ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบ
เป็นปัจจัย ความตั้งใจมั่นผิดอันบุคคลผู้ตั้งใจมั่นชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรม
อันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความตั้งใจมั่นผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วน
กุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจมั่นชอบเป็นปัจจัย
ความรู้ผิดอันบุคคลผู้รู้ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่
บังเกิดเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ความพ้นผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบ
ย่อมละได้ อนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพ้นผิดเป็น
ปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้น
ชอบเป็นปัจจัย ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ
             [๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อเสขธรรม
๑๐ คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ ความดำริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงาน
ชอบ ... เลี้ยงชีพชอบ ... พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตั้งใจมั่นชอบ ... ความรู้ชอบ ... ความ
พ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๔.

ธรรมร้อยหนึ่งดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของ ท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล ฯ
จบ ทสุตตรสูตร ที่ ๑๑
จบ ปาฏิกวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้ มี ๑๑ สูตร คือ
๑. ปาฏิกสูตร ๒. อุทุมพลิกสูตร ๓. จักกวัตติสูตร ๔. อัคคัญญสูตร ๕. สัมปสาทนียสูตร ๖. ปาสาทิกสูตร ๗. ลักขณสูตร ๘. สิงคาลกสูตร ๙. อาฏานาฏิยสูตร ๑๐. สังคีติสูตร ๑๑. ทสุตตรสูตร ฯ
ทีฆนิกายซึ่งประดับด้วยสูตร ๓๔ สูตร จบ
ทีฆนิกายนี้มีพระสูตร ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค ชื่อว่าทีฆนิกาย เป็น นิกายต้น เป็นไปโดยสมควร ก็เพราะเหตุไร นิกายนี้จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย เพราะเป็นที่รวมเป็นที่อยู่แห่งพระสูตรขนาดยาวๆ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ดังนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๘๑๐๗-๘๑๓๗. หน้าที่ ๓๓๓ - ๓๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=8107&Z=8137&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=11&item=475&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=11              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=11&item=475&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=11&item=475&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]