ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
กุกกุฬวรรคที่ ๔
๑. กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นของร้อน
[๓๓๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนาเป็นของ เร่าร้อน สัญญาเป็นของเร่าร้อน สังขารเป็นของเร่าร้อน วิญญาณเป็นของเร่าร้อน. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๑.
๒. อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๓๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณ นั้นเสีย.
จบ สูตรที่ ๒.
๓. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๓๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น เสีย.
จบ สูตรที่ ๓.
๔. อนิจจสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทะราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๓๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่ เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น เสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะใน วิญญาณเสีย.
จบ สูตรที่ ๔.
๕. ทุกขสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์
[๓๓๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์ เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณ นั้นเสีย
จบ สูตรที่ ๕.
๖. ทุกขสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย
จบ สูตรที่ ๖.
๗. ทุกขสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
จบ สูตรที่ ๗.
๘. อนัตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๓๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็น อนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะใน รูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. อนัตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๔๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณ นั้นเสีย.
จบ สูตรที่ ๙.
๑๐. อนัตตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๔๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็น อนัตตาเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
จบ สูตรที่ ๑๐.
๑๑. กุลปุตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวชด้วย ศรัทธา. เมื่อเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ สูตรที่ ๑๑.
๑๒. กุลปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวช ด้วยศรัทธา. เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ สูตรที่ ๑๒.
๑๓. กุลปุตตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวช ด้วยศรัทธา ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ สูตรที่ ๑๓.
๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็น อนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา. เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ สูตรที่ ๑๔.
จบ กุกกุฬวรรคที่ ๔.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุกกุฬสูตร ๘. อนัตตสูตรที่ ๑ ๒. อนิจจสูตรที่ ๑ ๙. อนัตตสูตรที่ ๒ ๓. อนิจจสูตรที่ ๒ ๑๐. อนัตตสูตรที่ ๓ ๔. อนิจจสูตรที่ ๓ ๑๑. กุลปุตตสูตรที่ ๑ ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๑๒. กุลปุตตสูตรที่ ๒ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๑๓. กุลปุตตสูตรที่ ๓ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๙๘๗-๔๑๐๒. หน้าที่ ๑๗๒ - ๑๗๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3987&Z=4102&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=17&item=334&items=12&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=136              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=334              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=17&item=334&items=12              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=17&item=334&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]