ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๕. วิญญาณขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๑๒๑] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็น รูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย โทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ที่สหรคต ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๒๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและ ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี วิญญาณขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น อารมณ์ของกิเลสก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง วิตกและวิจารก็มี วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผล แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น อธิบดีก็มี วิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ ภายนอกตนก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๒๓] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่ วิปปยุตจากเหตุก็มี วิญญาณขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี วิญญาณขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุต จากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจาก โอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจาก โยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี วิญญาณขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี วิญญาณขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจาก กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรคก็มี วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี วิญญาณขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก วัฏฏทุกข์ก็มี วิญญาณขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศล ก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๒๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ทุกมูลกวาร จบ
ติกมูลกวาร
[๑๒๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๒๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๒๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๒๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

อุภโตวัฑฒกวาร
[๑๒๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุ ให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็น โลกุตตระก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๓] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิต บางดวงรู้ไม่ได้ก็มี๑- วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและ เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่ มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๗-๑๓/๙๕, ๑๑๐๑/๔๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคต ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็น อารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดา- ปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ ก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๓๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็น ของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี๑- ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู คันถะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

[๑๔๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น อารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลาง ก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๓] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี๑- ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน ก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็น อารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี @เชิงอรรถ : @ ดู โอฆะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคต ก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็น อารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็น ภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

[๑๔๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ
พหุวิธวาร
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น อัพยากฤต ๑ จึงมี จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ ๑ ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ๑ ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น อารมณ์ ๑ จึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณ- ขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็น รูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น อัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับ เนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
พหุวิธวาร จบ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๘๐-๙๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=35&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=1240&Z=1498                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=74              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=74&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=74&items=10                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb1/en/thittila#pts-s121



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :