ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. ปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑
[๕๑] (เหตุเกิดที่เมืองสาวัตถี) ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑- ๔ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อ เกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้น ประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไป เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ ๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ ๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุข มาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แลนำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้ อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ @เชิงอรรถ : @ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลวิบากที่เกิดขึ้นแห่งบุญกุศล ซึ่งหลั่งไหลนำสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญไม่ขาดสาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ นี้ว่า “ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น ผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ ที่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ การกำหนดประมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า “น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมี ปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ” ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ประมาณ ของน้ำในมหาสมุทรนั้น ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ ที่นับไม่ได้ ประมาณ ไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ นี้ว่า “ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกันแล แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา ไหลบ่าไปยังมหาสมุทรอันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑- เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยมฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทรฉันนั้น๒-
ปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก หมายถึงมีอารมณ์ที่มีวิญญาณ เช่น ปลาตัวใหญ่ จระเข้ ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ พญานาค @และทานพ(อสูรบางจำพวก) และอารมณ์ที่ไม่มีวิญญาณ เช่น บาดาลที่มีปากทางกว้างใหญ่ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒) และคำนี้แปลมาจากคำว่า วฬวามุขํ คือ สถานที่เป็นปาก(อ่าว) @กลม(สะดือทะเล) กว้างใหญ่กลางมหาสมุทร (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๑๙) @ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๔๕/๗๔-๗๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๘๔-๘๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=2479 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=51              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1470&Z=1509&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=51              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]