ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. นิสสารณียสูตร
[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อม ไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๘.

อยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปแล้ว อบรม ดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว จากกามทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งกามทั้งหลาย ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการ ถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อม ไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และ ความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งพยาบาท ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ ถึงอวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปใน อวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความ เร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการ พรากออกแห่งวิหิงสา ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่น ไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ มนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๙.

ในอรูป จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความ เร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการ พรากออกแห่งรูปทั้งหลาย ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการ ถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อม น้อมไปในความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้น แล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิด เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งสักกายะ ฯ ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสา ก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการ นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบพราหมณวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์ ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๐.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสณสูตร ๒. โทณสูตร ๓. สังคารวสูตร ๔. การณปาลีสูตร ๕. ปิงคิยานีสูตร ๖. สุปินสูตร ๗. วัสสสูตร ๘. วาจาสูตร ๙. กุลสูตร ๑๐. นิสสารณียสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๖๗๗-๕๗๓๔. หน้าที่ ๒๔๗ - ๒๕๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5677&Z=5734&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=22&item=200&items=1&preline=0&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=200              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=200              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=22&item=200&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=22&item=200&items=1&pagebreak=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]