ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
             [๖๗๕] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน?
             สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
             บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.
             วิจิกิจฉา เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
             สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.
             สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี
สัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค-
*ประหาณ.
             สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียว
กันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ
โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็น
สมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
             ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน?
             โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรค
เบื้องบน ๓ ประหาณ, กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.
             ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ
เป็นไฉน?
             เว้นธรรมนั้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์,
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๕๘๗๑-๕๘๙๗. หน้าที่ ๒๓๔ - ๒๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=5871&Z=5897&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=34&item=675&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=54              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=663              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=34&item=675&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=34&item=675&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]