ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
อกุศลธรรม
อกุศลจิต ๑๒
-----------------------
จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย
[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็น อารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีใน สมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. [๒๗๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น. [๒๗๗] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิด แต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น. [๒๗๘] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาจำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น. [๒๗๙] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัย นั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น. [๒๘๐] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น. [๒๘๑] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบ สนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น. [๒๘๒] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่อ อารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจาร มีในสมัยนั้น. [๒๘๓] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีใน สมัยนั้น. [๒๘๔] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโต สัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น. [๒๘๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น. [๒๘๖] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๒๘๗] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ มิจฉา สมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๒๘๘] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๒๘๙] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโต สัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๒๙๐] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการสืบเนื่องกันอยู่ ความ ประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๒๙๑] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อ สัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น. [๒๙๒] มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบ สนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉา สังกัปปะ มีในสมัยนั้น. [๒๙๓] มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น. [๒๙๔] มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น. [๒๙๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวหน้าไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือ วิริยะ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น. [๒๙๖] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น. [๒๙๗] อหิริกพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อหิริกพละ มีในสมัยนั้น. [๒๙๘] อโนตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อ การประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโนตตัปปพละ มีใน สมัยนั้น. [๒๙๙] โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โลภะ มีในสมัยนั้น. [๓๐๐] โมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความ เป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่ พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่ รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โมหะ มีในสมัยนั้น. [๓๐๑] อภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ความกำหนัดนัก ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อภิชฌา มีในสมัยนั้น. [๓๐๒] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อ สัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น. [๓๐๓] อหิริกะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อหิริกะ มีในสมัยนั้น. [๓๐๔] อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อ การประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น. [๓๐๕] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีใน สมัยนั้น. [๓๐๖] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริย- *พละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น. [๓๐๗] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น. [๓๐๘] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. [๓๐๙] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕ มรรค มีองค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือ นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. [๓๑๐] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณ- *ขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๒๖๔๒-๒๗๙๕ หน้าที่ ๑๐๘-๑๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=2642&Z=2795&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=34&siri=36              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=275              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [275-310] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=275&items=36              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=7606              The Pali Tipitaka in Roman :- [275-310] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=275&items=36              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=7606              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.1.6/en/caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :