ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร

๖. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธ
[๑๖๖] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ฯลฯ จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อม ด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา- เวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑- แล้วเข้าถึงกายมโนมัย๒- ชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๓- บ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับท่านพระ สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วม กับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา- เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” @เชิงอรรถ : @ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้ @ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงการดับสัญญาและเวทนา เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติข้อที่ ๙ @ในอนุปุพพวิหาร ๙ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๔, องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่าน สารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าว เป็นภักษาแล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน” ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ” ครั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผล ในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็น ภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา- เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา- เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา- เวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน” ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายี คัดค้านเราถึง ๓ ครั้งต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี เราพึงนิ่งเสีย” จึงได้นิ่งอยู่ จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านอุทายีว่า “อุทายี เธอหมายถึงกาย- มโนมัยอย่างไหน” ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่า เทพชั้นอรูปพรหมที่สำเร็จด้วยสัญญา” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี การพูดของเธอผู้เขลา ไม่ฉลาด จะมี ประโยชน์อะไร เธอเข้าใจถึงสิ่งที่เธอพูดหรือ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เป็นไปได้หรือที่เธอทั้งหลายเพิกเฉยต่อภิกษุเถระผู้กำลังถูกเบียดเบียนอยู่ เธอ ทั้งหลายคงจะไม่มีความกรุณาในภิกษุเถระผู้ฉลาดซึ่งกำลังถูกเบียดเบียนอยู่๑-” พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุ อรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มี คำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จ ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร๒- @เชิงอรรถ : @ เหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสในเชิงตำหนิท่านพระอานนท์อย่างนี้ ก็เพราะท่านพระอานนท์เป็นสหายรักของ @ท่านพระสารีบุตรเถระและท่านเป็นธัมมภัณฑาคาริก (ขุนคลังพระธรรม) การห้ามปรามภิกษุผู้รุกรานภิกษุ @เถระอย่างนี้ เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔) @ พระวิหาร ในที่นี้หมายถึงพระคันธกุฎี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร

ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่าน พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า “ท่านอุปวานะ ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้ เบียดเบียนพระเถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น นั้นไม่น่าอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจ ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วเสด็จเข้าไป ประทับนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ได้ตรัสถามท่านอุปวานะว่า “อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรจึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่ เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย” ท่านอุปวานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการ จึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุเถระในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่ สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑- ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๐๔ (สมณสุขุมาลสูตร) หน้า ๑๘๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ ข้อ ๒๕ (อนุคคหิตสูตร) หน้า ๓๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย หากภิกษุเถระไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอเพราะความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น เพื่ออะไร แต่เพราะภิกษุเถระมีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายจึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ”
นิโรธสูตรที่ ๖ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=7704 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=166              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4466&Z=4543&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=166              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]