ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ทรงปรารภพวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร
[๒๑๙] ดูกรมหานาม สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น ณ ตำบลกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พวกนิครนถ์จำนวนมาก เป็นผู้ถือการยืนเป็นวัตร ห้ามการนั่ง เสวยทุกขเวทนา แรงกล้า เผ็ดร้อน อันเกิดแต่ความพยายาม ครั้งนั้นแล เราออก จากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาพวกนิครนถ์ ถึงประเทศกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ได้กล่าว ความข้อนี้กะพวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ไฉนเล่า พวกท่านจึงถือการยืน เป็นวัตร ห้ามการนั่ง เสวยทุกขเวทนา แรงกล้า เผ็ดร้อน? ดูกรมหานาม เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ แล้ว พวกนิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ นิครนถ์นาฏบุตรรู้ธรรมทั้งปวง เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะหมดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี ยืนก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏอยู่ ติดต่อเสมอไป นิครนถ์นาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ทั้งหลาย ผู้เจริญ บาปกรรมที่พวกท่านทำแล้วในกาลก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นเสีย ด้วย- *ปฏิปทาอันประกอบด้วยการกระทำที่ทำได้ยาก อันลำบากนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลายสำรวมกาย วาจา ใจ ในบัดนี้นั้น เป็นการไม่กระทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ เพราะไม่ ทำกรรมใหม่ ความไม่ถูกบังคับต่อไปจึงมี เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ความสิ้นกรรมจึงมี เพราะ สิ้นกรรม ความสิ้นทุกข์จึงมี เพราะสิ้นทุกข์ ความสิ้นเวทนาจึงมี เพราะสิ้นเวทนา จักเป็น อันพวกท่านสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด คำที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวแล้วนั้น ชอบใจและควรแก่พวก ข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีใจยินดี ดังนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๓๑๐๘-๓๑๒๔. หน้าที่ ๑๒๖ - ๑๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3108&Z=3124&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=12&item=219&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=12&item=219&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=12&item=219&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]