ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ทุกเหล่าในทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่
ยากเลย ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้
กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรและอรูปาพจรนั้นฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรวาเสฏฐะ
แม้นี้แล ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม.
อัปปมัญญา ๔
[๓๘๔] ดูกรวาเสฏฐะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ... ประกอบด้วย มุทิตา ... ประกอบด้วยอุเบกขา ... ดูกรวาเสฏฐะ นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีเครื่องเกาะคือ สตรีหรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มี. มีจิตจองเวรหรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มี. มีจิตเบียดเบียนหรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มี. มีจิตเศร้าหมองหรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มี. ยังจิตให้ไปในอำนาจได้หรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้. ดูกรวาเสฏฐะ ได้ยินว่า ภิกษุไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี พรหมก็ไม่มี จะเปรียบเทียบ ภิกษุผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรีกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรีได้หรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้. ดูกรวาเสฏฐะ ดีละ ภิกษุนั้นไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี เบื้องหน้าแต่ตายไปเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้. ดูกรวาเสฏฐะ ภิกษุมีจิตไม่จองเวร พรหมก็มีจิตไม่จองเวร ... ภิกษุมีจิตไม่เบียดเบียน พรหมก็มีจิตไม่เบียดเบียน ... ภิกษุมีจิตไม่เศร้าหมอง พรหมก็มีจิตไม่เศร้าหมอง ... ภิกษุยังจิต ให้เป็นไปในอำนาจได้ พรหมก็ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ยังจิตให้เป็น ไปในอำนาจได้กับพรหมผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ ได้หรือไม่? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้. ดูกรวาเสฏฐะ ดีละ ก็ภิกษุผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้นั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหมผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ ข้อนี้เป็นฐานะ ที่มีได้.
วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๙๑๐๓-๙๑๓๕. หน้าที่ ๓๘๑ - ๓๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=9103&Z=9135&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=9&item=384&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=13              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=365              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=9&item=384&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=9&item=384&items=1&mode=bracket              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_9

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]