ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
วัชชีปุตตสูตร
[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีล- *สิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขา ก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้น ศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี จักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ ท่านนั้นจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุ นั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เธอมิได้ทำกรรม ที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
เสขสูตรที่ ๑
[๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียก ชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตต- *สิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายัง ต้องศึกษาแล ฯ สำหรับพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ปฏิบัติตามทางตรง เกิดญาณใน ความสิ้นไปก่อน แต่นั้น คือ แต่มรรคญาณที่ ๔ อรหัตผล จึงเกิดในลำดับต่อไป ต่อจากนั้น ท่านผู้พ้นด้วยอรหัตผล ผู้คงที่ มีญาณเกิดขึ้นในความสิ้นภวสังโยชน์ว่า วิมุตติของเรา ไม่กำเริบ ดังนี้ ฯ
เสขสูตรที่ ๒
[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ มาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำ พอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคน อาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียว เท่านั้น แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่สิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และ มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็น ผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ใน ปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบท เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีล ยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้ บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็น หมันเลย ฯ
เสขสูตรที่ ๓
[๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม- *วินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอ เป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเจ็ดครั้ง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาเกิดยังภพนี้ภพเดียวเท่านั้นแล้ว จักทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าว ความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็น พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็น พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อม ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ
เสขสูตรที่ ๔
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี ผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยัง ไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมด สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มา สู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมด สิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็ หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปใน เทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้เพียง บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ
สิกขาสูตรที่ ๑
[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีล- *สิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ
สิกขาสูตรที่ ๒
[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีล- *สิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์ พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำ ฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องต่ำก็ฉันนั้น ในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืนฉันใด ในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็น นักศึกษา เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ดี ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็น นักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจาก สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท เหมือนความดับของ ประทีป ฉะนั้น ฯ
ปังกธาสูตร
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมแห่งชาวโกศลชื่อปังกธา ได้ยินว่าสมัยนั้น พระองค์ประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกศลชื่อปังกธา ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อ กัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ ปังกธานิคม ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มี- *พระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงยัง ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอัน ปฏิสังยุตด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะ นี้ขัดเกลายิ่งนัก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปังกธานิคมตามควร แก่อภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกกลับไปทางพระนครราชคฤห์ เมื่อเสด็จจาริกไปโดย ลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ภิกษุกัสสปโคตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปได้ไม่นาน ได้เกิดความรำคาญ เดือดร้อนว่า เราผู้เกิดความขัดใจ ไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก ในเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมี- *ถกาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขา ชื่อว่าเป็นอันหมดลาภ ไม่มีลาภ ได้ชั่ว ไม่ได้ดี แล้วหนอ ถ้ากระไร เราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ แล้วพึง แสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด ลำดับนั้นแล ภิกษุ กัสสปโคตรเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร หลีกไปทางพระนครราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์โดย ลำดับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกศล ชื่อปังกธา ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา อันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท พระเจ้าข้า ขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์ นั้นได้เกิดขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ปังกธานิคมตามควรแก่อภิรมย์ เสด็จจาริกกลับไปทางพระนคร- *ราชคฤห์ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ได้เกิดความรำคาญ เดือดร้อนว่า เราผู้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ ขัดเกลายิ่งนัก ในเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท ชื่อว่าเป็นอันหมด ลาภ ไม่มีลาภ ได้ชั่ว ไม่ได้ดีแล้วหนอ อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพึงแสดงโทษโดยความเป็นโทษ ในสำนักของ พระผู้มีพระภาค พระเจ้าข้า โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่เขลา งมงาย ไม่ ฉลาด ข้าพระองค์ได้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก ใน เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวัง ต่อไปเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้เป็นคน โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เธอใดได้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัด- *เกลายิ่งนัก ในเมื่อเรายังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท ก็เพราะเหตุที่เธอนั้นเห็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้น เราก็รับโทษอันนั้นของเธอ ดูกรกัสสปะ ก็การที่ บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้ เป็นการเจริญในอริยวินัย ดูกรกัสสปะ ถ้าภิกษุปูนเถระเป็นผู้ไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา เธอย่อมจะไม่ชักชวนภิกษุอื่นๆ ที่ไม่ใคร่ต่อ การศึกษาในการศึกษา และไม่แสดงคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุรูปอื่นๆ ที่ใคร่ ต่อการศึกษาตามกาล ดูกรกัสสปะ ภิกษุปูนเถระเห็นปานดังนี้ เราไม่สรรเสริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นๆ จะพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า พระศาสดา สรรเสริญเขา ภิกษุพวกที่คบหาภิกษุนั้น พึงถือเอาภิกษุนั้นเป็นแบบอย่าง ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เธอทั้งหลาย สิ้นกาลนาน ดูกรกัสสปะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุปูนเถระเห็นปานดังนี้ ดูกรกัสสปะ ถ้าภิกษุปูนกลาง ฯลฯ ถ้าภิกษุใหม่เป็นผู้ไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการ สมาทานการศึกษา เธอย่อมจะไม่ชักชวนภิกษุอื่นๆ ที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาในการ ศึกษาและไม่แสดงคุณที่เป็นจริงมีจริงของภิกษุอื่นๆ ที่ใคร่ต่อการศึกษาตามกาล ดูกรกัสสปะ ภิกษุใหม่เห็นปานดั่งนี้ เราไม่สรรเสริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ภิกษุอื่นๆ จะพึงคบหาเธอโดยเห็นว่าพระศาสดาสรรเสริญเขา ภิกษุที่คบหาภิกษุนั้น พึงถือภิกษุนั้นเป็นแบบอย่าง ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เธอ ทั้งหลายสิ้นกาลนาน ดูกรกัสสปะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุ ใหม่เห็นปานนั้น ดูกรกัสสปะ ถ้าภิกษุปูนเถระ ฯลฯ ถ้าภิกษุปูนกลาง ฯลฯ ถ้าภิกษุใหม่ เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา เธอย่อมจะ ชักชวนภิกษุอื่นๆ ที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษา และแสดงคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุ อื่นๆ ที่ใคร่ต่อการศึกษาตามกาล ดูกรกัสสปะ ภิกษุใหม่เห็นปานดั่งนี้ เรา สรรเสริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นๆ จะพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า พระศาสดาสรรเสริญเขา ภิกษุพวกที่คบหาภิกษุนั้นพึงถือเอาภิกษุนั้นเป็นแบบอย่าง ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย สิ้นกาลนาน ดูกร- *กัสสปะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงสรรเสริญภิกษุใหม่เห็นปานดังนี้ ฯ
จบสมณวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร ๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร ๕. เสขสูตรที่ ๑ ๖. เสขสูตรที่ ๒ ๗. เสขสูตรที่ ๓ ๘. เสขสูตรที่ ๔ ๙. สิกขาสูตรที่ ๑ ๑๐. สิกขาสูตรที่ ๒ ๑๑. ปังกธาสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
โลณผลวรรคที่ ๕
อัจจายิกสูตร
[๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรรีบด่วนทำของคฤหบดีชาวนา ๓ อย่างเหล่านี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหบดีชาวนาในโลกนี้ ต้องรีบเร่งไถนาให้ดี คราดนาให้เรียบร้อย ครั้นแล้วต้องรีบเร่งเพาะพืชลงไป ครั้นแล้วรีบเร่งไขเอาน้ำเข้าบ้าง ระบายเอาน้ำออกเสียบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจ ที่ควรรีบด่วนทำของคฤหบดีชาวนา ๓ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหบดีชาว- *นานั้น ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพบันดาลว่า ข้าวเปลือกของเราจงเกิดในวันนี้ พรุ่งนี้ จงมีท้อง มะรืนนี้จงหุงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ สมัยที่ข้าวเปลือกของ คฤหบดีชาวนานั้น มีความแปรของฤดู เกิดก็ดี มีท้องก็ดี หุงได้ก็ดี มีอยู่ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กิจที่ควรรีบทำของภิกษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ การสมาทานอธิศีลสิกขา ๑ การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑ การ สมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรรีบด่วนทำของภิกษุ ๓ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพบันดาลว่า จิตของ เราจงพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานในวันนี้แหละ หรือมิฉะนั้น ก็ในวันพรุ่งนี้ หรือในวันมะรืนนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ สมัยที่จิตของ ภิกษุนั้น ผู้ศึกษาอธิศีลอยู่ก็ดี ผู้ศึกษาอธิจิตอยู่ก็ดี ผู้ศึกษาอธิปัญญาอยู่ก็ดี หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นมีอยู่ เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีล- *สิกขา เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีฉันทะ อย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง ศึกษาอย่างนี้แล ฯ
วิวิตตสูตร
[๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติความสงัด จากกิเลสไว้ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความสงัดจากกิเลสเพราะจีวร ๑ ความสงัดจากกิเลสเพราะบิณฑบาต ๑ ความสงัดจากกิเลสเพราะเสนาสนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในความสงัดจากกิเลส ๓ อย่างนั้น ในความสงัดจากกิเลส เพราะจีวร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกปฏิบัติไว้ดั่งนี้ คือ ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้า- *แกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนัง เสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้า กัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ในความสงัดจาก กิเลสเพราะจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในความสงัดจากกิเลส ๓ อย่างนั้น ในความ สงัดจากกิเลสเพราะบิณฑบาต พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็น ภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียว- *ยาอัตภาพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ใน ความสงัดจากกิเลสเพราะบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในความสงัดจากกิเลส ๓ อย่างนั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะเสนาสนะ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติ ไว้ดังนี้ คือป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ข้อนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ในความสงัดจากกิเลส เพราะเสนาสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติความสงัด จากกิเลส ๓ อย่างนี้แลไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนความสงัดจากกิเลสของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑ เป็นผู้มีศีล ละความเป็นผู้ทุศีล และเป็นผู้สงัดกิเลส เพราะศีลนั้นด้วย ๒ เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ละความเห็นผิด และเป็นผู้สงัดจากกิเลสเพราะความเห็นชอบนั้นด้วย ๓ เป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และเป็นผู้สงัดจากอาสวะทั้งหลาย เหล่านั้นด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ภิกษุนี้จึงเรียกว่า เป็นผู้บรรลุ ส่วนอันเลิศ บรรลุส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคฤหบดีชาวนา พึงใช้คนให้รีบเร่งเก็บเกี่ยวข้าว- *สาลีในนาของเขาซึ่งถึงพร้อมแล้ว ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งรวบรวมเข้าไว้ ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งขนเอาไปเข้าลาน ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งลอมไว้ ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งนวดเสีย ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รุเอาฟางออกเสีย ครั้น แล้วพึงใช้คนให้รวมข้าวเปลือกเป็นกองเข้าไว้ ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งฝัดข้าว ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งขนเอาไป ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งซ้อม ครั้นแล้ว พึงใช้คนให้รีบเร่งเอาแกลบออกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าวเปลือก เหล่านั้นของคฤหบดีชาวนานั้น พึงเป็นของถึงส่วนอันเลิศ ถึงส่วนเป็นแก่นสาร สะอาดหมดจด ตั้งอยู่ในความเป็นของมีแก่นสาร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นผู้ทุศีล และสงัดจากกิเลสแล้วเพราะศีลนั้นด้วย เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิด และสงัดจากกิเลสแล้วเพราะความเห็น ชอบนั้นด้วย เป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และสงัดจากอาสวะทั้งหลาย นั้นด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเช่นนี้เรียกว่า เป็นผู้บรรลุส่วนอันเลิศบรรลุ ส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้หมดจด ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นแก่นสาร ฉันนั้นเหมือน กันแล ฯ
สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหก ในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า ขจัด ความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจาก ธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด พร้อมกับเกิดขึ้นแห่ง ทัศนะ เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑ อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวก ผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ
ปริสสูตร
[๕๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้ ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่มีหัวหน้าประเสริฐ ๑ บริษัทที่เป็นพวกเป็นหมู่ ๑ บริษัทที่พร้อม เพรียงกัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มีหัวหน้าประเสริฐเป็นไฉน ในบริษัท ใดในโลกนี้ พวกภิกษุผู้เถระเป็นคนไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการก้าว ลง (ไม่มีนิวรณ์เกิดขึ้น) เป็นหัวหน้าในความสงัด ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่างก็ถือเอาภิกษุเถระพวกนั้นเป็นแบบอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าใน ความสงัดปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำได้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทมีหัวหน้าประเสริฐ ก็บริษัทที่เป็นพวกเป็นหมู่กันเป็นไฉน ในบริษัทใดใน โลกนี้ พวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วย หอกคือปากอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบริษัทที่เป็นพวกเป็นหมู่กัน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่พร้อมเพรียงกันเป็นไฉน บริษัทใดในโลกนี้ พวกภิกษุ ต่างสามัคคีกัน ชื่นชมยินดี ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกัน และกันด้วยนัยน์ตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบริษัท พร้อมเพรียงกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกภิกษุต่างสามัคคีกัน ชื่นชมยินดี ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยนัยน์ตาอันเปี่ยม ด้วยความรักอยู่ สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างประสบบุญเป็นอันมาก ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างก็อยู่เหมือนพรหม คือ อยู่ด้วยมุทิตาเจโตวิมุติ ผู้ที่ปราโมทย์ย่อม เกิดปีติ ผู้ที่มีใจประกอบด้วยปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา น้ำ นั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้ซอกเขา ลำธารและห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้หนองเต็มเปี่ยม หนองเต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้บึงเต็ม เปี่ยม บึงเต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้แม่น้ำน้อยเต็มเปี่ยม แม่น้ำน้อยเต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้แม่น้ำใหญ่ๆ เต็มเปี่ยม แม่น้ำใหญ่ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้สมุทรเต็มเปี่ยม ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุต่างสามัคคี ชื่นชมยินดีกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วย นัยน์ตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างก็อยู่เหมือนพรหม คือ อยู่ด้วยมุทิตาเจโตวิมุติ ผู้ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติกาย ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๐๙๐-๖๔๕๓. หน้าที่ ๒๖๐ - ๒๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6090&Z=6453&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=20&item=524&items=12&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=129              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=524              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=20&item=524&items=12              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=20&item=524&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]