ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

๕. อนุมานสูตร
ว่าด้วยการเปรียบตนกับผู้อื่น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
[๑๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ ให้อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัคคะ ณ ที่นั้น ท่านพระมหา- โมคคัลลานะ ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุ เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุปวารณาว่า ‘ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้’ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก มีธรรมที่ทำให้เป็นผู้ ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าว ไม่ควรพร่ำสอน และไม่ควรไว้วางใจ ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็เป็นธรรมที่ ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่นนี้ ก็เป็น ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๓. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก โกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้วนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

๔. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรมที่ ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๕. เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรม ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก โกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๗. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับโต้ เถียงโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับรุกราน โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับ ปรักปรำโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๑๐. ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่ ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูก โจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้ เป็นผู้ว่ายาก ๑๒. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๑๓. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่นี้ ก็เป็น ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

๑๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด มีมารยานี้ ก็ เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๑๕. เป็นผู้กระด้าง มักดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้กระด้าง มักดู หมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ๑๖. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
[๑๘๒] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ‘ขอท่านจงว่ากล่าว ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้’ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่าง่าย มีธรรมที่ทำ ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน และ ควรไว้วางใจ ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่ เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็ เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๒. เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้ อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๓. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ ว่าง่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

๔. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๕. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๖. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็น ผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้ เป็นผู้ว่าง่าย ๗. ถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๘. ถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๙. ถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำ โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๑๐. ถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ ถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่ ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๑๑. ถูกโจทแล้วยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจท แล้วยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๑๒. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ คุณท่าน ไม่ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๑๓. เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

๑๔. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี มารยานี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๑๕. เป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ๑๖. เป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่ายนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
การอนุมานตนเอง
[๑๘๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรอนุมาน ตนเอง๑- อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาที่เป็นบาป ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงมีความ ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มีความ ปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ยกตนข่มผู้อื่นย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น ที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ยกตน จักไม่ข่มผู้อื่น’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ ครอบงำ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’ @เชิงอรรถ : @ ควรอนุมานตนเอง หมายถึงภิกษุควรอนุมาน เปรียบเทียบ พิจารณาตนด้วยตนเองเท่านั้น @(ม.มู.อ. ๑/๑๘๓/๓๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความ โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธ เป็นเหตุ’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความ โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธ เป็นเหตุ’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ ความโกรธ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักไม่โต้เถียงโจทก์’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ เราก็ คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูก โจทแล้วจักไม่รุกรานโจทก์’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักไม่ปรักปรำโจทก์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม (ของตน) ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วไม่ยอม อธิบายพฤติกรรม(ของตน) เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุ เมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ย่อมไม่ เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ เราก็ คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจัก ไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ริษยา ตระหนี่ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ริษยา ตระหนี่ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ริษยา ไม่ตระหนี่’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา’ ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น ย่อมไม่เป็น ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถือความ เห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของ คนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น จักเป็นผู้สลัดได้ง่าย’
การพิจารณาตนเอง
[๑๘๔] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรพิจารณา ตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาที่เป็นบาปจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความ ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปจริง’ ภิกษุนั้น ควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรามิใช่ผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป มิใช่ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็น บาป’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่นจริง’ ภิกษุนั้นควร พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรา เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความ โกรธครอบงำจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ ครอบงำจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’ ภิกษุนั้น ผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและ ปราโมทย์โดยแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น ผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ เสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วย ปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว กลับโต้เถียงโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับโต้เถียง โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับ รุกรานโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับรุกราน โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับ ปรักปรำโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับปรักปรำ โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่าง ต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับพูด กลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง นี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว ไม่ยอม อธิบายพฤติกรรม(ของตน)จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว ไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรม เหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วยอมอธิบายพฤติกรรม (ของตน)’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง นี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๕. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ริษยา ตระหนี่ จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ริษยา ตระหนี่จริง’ ภิกษุนั้นควร พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น ผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวัน กลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้โอ้อวด มีมารยาจริง’ ภิกษุนั้นควร พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรา เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่น ผู้อื่นจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง นี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือความเห็น ของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น ผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อ ละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่ถือ ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดซึ่งยังละ ไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล แต่ถ้า พิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดซึ่งละได้แล้วในตน ภิกษุ นั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์โดยแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สตรีหรือบุรุษแรกรุ่นชอบแต่งตัว ส่องดูใบหน้าของตน ในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าพบไฝหรือฝ้าที่ใบหน้านั้นย่อม พยายามที่จะกำจัดไฝหรือฝ้านั้นนั่นแล หากไม่พบก็จะพอใจว่า ‘เป็นโชคของเรา จริงๆ ใบหน้าของเราหมดจด’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ยังละไม่ได้ ภิกษุนั้นควรพยายาม เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดนั่นแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม ภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ดังนี้แล
อนุมานสูตรที่ ๕ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๘๖-๑๙๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=5318 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3185&Z=3448&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=221              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]