์อยู่ ฯลฯ (๔๙-๙๖) ในจักขุวิญญาณอยู่ ฯลฯ ในโสตวิญญาณอยู่ ... ในฆานวิญญาณอยู่ ... ในชิวหาวิญญาณอยู่ ... ในกายวิญญาณอยู่ ... ในมโนวิญญาณอยู่ ฯลฯ (๙๗-๑๔๔) ในจักขุสัมผัสอยู่ ฯลฯ ในโสตสัมผัสอยู่ ... ในฆานสัมผัสอยู่ ... ในชิวหาสัมผัสอยู่ ... ในกายสัมผัสอยู่ ... ในมโนสัมผัสอยู่ ฯลฯ (๑๔๕-๑๙๒) ในเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสอยู่ ฯลฯ ในเวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัสอยู่ ... ในเวทนา ที่เกิดจากกายสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสอยู่ ฯลฯ (๑๙๓-๒๔๐) ในรูปสัญญาอยู่ ฯลฯ ในสัททสัญญาอยู่ ... ในคันธสัญญาอยู่ ... ในรสสัญญาอยู่ ... ในโผฏฐัพพสัญญาอยู่ ... ในธัมมสัญญาอยู่ ฯลฯ (๒๔๑-๒๘๘) ในรูปสัญเจตนาอยู่ ฯลฯ ในสัททสัญเจตนาอยู่ ... ในคันธสัญเจตนาอยู่ ... ใน รสสัญเจตนาอยู่ ... ในโผฏฐัพพสัญเจตนาอยู่ ... ในธัมมสัญเจตนาอยู่ ฯลฯ (๒๘๙-๓๓๖) ในรูปตัณหาอยู่ ฯลฯ ในสัททตัณหาอยู่ ... ในคันธตัณหาอยู่ ... ในรสตัณหาอยู่ ... ในโผฏฐัพพตัณหาอยู่ ... ในธัมมตัณหาอยู่ ฯลฯ (๓๓๗-๓๘๔) ในรูปวิตกอยู่ ฯลฯ ในสัททวิตกอยู่ ... ในคันธวิตกอยู่ ... ในรสวิตกอยู่ ... ใน โผฏฐัพพวิตกอยู่ ... ในธัมมวิตกอยู่ ฯลฯ (๓๘๕-๔๓๒) ในรูปวิจารอยู่ ฯลฯ ในสัททวิจารอยู่ ... ในคันธวิจารอยู่ ... ในรสวิจารอยู่ ... ในโผฏฐัพพวิจารอยู่ ... ในธัมมวิจารอยู่ ฯลฯ (๔๓๓-๔๘๐) ... พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ... ในรูปขันธ์อยู่ ... พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑๐. อาหุเนยยวรรค

... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ... ... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ... ... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ... ... พิจารณาเห็นความคลายไป ... ... พิจารณาเห็นความดับไป ... ... พิจารณาเห็นความสละคืน ... ในเวทนาขันธ์อยู่ ... ในสัญญาขันธ์อยู่ ... ในสังขารขันธ์อยู่ ... ในวิญญาณขันธ์อยู่ ฯลฯ (๔๘๑-๕๒๐) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ในอาหุเนยยวรรคนี้ มีหมวดธรรมดังนี้ คือ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ และขันธ์ ๕ แต่ละประการในธรรมแต่ละหมวดมีพระสูตร ๘ สูตร มีสภาวธรรม ๘ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืน จัดเป็นพระสูตรเบื้องต้น ๑๖ สูตร๑- โดยประกอบการพิจารณาไปตามลำดับ ประการละ ๘ สูตร เมื่อรวมกันทั้งหมด ได้พระสูตร ๕๒๘ สูตร
อาหุเนยยวรรคที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ พระสูตรเบื้องต้น ๑๖ สูตร คือ ในธรรมประการที่ ๑ คือจักษุแห่งหมวดทวาร ๖ จัดพระสูตรได้ ๘ สูตร @และในธรรมประการที่ ๑ คือรูปแห่งหมวดอารมณ์ ๖ จัดพระสูตรได้ ๘ สูตรซึ่งเป็นหัวข้อธรรมตัวอย่าง @ให้หัวข้อธรรมอื่นๆ ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล

ราคเปยยาล๑-
[๖๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง ราคะ(ความกำหนัด) ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้) ฯลฯ๒- ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ เป็นกลาง) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑) [๖๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง) ๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) @เชิงอรรถ : @ ราคเปยยาล หมายถึงหมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น หมายความว่านอกจากราคะแล้วยังมี @อกุศลธรรมอีก ๑๖ ประการ รวมเป็น ๑๗ ประการ แต่ละประการมีเป้าหมาย ๑๐ เป้าหมาย (๑๐ เพื่อ เช่น @เพื่อรู้ยิ่ง) มีการคำนวณพระสูตรด้วยเป้าหมายละ ๑ สูตร จึงเป็น ๑๗๐ สูตร (๑๐ เป้าหมาย x อกุศลธรรม @๑๗ ประการ) นี้เป็นการคำนวณพระสูตรจากการเจริญหมวดธรรมเพียง ๑ หมวด แต่ในราคเปยยาลของ @สัตตกนิบาตนี้มีหมวดธรรมที่ต้องเจริญ ๓ หมวด จึงรวมเป็น ๕๑๐ สูตร (๑๗๐ สูตร x ๓ หมวดธรรม) @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๒๖ (โพชฌังคสูตร) หน้า ๔๐-๔๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ราคเปยยาล

๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒) [๖๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน โลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง แห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓) [๖๒๖-๖๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล

... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ (๔-๓๐) [๖๕๓-๑๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล

... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ). .. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความ โอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ (๓๑-๕๑๐) พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล
ราคเปยยาล จบ
สัตตกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๘๑-๑๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=4958 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=73              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2985&Z=3075&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=82              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]