ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๙. อรณวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธรรมที่ไม่มีกิเลส
[๓๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็น ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค(การประกอบความลำบากเดือดร้อน แก่ตน)อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้นที่ตถาคตได้ ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน๑- พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขในภายใน ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึง กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อน จึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึด ภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ๒- นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์ [๓๒๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ธรรมคือการประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อ ปฏิบัติผิด ธรรมคือการไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความอันเกิดจาก กาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ นี้มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓/๒๐ @ คำพูดสามัญ ในที่นี้หมายถึงคำพูดของชาวโลกที่กำหนดพูดกัน บัญญัติให้รู้ร่วมกัน @(ม.อุ.อ. ๓/๓๒๓/๑๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

ธรรมเป็นเหตุไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๓๒๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน‘๑- นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ [๓๒๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง กล่าวไว้เช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓/๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างไร คือ บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของ บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิ ชนพวกหนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคล ผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มี ความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่า ยกย่องชนพวกหนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึง มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อ ว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละภวสังโยชน์๑- ไม่ได้ ชน เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๖ (คณกโมคคัลลานสูตร) หน้า ๘๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

[๓๒๗] การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างไร คือ บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของ บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อ กล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนืองๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของ บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนืองๆ นี้แล ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’ ชื่อว่าแสดง ธรรมเท่านั้น บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด จึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนืองๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนืองๆ นี้แล ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ชน เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ แม้ภพ ก็เป็นอันละไม่ได้‘ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ก็เมื่อบุคคลละภวสังโยชน์ได้แล้ว แม้ภพก็เป็นอันละได้แล้ว’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างนี้ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
กามคุณ ๕ ประการ
[๓๒๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง ประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ นี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า สุขอันเกิดจาก กาม เป็นสุขที่เกิดแต่เมถุนธรรม๑- เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุไม่พึงเสพ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขชนิดนี้’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะ วิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ... บรรลุ ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... สุขนี้เราเรียกว่า เนกขัมมสุข เป็นสุขอันเกิด จากความสงัด เป็นสุขเกิดจากความสงบ เป็นสุขเกิดจากการตรัสรู้ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขชนิดนี้’ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบ เนืองๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ [๓๒๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน ต่อหน้า’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้ความลับอันใด ที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็น ความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวความลับนั้นเป็นอันขาด แม้รู้ว่า ความลับอันใดที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึง สำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวความลับนั้น และพึงรู้ความลับอันใดเป็นความจริง เป็น ความแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวความลับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้คำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่ไม่เป็นคำจริง ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็น อันขาด แม้รู้ว่าคำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และพึงรู้คำ ล่วงเกินต่อหน้าอันใดที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ [๓๓๐] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุรีบร้อนพูด แม้กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุรีบร้อนพูดก็ไม่สละสลวย ฟังไม่เข้าใจ ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุไม่รีบร้อนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็ ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุผู้ไม่รีบร้อนพูด ก็สละสลวย ฟังเข้าใจ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ [๓๓๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูด สามัญ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดด้วยความยึดมั่น ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นๆ จะรู้จักภาชนะนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างนี้ [๓๓๒] การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดย วิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า ‘ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุ เหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้’ ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็น อย่างนี้ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ’ นั่น เพราะอาศัยคำนี้ เราจึงกล่าวไว้ [๓๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการประกอบเนืองๆ ซึ่ง โสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของ ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มี ความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็น ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อัน เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

[๓๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือมัชฌิมาปฏิปทา ที่ ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรมนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้นนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือสุขอันเกิดจากกาม สุขอัน เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะนี้ มีทุกข์ มีความ เบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือเนกขัมมสุข สุขเกิดจากความสงัด สุขเกิดจากความ สงบ สุขเกิดจากการตรัสรู้นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือความลับที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความ คับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็น ธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๙. อรณวิภังคสูตร

แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ ประกอบ ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่ไม่ เป็นคำจริง ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มี ความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้รีบร้อนพูดนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้ไม่รีบร้อนพูดนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส [๓๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยึดภาษาท้องถิ่น และ การละเลยคำพูดสามัญนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาในอรณวิภังค์นี้อย่างนี้แลว่า ‘เราทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีกิเลส และรู้ธรรมที่ไม่มีกิเลสแล้ว จักปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ เพื่อไม่มีกิเลส’ กุลบุตรผู้มีนามว่าสุภูติ ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อไม่มีกิเลสแล้ว” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อรณวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๙๐-๔๐๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=11459 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=39              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8511&Z=8747&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=653              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]