ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ ทำขนให้ตก ประพฤติ
ถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
จงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยประการที่อธิกรณ์นี้พึงระงับได้โดยเร็วฉะนั้นเถิด ด้วยประการ
อย่างนี้. ดูกรภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะระงับ
ได้โดยเร็วฉะนั้น.
             [๑๗๑] ดูกรภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณ. ดูกรภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๘.

ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำ ชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจักข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุ นี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณ ของเธอนั้น อย่าเสื่อมไปจากเธอเลย. ดูกรภัททาลิ เปรียบเหมือนชนผู้เป็นมิตรอำมาตย์ญาติสายโลหิตของ บุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษานัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ ด้วยความตั้งใจว่า นัยน์ตาข้างเดียว ของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจากเขาเลย ฉันใด ดูกรภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น นำชีวิตไปด้วยความศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ. ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไป ด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้ มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลาย จักข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ ความรัก พอประมาณ ของเธออย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย. ดูกรภัททาลิ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับ ภิกษุทั้งหลายที่จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็น ปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะไม่ข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่เมื่อก่อน ได้มีสิกขาบท น้อยนักเทียว แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลเป็นอันมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่เดี๋ยวนี้ ได้มีสิกขาบทเป็นอันมาก แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก.
อาสวัฏฐานิยธรรม

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๓๑๖๘-๓๑๙๑. หน้าที่ ๑๓๗ - ๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3168&Z=3191&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=13&item=171&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=15              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=13&item=171&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=13&item=171&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]