ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

๑๗. ปสาทกรธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส
[๓๖๖-๓๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น วัตร ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ความเป็นธรรมกถึก ความเป็นวินัยธร ความเป็น พหูสูต ความเป็นผู้มั่นคง ความถึงพร้อมด้วยอากัปกิริยา๑- ความถึงพร้อมด้วย บริวารที่ดี ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีรูปผิวพรรณ งาม ความเป็นผู้เจรจาไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียกลาภนั่นเอง (๑-๑๖)
(ปสาทกรธรรมวรรคที่ ๑๗ จบ)
๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว อีกหมวดหนึ่ง
[๓๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่ว ลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้น (๑) [๓๘๓-๓๘๙] ถ้าภิกษุเจริญทุติยฌานแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ... เจริญตติยฌาน ... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ ... เจริญ มุทิตาเจโตวิมุตติ ... เจริญอุเปกขาเจโตวิมุตติ ฯลฯ (๒-๘) [๓๙๐-๓๙๓] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ @เชิงอรรถ : @ อากัปกิริยา ในที่นี้หมายถึงมารยาทในการรับปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๖๖/๔๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑- อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (๙-๑๒) [๓๙๔-๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๒- เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้ว (๑๓-๑๖) [๓๙๘-๔๐๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๓- ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน- สังขาร ... (๑๗-๒๐) [๔๐๒-๔๐๖] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... (๒๑-๒๕) [๔๐๗-๔๑๑] ภิกษุเจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๒๖-๓๐) @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ @โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐) @ สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียรบากบั่น ปรารภ @ความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อมๆ กับ @ความเพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐) @ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ ประการ ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕ @ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า @ฉันทสมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น วีริยสมาธิ จิตตสมาธิ @และ วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน ในสูตรนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๑๒-๔๑๘] ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ... (๓๑-๓๗) [๔๑๙-๔๒๖] ภิกษุเจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมา- วาจา ... เจริญสัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ... เจริญสัมมาสติ ... เจริญสัมมาสมาธิ... (๓๘-๔๕) [๔๒๗] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๖) [๔๒๘] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๗) [๔๒๙] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๘) [๔๓๐] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๔๙) [๔๓๑] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้ อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๐) [๔๓๒] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความ จำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๓๓] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกแดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้ อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๒) [๔๓๔] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้ อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๓) [๔๓๕] ภิกษุผู้มีรูปฌานเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลายได้ (๕๔) [๔๓๖] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายในย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลาย ได้ (๕๕) [๔๓๗] ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า “งาม” เท่านั้น (๕๖) [๔๓๘] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑- อยู่โดยกำหนดว่า “อากาศหา ที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดถึงนานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง (๕๗) [๔๓๙] ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน๒- อยู่โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” (๕๘) [๔๔๐] ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน๓- อยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” (๕๙) @เชิงอรรถ : @ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น @ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๒๑/๖๙/๑๑๓-๑๑๔) @ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ @อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร(ความว่าง)เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียกอีก @อย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ(ที่สุดแห่งสัญญา)เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญากล่าวคือผู้บรรลุ @อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญานิโรธบ้าง @(ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๔๑] ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานอยู่ (๖๐) [๔๔๒] ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)อยู่ (๖๑) [๔๔๓-๔๕๒] ภิกษุเจริญปฐวีกสิณ ... เจริญอาโปกสิณ ... เจริญเตโชกสิณ ... เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ... เจริญปีตกสิณ ... เจริญโลหิตกสิณ ... เจริญ โอทาตกสิณ ... เจริญอากาสกสิณ ... เจริญวิญญาณกสิณ ... (๖๒-๗๑) [๔๕๓-๔๖๒] ภิกษุเจริญอสุภสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเร- ปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญ อนิจเจทุกขสัญญา ... เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... เจริญปหานสัญญา ... เจริญวิราคสัญญา ... เจริญนิโรธสัญญา... (๗๒-๘๑) [๔๖๓-๔๗๒] ภิกษุเจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนัตตสัญญา ... เจริญมรณ- สัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญ อัฏฐิกสัญญา ... เจริญปุฬวกสัญญา ... เจริญวินีลกสัญญา ... เจริญวิจฉิททกสัญญา ... เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... (๘๒-๙๑) [๔๗๓-๔๘๒] ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ ... เจริญธัมมานุสสติ ... เจริญสังฆานุสสติ ... เจริญสีลานุสสติ ... เจริญจาคานุสสติ ... เจริญเทวตานุสสติ ... เจริญอานาปานสติ ... เจริญมรณัสสติ ... เจริญกายคตาสติ ... เจริญอุปสมานุสสติ ... (๙๒-๑๐๑) [๔๘๓-๔๙๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ... เจริญ วีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญ สัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๑๐๒-๑๑๑) [๔๙๓-๕๖๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบ ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอุเบกขา ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)
อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ
๑๙. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ
[๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑- ย่อม เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส ด้วยใจแล้ว๒- แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ ผู้นั้น (๑) [๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อสังเวชใหญ่๓- เพื่อประโยชน์ใหญ่๔- เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่๕- เพื่อ สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ๖- เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๗- ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘) @เชิงอรรถ : @ วิชชา มี ๘ ประการ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มโนมยิทธิ (๓) อิทธิวิธา (๔) ทิพพโสตะ (๕) เจโตปริยญาณ @(๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ (๗) ทิพพจักขุ (๘) อาสวักขยญาณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ หมายถึงการเจริญอาโปกสิณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ สังเวชใหญ่ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาหรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงมรรคแห่งวิปัสสนา @ ประโยชน์ใหญ่ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ อีกนัยหนึ่งหมายถึงสามัญญผล ๔ @ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ หมายถึงสามัญญผล ๔ อีกนัยหนี่งหมายถึงนิพพาน @ ญาณทัสสนะ หมายถึงทิพพจักขุญาณ @ ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๑] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญ เต็มที่ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคล ได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่ เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๙) [๕๗๒] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๑๐) [๕๗๓] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่ เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ธรรมอันเป็น เอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มาก แล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑๑) [๕๗๔] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะได้ อนุสัย๑- ย่อมถึงความถอนขึ้น ย่อมละสังโยชน์ได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แล ที่บุคคลได้ เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะ๒- ได้ อนุสัยถึง ความถอนขึ้นย่อมละสังโยชน์ได้ (๑๒) @เชิงอรรถ : @ อนุสัยหรือสังโยชน์ มี ๗ คือ กามราคะ(ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ(ความขัดใจ) ทิฏฐิ(ความเห็นผิด) @วิจิกิจฉา(ความลังเลใจ) มานะ(ความถือตัว) ภวราคะ(ความกำหนัดในภพ) อวิชชา(ความไม่รู้จริง) @(ที.ปา ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, อง.สตฺตก. ๒๓/๑๑/๘) @ อัสมิมานะ หมายถึงความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลว @กว่าเขา (๔) เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้ @เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (๗) เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้เลวกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๕-๕๗๖] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (๑๓-๑๔) [๕๗๗-๕๗๙] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมี ความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด๑- มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความ แตกฉานในธาตุหลายชนิด ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอัน เป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด (๑๕-๑๗) [๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑) [๕๘๔-๕๙๙] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญา๒- เพื่อความเจริญแห่งปัญญา๓- เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญามาก๔- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา๕- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญา @เชิงอรรถ : @ ธาตุหลายชนิด หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓, อภิ.วิ. ๓๕/๑๘๕/๑๐๕) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญาญาณ ๖ ญาณ ๗๓ @และญาณ ๗๗ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงปัญญาของพระอริยเสขบุคคล ๗ จำพวก กัลยาณปุถุชน และปัญญาของพระ @อรหันต์ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ มีปัญญามาก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน ได้แก่ ธาตุ ๑๘ @อายตนะ ๑๒ ปฏิจจสมุปปาทธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ @วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ฐานาฏฐานขันธ์ ฐานะ อัฏฐานะ วิหารสมาบัติ ๘ อริยสัจ ๔ สติปัฏฐาน ๔ @สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สามัญญผล ๔ @อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) @ มีปัญญาแน่นหนา ในที่นี้หมายถึงมีญาณ(ความรู้)ในธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ @อริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

ไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก๑- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง๒- เพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง๓- เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม๔- และเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่ง ปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความ เป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)
กายคตาสติวรรคที่ ๑๙ จบ
๒๐. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตธรรม
[๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑) @เชิงอรรถ : @ มีปัญญาไพบูลย์และมีปัญญาลุ่มลึก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญาสามารถยิ่ง ในที่นี้หมายถึงได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา @ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญากว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่หนักหน่วงดุจแผ่นดินสามารถข่มกิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้น @ได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๖) @ มีปัญญาเฉียบแหลม ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ละ บรรเทา ดับกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก @และบาปอกุศลธรรม ทำให้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพ และหมายถึงปัญญาที่รู้ @แจ้งอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๐๑] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้บรรลุอมต- ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้บรรลุอมตธรรม (๒) [๖๐๒] ชนเหล่าใดมีกายคตาสติเสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมเสื่อม ชนเหล่าใดมีกายคตาสติไม่เสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมไม่เสื่อม (๓) [๖๐๓] ชนเหล่าใดเบื่อกายคตาสติ๑- ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออมตธรรม ชนเหล่าใดชอบใจกายคตาสติ๒- ชนเหล่านั้นชื่อว่าชอบใจอมตธรรม (๔) [๖๐๔] ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตธรรม ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตธรรม (๕) [๖๐๕] ชนเหล่าใดหลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าหลงลืมอมตธรรม ชนเหล่าใดไม่หลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่หลงลืมอมตธรรม (๖) [๖๐๖] ชนเหล่าใดไม่ได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เสพอมตธรรม ชนเหล่าใดได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เสพอมตธรรม (๗) [๖๐๗] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เจริญอมต- ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เจริญอมตธรรม (๘) [๖๐๘] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ อมตธรรมให้มาก ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ อมตธรรมให้มาก (๙) [๖๐๙] ชนเหล่าใดไม่ได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้รู้ยิ่งอมตธรรม ชนเหล่าใดได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้ยิ่งอมตธรรม (๑๐) @เชิงอรรถ : @ เบื่อกายคตาสติ หมายถึงไม่ให้กายคตาสติสำเร็จ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) @ ชอบใจกายคตาสติ หมายถึงบำเพ็ญกายคตาสติให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๑๐] ชนเหล่าใดไม่ได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้กำหนดรู้ อมตธรรม ชนเหล่าใดได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้กำหนดรู้ อมตธรรม (๑๑) [๖๑๑] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ อมตธรรมให้แจ้ง ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ อมตธรรมให้แจ้ง (๑๒) (เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค)
อมตวรรคที่ ๒๐ จบ
เอกกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๔๖-๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=1230 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=28              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1059&Z=1266&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=207              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]